“ผู้เสียหาย”จวก สธ.ถ่วงเวลาพ.ร.บ.คุ้มครองฯ

preyanon“ผู้เสียหาย”จวก สธ.ถ่วงเวลาพ.ร.บ.คุ้มครองฯปล่อยให้ หมอไปปลุกระดมแบบให้ข้อมูลฝ่ายเดียว

วันที่ 15 ก.ย. ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้ได้รับความเสียหายทางการแพทย์ เข้าพบ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รมว.สาธารณสุข เพื่อทวงถามความคืบหน้าการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมความสมานฉันท์ในระบบ บริการสาธารณสุข เพื่อหาทางออกร่วมกันในร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ....

 

นางปรียนันท์ กล่าวว่า คณะกรรมการส่งเสริมความสมานฉันท์ฯ ที่กระทรวงสาธารณสุขจัดตั้งขึ้นตั้งแต่เดือนส.ค.แล้ว แต่ก็ยังไม่มีการประชุมร่วมกัน ซึ่งทางฝ่ายภาคประชาชนต่างรอด้วยความร้อนใจ เหมือนว่ากระทรวงสาธารณสุขจะเปิดทางให้หมอที่ไม่เห็นด้วยปลุกระดมคัดค้านต่อ ต้าน โดยอ้างทำประชาพิจารณ์ ซึ่งตนมองว่าไม่ใช่การทำประชาพิจารณา เพราะมีการบิดเบือนข้อมูล อีกทั้งผลการทำประชาพิจารณ์แต่ละที่ก็ออกมาไม่เห็นด้วยหมด ที่ผ่านมาตนก็พยายามติดต่อทางกระทรวงสาธารณสุขเพื่อทวงถาม แต่ก็เงียบหายไม่ได้รับคำตอบ ทั้งๆ ที่ฝ่ายเครือข่ายผู้ป่วยฯ พร้อมที่จะเข้าร่วมประชุมตั้งนานแล้ว


“เรารู้สึกได้ว่ามีความพยายามในการเตะถ่วงเวลา เพราะกระทรวงสาธารณสุขปากก็บอกว่าจะรีบ แต่ก็ไม่ได้มีการดำเนินการใดๆ ทำไมไม่รีบจัดการประชุม แต่ปล่อยให้กลุ่มแพทย์ไปปลุกระดมแบบให้ข้อมูลฝ่ายเดียว และไม่เคยเชิญทางฝ่ายเครือข่ายผู้ป่วยเข้าร่วม ซึ่งหากปล่อยไว้แบบนี้รับรองความขัดแย้งเกิดขึ้นแน่ และบานปลายด้วย” นางปรียนันท์ กล่าวและว่า ได้เห็นร่าง พ.ร.บ. ที่ร่างโดยกลุ่มแพทย์คัดค้านที่ยื่นต่อสภาฯ แล้ว ซึ่งตนไม่เห็นด้วยเพราะทำแบบไม่ถูกต้อง ไม่ผ่านกฤษฎีกา อีกทั้งตนไม่เห็นด้วยกับการตัดโรงพยาบาลเอกชนออกจากร่าง พ.ร.บ. เนื่องจากกลุ่มที่เคลื่อนไหวขณะนี้ มีโรงพยาบาลเอกชนคอยสนับสนุนเพราะไม่อยากจ่ายเงินสมทบ ไม่อยากเปิดเผยรายได้แท้จริง


ด้าน นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฐ์ รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า ได้มอบให้ นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้ดำเนินการแล้ว ซึ่งทราบว่าน่าจะมีการประชุมกันในสัปดาห์หน้า ส่วนกรณีคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร เตรียมเรียกคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เข้าชี้แจงถึงการมีมติไม่ขยายมาตรา 41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อให้ครอบคลุมการช่วยเหลือผู้ป่วยทั้งในระบบประกันสังคมและสวัสดิการข้า ราชการ ในวันที่ 16 ก.ย.นี้ เรื่องนี้ตนยังไม่ทราบ แต่ในที่ประชุมบอร์ด สปสช. ได้พูดกันแล้วว่า หากแก้ไขขยายมาตรา 41 จะล่าช้ากว่าการออก พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ที่ขณะนี้บรรจุวาระในสภาฯ แล้ว

 

บทความที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกัน
|

พิมพ์ อีเมล