banner page

ฉลากจีเอ็มโอ

คอบช.สำรวจความคิดเห็นผู้บริโภคต่อฉลากอาหาร GMO หวังพัฒนาฉลากที่เข้าใจง่าย

คอบช.สำรวจความคิดเห็นผู้บริโภคต่อฉลากอาหาร GMO หวังพัฒนาฉลากที่เข้าใจง่าย

More details
ทำไมต้องติดฉลากอาหาร GMO

ทำไมต้องติดฉลากอาหาร GMO

More details
ติดฉลากจีเอ็มโอ ถึงเวลาของอเมริกาแล้ว

ติดฉลากจีเอ็มโอ ถึงเวลาของอเมริกาแล้ว

More details
ระวัง

ระวัง"ถั่วเหลืองจีเอ็มโอ" ก่อ22โรคร้ายในห่วงโซ่อาหาร

More details
12ปี กับฉลาก GMOs ในไทย คุณรู้หรือยัง ?

12ปี กับฉลาก GMOs ในไทย คุณรู้หรือยัง ?

More details
GMOs อาหารที่เราควรจะรับหรือเลี่ยง

GMOs อาหารที่เราควรจะรับหรือเลี่ยง

More details

องค์กรผู้บริโภคเตือนคนกินต้องสังเกตอาการข้างเคียงเอง ปลดล็อกกัญชาช่วงสุญญากาศไร้มาตรการรองรับ เสนอ อย.เร่งออกประกาศและฉลากควบคุมอาหารผสมกัญชา

 53204

องค์กรผู้บริโภค เสนอ อย. ออกฉลากแสดงปริมาณกัญชาในอาหาร พร้อมประกาศควบคุมโฆษณาธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มที่ใช้ส่วนประกอบของกัญชา ขณะที่ รัฐฯ บูรณาการทุกภาคส่วนในช่วงรอยต่อจนกว่า สภาฯ จะออกกฎหมาย มาบังคับใช้

       นับตั้งแต่ วันที่ 9 มิถุนายน 2565 คนไทยจะสามารถ “ปลูก กัญชา” กันได้แล้ว เพียงแค่ “จดแจ้ง” ใน 3 ช่องทาง ได้แก่ 1.แอปพลิเคชัน “ ปลูกกัญ “ 2.เว็บไซต์ “ปลูกกัญ” 3.สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.),องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) กทม.เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการจดแจ้งตามช่องทางต่างๆ มาตรการนี้ เป็น นโยบาย “กัญชาเสรีทางการแพทย์” ของรัฐบาล กระทรวงสาธารณสุข โดย คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จึงประกาศ “ปลดล็อก” เฉพาะ “ส่วนประกอบของกัญชา” ออกจาก “ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 5 “เป้าหมายคือ ต้องการส่งเสริมให้ปลูกเพื่อสุขภาพและการรักษาโรค อนุญาตให้นำไปเป็นส่วนประกอบในอาหาร - เครื่องดื่ม

       อย่างไรก็ตาม “ดอก” และ “ใบรองดอก” ยังเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังสูง เพราะมีสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท กล่าวคือ เป็นสารสกัดที่มีค่า “สารเมา” หรือ “ เตตระไฮโดรแคนนาบินอล “ (tetrahydrocannabinol, THC) มากกว่า 0.2% ดังนั้น การนำ “ส่วนประกอบของกัญชา” มาใช้  ผู้บริโภคควรศึกษาข้อมูลอย่างรอบด้าน เพื่อความปลอดภัยของสุขภาพ

       รศ.ดร.จันทร์เพ็ญ วิวัฒน์ กรรมการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ระบุว่า เรื่องนี้ต้องมีการติดตามผลกระทบกันต่อไป เนื่องจากเป็นการใช้ในชีวิตประจำวัน ที่เข้าถึงได้ง่ายในกรณีของการผสมในเครื่องสำอางยังอนุญาตให้ใช้ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ภายนอกเท่านั้น รวมทั้งการกำหนดปริมาณสารเมาหรือเตตระไฮโดรแคนนาบินอล (tetrahydrocannabinol, THC) ในวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ ทั้งเครื่องสำอางและอาหารพร้อมรับประทาน สามารถขออนุญาตผลิตได้โดยการขอจดแจ้ง ส่วนอาหารที่ปรุงขายทั่วไปสามารถทำได้เลยเพียงแต่ต้องมีที่มาของกัญชาที่ถูกต้องตามกฎหมาย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเข้ามาตรวจสอบอยู่เสมอทั้งแหล่งที่มา และการปนเปื้อนสารอื่นๆ ที่เป็นอันตราย อย่างโลหะหนัก เช่น สารหนู ปรอท ตะกั่ว แคดเมียม

