ล่าสุด นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวถึงความคืบหน้าในเรื่องของการเดินหน้าทำงานของชมรม ว่า วันนี้ (14 ก.พ.) ตัวแทนภาคประชาชนทุกเครือข่ายที่ได้รวมตัวกันในฐานะชมรมพิทักษ์สิทธิ์ผู้ ประกันตน จะร่วมหารือกันที่มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.) เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ ที่ภาคประชาชนต้องการให้รัฐบาลมีการแก้ไขกฎหมายประกันสังคม โดยประเด็นหลักยังคงมุ่งเน้นที่ สิทธิการรักษาพยาบาลของผู้ประกันตนนั้นรัฐบาลควรรับผิดชอบเต็ม 100% เช่นเดียวกับประชาชนที่อยู่ในระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า และนำเงินสมทบประกันสังคมเพื่อกรณีเจ็บป่วยซึ่งคิดเป็น 1 ใน 5% ของเงินเดือนที่ผู้ประกันตนสมทบในระบบประกันสังคมไปตั้งเป็นเงินบำนาญชราภาพ
นายนิมิตร์ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ทางชมรมพิทักษ์สิทธิฯ นั้นมีช่องทางการสนับสนุนแนวคิดของชมรม ด้วยการเปิดโอกาสให้ประชาชนที่อยู่ในสิทธิประกันตน เข้าไปร่วมแลกเปลี่ยนเหตุการณ์และเรื่องราวของสิทธิที่ไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับ ระบบประกันสุขภาพของไทย ผ่านเครือข่ายภาคสังคมอย่าง เฟซบุ๊ก (Facebook) ขณะที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเองยังคงต้องทำหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนจาก ประชาชนทั่วไปในกรณีที่ประชาชนได้รับบริการรักษาพยาบาลที่ได้รับการรักษา พยาบาลในสิทธิประกันสังคมอย่างไม่เป็นธรรม เช่น กรณีส่งผู้ป่วยมีโรงพยาบาลบางแห่งไม่ยอมรับผู้ป่วยที่ถูกส่งต่อ เหตุเพราะไม่ได้เป็นโรงพยาบาลคู่สัญญากัน เป็นต้น ซึ่งคาดว่าจะมีการคุยกันในประเด็นนี้ด้วย ก่อนที่จะรวบรวบเนื้อหาหลักๆ เสนอต่อ กรรมาธิการ (กมธ.) เพื่อปรับแก้ พ.ร.บ.ประกันสังคมต่อไป โดยคาดว่า หากทุกเครือข่ายหาข้อตกลงร่วมกันได้ก็จะยืนเรื่องเสนอต่อ กมธ.วันพฤหัสบดี ที่ 17 ก.พ.นี้
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในกรณีปัญหาการส่งต่อนั้นขณะนี้ จะมีการเสนอให้แก้ไขอย่างไรบ้าง นายนิมิตร์ กล่าวว่า ยังไม่สามารถระบุประเด็นที่แน่ชัดได้ จำเป็นจะต้องหาข้อสรุปร่วมกันในวันประชุมหารือก่อน แต่ที่แน่ๆ ทางภาคประชาชนต้องการเรียกร้องสิทธิเรื่องของระบบการรับ-ส่งผู้ป่วยที่รวด เร็ว และอาจไม่จำเป็นต้องมีการทำคู่สัญญากันระหว่า.โรงพยาบาลต้นสังกัดกับโรง พยาบาลที่รับผู้ป่วยไปรักษาต่อ เนื่องจากขณะนี้ โรงพยาบาลในระบบประกันสังคมส่วนใหญ่จะเป็นโรงพยาบาลเอกชน ดังนั้น โรคบางโรคที่รักษาไม่ได้ก็จะส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลของขนาดเล็กของ รัฐบาล แต่อาจไม่มีประสิทธิภาพในการรักษาที่เหมาะสม ที่เป็นเช่นนี้เพราะโรงพยาบาลขนาดใหญ่อาจเก็บค่ารักษาที่แพง จึงไม่กล้าเสี่ยงในการส่งต่อ ซึ่งปัจจุบันหากเกิดปัญหาในลักษณะดังกล่าวแล้วมีผู้ร้องเรียนผ่านมูลนิธิ ต่างๆ สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ที่ดูแลผู้ประกันตนโดยตรงก็มักจะเลือกแก้ปัญหาแบบรายต่อราย คือ เกิดขึ้นกับใครก็แก้เฉพาะรายนั้นๆ ส่วนนี้จึงจำเป็นต้องหารือกันเพื่อวางกรอบในการคุ้มครองสิทธิผู้ประกันตนที่ เท่าเทียมสิทธิอื่นๆ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ |