ทั้ง นี้ กลุ่มแรงงานขอให้ สปส.ปฏิรูป 4 เรื่อง คือ 1.จัดตั้งให้เป็นองค์การอิสระ 2.ทำงานด้วยความโปร่งใส 3.แรงงาน 1 คน มีสิทธิเลือกตัวแทนเป็นเลขาธิการ สปส. 1 เสียง และ 4.ต้องมีความเสมอภาคในการจ่ายเงินสมทบ
ด้าน นพ.พงศธร พอกเพิ่มดี นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณ สุข กล่าวว่า ชื่นชมที่ สปส.ตั้งคณะกรรมการศึกษาสิทธิประโยชน์ขึ้น แต่ควรให้ความสำคัญเรื่องผู้ประกันตนไม่ต้องจ่ายเงินสมทบ มากกว่าปรับเรื่องสิทธิประโยชน์
นพ.พงศธร กล่าวว่า การศึกษาระบบการจ่ายเงินโดยแยกผู้ป่วยในกับผู้ป่วยนอกเป็นสิ่งที่ดี โดยเฉพาะผู้ป่วยในที่ใช้ระบบเหมาจ่ายตามกลุ่มโรคร่วม (ดีอาร์จี) เพราะจะทำให้ผู้ประกันตนเข้าถึงบริการและลดปัญหาโรงพยาบาลไม่ส่งต่อได้
“แต่ ยังไม่ใช่คำตอบสุดท้าย สปส.ควรเพิ่มการบริหารจัดการเฉพาะ 2 ส่วน 1.การจัดการเฉพาะ 25 โรคร้ายแรงที่คนไทยเสียชีวิตสูง อาทิ หลอดเลือดสมอง หัวใจ มะเร็ง โดยต้องกำหนดวิธีจ่ายเงินใหม่หรือจ่ายชดเชยให้หน่วยพยาบาลที่รักษาโรคกลุ่ม นี้เพื่อจูงใจให้เน้นการรักษาดีขึ้น 2.การจัดการเฉพาะโรคที่ยามีราคาแพง” นพ.พงศธร กล่าว
น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า การปรับระบบเหมาจ่ายรายหัวเป็นการแก้ไม่ตรงจุด เพราะผู้ประกันตนยังต้องจ่ายเงินรักษาตัวเอง ขอให้กระทรวงแรงงานผลักดันการแก้กฎหมายให้ผู้ประกันตนไม่ต้องจ่ายเงินสมทบ อีก
นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวว่า ให้ สปส.ทบทวนเพื่อให้ผู้ประกันตนไม่ต้องจ่ายเงินสมทบ แล้วให้รัฐอุดหนุน 100%
ที่มา - นสพ.โพสต์ทูเดย์ 15/2/54