       างนฤมล เมฆบริสุทธิ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า เป็นห่วงผู้บริโภคเพราะธุรกิจอาหารที่นำ “ส่วนประกอบของกัญชา” มาประกอบอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงการโฆษณายังไม่มีการควบคุม ดังนั้น หน่วยงานรัฐทีเกี่ยวข้องทังหมดต้องออกมาตรการควบคุม เช่น “ฉลาก” และการโฆษณาเพื่อกำหนดบทลงโทษผู้ประกอบการที่ไม่ปฏิบัติตาม โดยประกาศต้องระบุ “ปริมาณการควบคุม” “อายุของผู้ใช้ เพื่อป้องกันเด็กและเยาวชนนำไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม ที่สำคัญ “ฉลากอาหาร” ต้องแสดงอัตราการใช้กัญชา รวมถึง คำเตือนในผลิตภัณฑ์ อย่างชัดเจน เพื่อสร้างความเชื่อมั่น และเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภค อีกทั้งยังทำให้ผู้ประกอบการเกิดการแข่งขันกันเองด้วย ฉะนั้น “ฉลาก” ควรกำหนดให้ระบุข้อมูล คำเตือนและข้อห้าม การแจ้งปริมาณอย่างชัดเจน เข้าใจง่าย เช่น การห้ามใช้ในเด็ก สตรีมีครรภ์ เป็นต้น รวมทั้ง จะต้องอยู่ในตำแหน่งที่มองเห็นชัดเจน ตัวอักษรมีขนาดให้อ่านได้ไม่ยาก “การโฆษณา” ผ่านช่องทางต่างๆ โดยเฉพาะการโฆษณาบนสื่อออนไลน์ ที่ส่งต่อกันได้อย่างรวดเร็ว อาจมีข้อความที่โฆษณาเกินจริงและจูงใจให้บริโภคเกินความจำเป็น ดังเห็นจากผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มีอยู่อย่างมากมาย รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากกัญชาที่พบว่ามีการโฆษณาบนสื่อออนไลน์แล้วทั้งๆ ที่ยังไม่ได้รับอนุญาต จึงมีคำถามว่า แล้วหน่วยงานที่รับผิดชอบจะกำกับติดตามอย่างไรให้ทันท่วงที

        นายวีรพงษ์ เกรียงสินยศ กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิสุขภาพไทย แสดงความกังวลต่อส่วนผสมของกัญชา ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายกับ “กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูง” อาจได้รับผลกระทบจากการรับประทานอาหารและ ครื่องดื่มที่ผสมกัญชา โดยผลการศึกษาของวารสารทางการแพทย์แคนาดารายงานอย่างชัดเจนว่า “เด็ก และ ผู้สูงอายุ” เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ที่จริงคนทุกกลุ่มวัยก็ต้องระวังเช่นกัน โดยปัจจัยที่มีผลได้แก่ เพศ น้ำหนัก อาหารที่บริโภค เพราะแต่ละคนจะมีความไวต่อสารในกัญชาไม่เท่ากัน แม้ว่า “ใบ” จะมี “สารเมา” ต่ำ แต่ก็ต้องระมัดระวัง โดยการออกฤทธิ์ต่อร่างกาย จะใช้เวลา 30 นาที ถึง 2 ชั่วโมง จากนั้นระดับความเข้มข้นของกัญชาในกระแสเลือด จะค่อยๆ เพิ่มจนถึง “ขีดสูงสุด “ โดยจะคงอยู่ในสภาพนั้น 2-3 ชั่วโมง หรือ เกือบตลอดทั้งวัน ขึ้นอยู่กับปริมาณการบริโภค “กัญชา” ในอาหารและเครื่องดื่ม ทั้งจากอาหารปรุงสด, อาหารบรรจุสำเร็จ รวมถึงผลิตภัณฑ์ ที่ อย. ควบคุม เพราะฉะนั้นต้องเข้าใจว่า “ใบกัญชา “ ไม่ใช่ พืชผักสวนครัวทั่วไป ก็ควรระวังในการบริโภค และอย่าไปเชื่อคำกล่าวอ้างของผู้ประกอบการที่พยายาม “เชิดชู ให้ กัญชา เป็นพืชหรืออาหารวิเศษ” ที่จำเป็นต่อร่างกาย หลังปลกล็อกคือช่วงสุญญากาศ เหมือนว่ารัฐบาล หน่วยงานรัฐ ปล่อยให้ความรับผิดชอบเป็นของสังคม ครอบครัว ชุมชน ต้องเฝ้าระวังและแก้ปัญหาเอง ยังไม่มีกฏหมาย กลไกหรือหน่วยงานใดที่จะมารับผิดชอบโดยตรง

