แบงก์ชาติหนุนคนไทยใช้บัตรเดบิต เข้าทางกินค่าธรรมเนียม

 แบงก์ชาติหนุนคนไทยใช้บัตรเดบิต หลังยอดแซงบัตรเอทีเอ็ม มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคชมแบงก์ชาติทำหน้าที่เยี่ยมสร้างรายได้ให้แบงก์ โวยไม่มีหน่วยงานรัฐปกป้องประชาชน แค่ใช้กดเงินสดโดน 200 บาทแถมไม่มีตัวเลือกขึ้นค่าธรรมเนียมเอทีเอ็มเท่าเดบิต แถมร้านค้ารับน้อย เข้าข่ายเอาเปรียบผู้บริโภค เผยเฉพาะปี 2551 แบงก์ฟันค่าธรรมเนียมบัตรเกือบ 7.5 พันล้านบาท

ความพยายามในการผลักดันของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ที่ต้องการลดปริมาณการใช้กระดาษทั้งธนบัตรและเช็คของระบบการชำระเงินของไทย ด้วยการส่งเสริมให้ผู้คนใช้จ่ายผ่านระบบการชำระเงินด้วยอิเล็กทรอนิกส์ โดยให้เหตุผลว่าต้นทุนกระดาษนั้นสูง
      
       ผู้ประกอบการอย่างธนาคารพาณิชย์ต่างขานรับกับทิศทางที่ธนาคารแห่ง ประเทศไทยต้องการให้เป็น เห็นได้จากการเสนอลูกค้าให้เปลี่ยนบัตรเอทีเอ็มที่ใช้กดเงินสดธรรมดาให้มา ถือบัตรเดบิตที่สามารถกดเงินสดและชำระค่าสินค้าได้แทน ทั้งในรูปแบบของการชักชวนและการบีบบังคับ
      
       ขณะที่ความพร้อมในการรองรับการชำระค่าสินค้าและบริการด้วยบัตรเดบิต ยังทำได้ในวงจำกัด ห่างไกลจากบัตรเครดิตหลายเท่าตัว ส่วนหนึ่งอาจเป็นเรื่องของระยะเวลาในการทำตลาดของบัตรเครดิตที่มีมาไม่น้อย กว่า 15 ปี รวมไปถึงการความจริงจังในการทำตลาดบัตรเดบิตที่ผู้ถือบัตรยังคิดว่าเป็น เพียงแค่บัตรกดเงินสดเท่านั้นและร้านค้าต่าง ๆ ยังไม่เปิดกว้างสำหรับบัตรประเภทนี้
      
       ค่าธรรมเนียม 7 พันล้าน
      
       แหล่งข่าวจากมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคกล่าวว่า ถือเป็นความพยายามของแบงก์ชาติที่จะทำให้ระบบการชำระเงินเข้าสู่ระบบสากล แต่ปัญหาคือความพร้อมของผู้ถือบัตรและร้านค้ารวมถึงผู้ออกบัตร โดยที่แบงก์ชาติไม่ได้ลงมาดูในความเป็นจริง ปล่อยให้แบงก์พาณิชย์บีบให้ผู้ถือบัตรเอทีเอ็มเปลี่ยนมาเป็นบัตรเดบิต ด้วยการแจ้งต่อลูกค้าว่าให้เปลี่ยนเพราะแบงก์จะปรับค่าธรรมเนียมบัตรเอที เอ็มขึ้นมาเป็น 200 บาทต่อปี เท่ากับบัตรเดบิต ดังนั้นจึงควรเปลี่ยนมาเป็นบัตรเดบิตดีกว่า
      
       จากค่าธรรมเนียมรายปีของบัตรเอทีเอ็มที่ 100-150 บาท ขยับขึ้นมาเป็น 200 บาทเท่ากับผู้บริโภคต้องแบกรับภาระเพิ่มขึ้นอีก 50-100% ซึ่งบางรายก็คิดค่าธรรมเนียมมากกว่านี้ ตรงนี้แบงก์ชาติเคยเข้ามาดูแลหรือไม่ บางคนเขาต้องการแค่ใช้กดเงินสดเท่านั้น ส่วนการซื้อสินค้าอื่น ๆ ใช้เงินสดและบัตรเครดิตชำระแทน เท่ากับแบงก์ชาติปล่อยให้แบงก์คิดค่าธรรมเนียมจากลูกค้าเพิ่มขึ้นตามใจชอบ
      
       ตัวเลขที่หลายฝ่ายภูมิใจกันว่าบัตรเดบิตโตขึ้น 40% ใน 3 ปีนั้น การเติบโตนี้เป็นการเติบโตตามกลไกทางธุรกิจปกติหรือไม่ เพราะใครก็ตามที่จะทำบัตรเอทีเอ็มใหม่จะถูกผลักให้ไปทำบัตรเดบิตแทน ลูกค้าเก่าที่เข้าไปติดต่อกับธนาคารก็จะโดนชักชวนแกมบังคับให้ต้องเปลี่ยน บัตร
      