        ส่วนภาครัฐ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีบอกว่า ถึงแม้รัฐบาลปลดล็อกให้ปลูกกัญชาโดยถูกกฎหมาย แต่ไม่ใช่ว่าจะทำได้เสรี 100% เพราะพิษภัยของกัญชายังมีอยู่ และ ยังมีพฤติกรรมในบางเรื่องที่รัฐบาลจำเป็นต้องควบคุม อาทิ “ การสูบ “ ต้องไม่ก่อให้เกิดความรำคาญกับผู้อื่น หรือสูบแล้วขับรถอาจจะผิดกฎหมายเหมือนดื่มแอลกอฮอล์ ห้ามจำหน่ายแก่เด็ก จำเป็นต้องควบคุมการจำหน่าย หรือการผลิตจำหน่ายต้องเสียภาษี ฯลฯ โดยในส่วนนี้จะมีกฎหมายใหม่ กำหนดรายละเอียดต่อไประหว่างนี้ อยู่ระหว่างการนำเสนอ “ร่างพระราชบัญญัติกัญชา” ต่อสภา โดยต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง อย่างไรก็ตามหลังวันที่ 9 มิถุนายน ไปจนถึงวันที่มีกฎหมายบังคับใช้รัฐบาลจะตั้งคณะกรรมการบูรณาการพืชกัญชา-กัญชง โดยมีฝ่ายต่างๆ ที่ร่วมเกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงสาธารณสุข, กระทรวงยุติธรรม, สำนักงานคณะกรรมการป้องและปราบปรามยาเสพติด, ตำรวจ, นักวิชาการและภาคประชาชน เพื่อกำกับดูแลในช่วงรอยต่อนี้ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย พร้อมกับการสร้างการรับรู้ให้กับประชาชน ตลอดจนรับเรื่องร้องเรียนต่างๆ และเรื่องที่อาจจะเป็นปัญหาจากความไม่เข้าใจซึ่งกันและกันด้วย

พิมพ์ อีเมล

ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ สำรวจพบส้มไทยมีสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐานทุกตัวอย่าง ตอกย้ำปัญหาส้มพิษยังไม่ถูกแก้ไข เสนออาจต้องปรับเปลี่ยนระบบการผลิตใหม่

ภาพข่าวแถลงส้ม 01

          สภาองค์กรของผู้บริโภค นิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร่วมกับเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (ไทยแพน) เฝ้าระวังสถานการณ์ปัญหาสารเคมีเกษตรตกค้างในส้มและน้ำส้มในภาชนะบรรจุปิดสนิท แบ่งเป็นส้มจำนวน 60 ตัวอย่างและน้ำส้ม 10 ตัวอย่าง พบว่า ส้มที่มาจากการปลูกในประเทศจำนวน 41 ตัวอย่าง มีสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐาน ทุกตัวอย่าง (100%) ส่วนส้มที่มาจากการนำเข้า 19 ตัวอย่าง พบสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐาน 16 ตัวอย่าง (84.21%) มีเพียง 3 ตัวอย่างที่มีปริมาณสารพิษตกค้างอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน สำหรับน้ำส้มในภาชนะบรรจุปิดสนิท พบ 50% ของกลุ่มตัวอย่างมีการตกค้างของสารพิษ