       ร้านค้าต่าง ๆ ก็ยังไม่เปิดรับชำระค่าสินค้าด้วยบัตรเครดิต ซึ่งเป็นผลมาจากตัวสถาบันการเงินเองยังไม่มีความพร้อม ทำให้การใช้บัตรเดบิตในปัจจุบันยังเน้นไปเพียงแค่การกดเงินสด แต่กลับต้องเสียค่าธรรมเนียม 200 บาท โดยที่สิทธิประโยชน์ไม่แตกต่างจากบัตรเอทีเอ็ม ไม่แตกต่างจากการมัดมือชก
      
       การที่แบงก์ชาติส่งเสริมให้ภาคประชาชนชำระค่าสินค้าและบริการผ่าน บัตรเดบิตนั้น ไม่ต่างกับเป็นการส่งเสริมให้แบงก์พาณิชย์มีรายได้จากค่าธรรมเนียมจากบัตร มากยิ่งขึ้น
      
       จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทยปี 2551 จำนวนบัตรเอทีเอ็มมี 22.42 ล้านบัตร หากคิดค่าธรรมเนียมเพียง 100 บาทต่อบัตรธนาคารผู้ออกบัตรก็จะมีรายได้ 2,242 ล้านบาท ส่วนบัตรเดบิตมี 26.26 ล้านบัตร หากคิดค่าธรรมเนียม 200 บาทต่อบัตร แบงก์จะมีรายได้ 5,252 ล้านบาท เฉพาะปี 2551 ธนาคารผู้ออกบัตรจะมีรายได้จากค่าธรรมเนียมของบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตสูง ถึง 7,494 ล้านบาท
      
       แบงก์ไหนที่ออกบัตรได้มากก็จะได้ค่าธรรมเนียมมาก ไม่นับรวมค่าธรรมเนียมอื่นที่แบงก์เองคิดปลีกย่อยจากลูกค้าอีกมาก เมื่อถูกกดดันจากคนในสังคมมาก แบงก์ชาติก็ใช้วิธีให้ธนาคารติดประกาศค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ไว้ที่สาขา
      
       ลูกค้าไม่มีใครช่วย
      
       เรามองว่าแบงก์ชาติทำหน้าที่เป็นนายของธนาคารพาณิชย์ได้อย่างสมบูรณ์ แบบ คือส่งเสริมและพัฒนาให้ระบบธนาคารแข็งแกร่ง เพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ให้กับธนาคารมากขึ้น เพราะถึงอย่างไรผู้บริโภคที่ต้องพึ่งพาระบบการเงินไม่มีสิทธิในการเรียกร้อง เหมือนกับสินค้าและบริการอื่น ที่ร้องเรียนต่อกระทรวงพาณิชย์ได้ เนื่องจากระบบธนาคารอยู่ในความดูแลของแบงก์ชาติ
      
       แต่ที่ผ่านมาแบงก์ชาติไม่ได้ปกป้องภาคประชาชนเลย แบงก์ที่เอารัดเอาเปรียบแบงก์ชาติก็ไม่สามารถจัดการอะไรได้ เช่น ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากลูกค้า บอกแต่เพียงให้เป็นเรื่องของกลไกตลาดหรือให้เปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะที่สาขา ของแบงก์
      
       ที่ผ่านมาผู้ใช้บริการมีสถานะเป็นรองแบงก์พาณิชย์ ไม่มีหน่วยงานของรัฐบาลที่เข้ามาดูแลสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้ใช้บริการ ของสถาบันการเงิน แต่กลับมีหน่วยงานของรัฐที่ส่งเสริมและสนับสนุนธุรกิจของธนาคารพาณิชย์มาโดย ตลอด
      
       รวมไปถึงการเปิดช่องทางให้แบงก์สามารถหารายได้มากกว่าเดิม ทั้งทำบัตรเครดิต ขายประกัน ขายกองทุนรวม หรือขายผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่น ๆ หรือแม้กระทั่งค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่เปิดให้แบงก์กำหนดได้โดยอิสระ โดยไม่ได้คำนึงถึงต้นทุนจริงกับค่าบริการที่เรียกเก็บจากลูกค้า
      
       แค่เฉพาะตัวบัญชีเงินฝากเพียงอย่างเดียวก็สร้างรายได้ให้กับแบงก์ได้ ไม่น้อย แค่ค่าธรรมเนียมการใช้บัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตก็ปาเข้าไปกว่า 7 พันล้านบาทแล้ว ยังมีค่าธรรมเนียมอื่นให้เช่น ค่ารักษาบัญชีที่ไม่เคลื่อนไหวอีกเดือนละ 50 บาท หรือถ้าจะขอรายการทางการเงินเพื่อนำไปใช้ก็ต้องเสียเงินอีกทั้ง ๆ ที่เป็นประวัติทางการเงินของตัวเราเอง


โดย ผู้จัดการ 360° รายสัปดาห์ 2 ตุลาคม 2552 14:48 น.

พิมพ์ อีเมล

บทความใกล้เคียงกัน