          วันนี้ (10 มีนาคม 2565) ในงานแถลงข่าวผลการตรวจสารเคมีเกษตรตกค้างในส้มและน้ำส้ม นางสาวทัศนีย์ แน่นอุดร รองผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) และบรรณาธิการนิตยสารฉลาดซื้อ กล่าวว่า ส้มเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมในการบริโภค แต่ส้มก็เป็นผลไม้ที่มีโรคและศัตรูพืชมาก ทำให้การเพาะปลูกต้องใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพื่อป้องกันหรือกำจัดศัตรูพืชมากชนิดตามไปด้วย ปัญหาที่ตามมาคือ ทุกครั้งที่มีการสำรวจการตกค้างของสารพิษในส้มในหลายปีที่ผ่านมา จะพบการตกค้างของสารพิษเกินค่ามาตรฐานมาโดยตลอด ทั้งจากการติดตามเฝ้าระวังของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ไทยแพน หรือจากผลการทดสอบของศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อเอง และทุกครั้งที่มีการสะท้อนสถานการณ์ปัญหาก็จะมีการเคลื่อนไหวหลายอย่างทั้งจากหน่วยงานราชการ เกษตรกร ผู้จำหน่าย ผู้บริโภค ดังนั้นเพื่อจะติดตามว่า ส้มไทยปลอดภัยต่อการบริโภคมากน้อยแค่ไหน มพบ.และไทยแพน  จึงได้รับการสนับสนุนจากสภาองค์กรของผู้บริโภค ให้ทำการสำรวจสารพิษตกค้างในส้มและน้ำส้มที่จำหน่ายในประเทศไทยอีกครั้ง

62299670e1211 attachment

          การสุ่มเก็บตัวอย่างส้ม คณะทำงานเลือกช่วงเวลาระหว่างวันที่ 3-10 มกราคม 2565 จากแหล่งผลิตทั้งในและต่างประเทศ โดยครอบคลุมช่องทางจำหน่ายในปัจจุบัน ได้แก่ ตลาดค้าส่ง ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ และช่องทางออนไลน์  เป็นตัวอย่างส้ม 60 ตัวอย่าง และน้ำส้มบรรจุในภาชนะปิดสนิท 10 ตัวอย่าง รวมเป็น 70 ตัวอย่าง  สำหรับส้ม เน้นเก็บตัวอย่างส้มให้ครอบคลุมสายพันธุ์ส้มที่จำหน่ายในช่วงเวลา ซึ่งจำแนกเป็นสายพันธุ์ทางการค้าได้ทั้งสิ้น 13 สายพันธุ์ ได้แก่ ส้มสายน้ำผึ้ง 18 ตัวอย่าง ส้มเขียวหวาน 12 ตัวอย่าง ส้มโชกุน 9 ตัวอย่าง ส้มแมนดาริน 8 ตัวอย่าง ส้มสีทอง 3 ตัวอย่าง ส้มนาเวล 2 ตัวอย่าง ส้มเมอร์คอท 2 ตัวอย่าง ส้มซาถัง 2 ตัวอย่าง ส้มกัมควอท 1 ตัวอย่าง ส้มซันคิสท์ 1 ตัวอย่าง ส้มเอินชู 1 ตัวอย่าง และส้มเช้ง 1 ตัวอย่าง และหากจำแนกตามแหล่งผลิตจะเป็นส้มนำเข้า 19 ตัวอย่าง ส้มที่ปลูกในประเทศไทย 41 ตัวอย่าง ทั้งนี้ 12 ตัวอย่างใน 41 ตัวอย่างที่ปลูกในประเทศ เป็นตัวอย่างที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP (Good Agriculture Practices) 11 ตัวอย่าง และ ThaiGAP 1 ตัวอย่าง และตัวอย่างน้ำส้มบรรจุในภาชนะปิดสนิท 10 ตัวอย่าง ได้แก่ Aro, Tipco, Chabaa, UFC, Malee, DoiKham, Sunfresh, Harvey Fresh, Green Garden และ Smile

          ทั้ง 70 ตัวอย่าง ส่งวิเคราะห์สารพิษตกค้างแบบ multi-residue analysis ครอบคลุมสารพิษตกค้างจำนวน 567 รายการ ที่ห้องปฏิบัติการ TÜV SÜD ITALY ประเทศอิตาลี ซึ่งได้รับการรับรอง ISO/IEC 17025 จากรายงานผลการวิเคราะห์ พบว่า

          1. ส้มทั้ง 60 ตัวอย่าง พบสารพิษตกค้างในทุกตัวอย่าง เมื่อเปรียบเทียบกับค่าปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุดกำหนดไว้ใน ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 387 พ.ศ. 2560 เรื่อง อาหารที่มีสารพิษตกค้าง และประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 419) พ.ศ. 2563 ออกตามความในพระราชบัญญัติ อาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง อาหารที่มีสารพิษตกค้าง (ฉบับที่ 3) พบว่า มีสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐาน 57 ตัวอย่าง หรือ คิดเป็น 95% ของกลุ่มตัวอย่าง และพบว่า 5% หรือ 3 ตัวอย่าง มีสารพิษตกค้างแต่ไม่เกินค่ามาตรฐาน ได้แก่ ส้มเขียวหวาน จากบิ๊กซี บางใหญ่ , Holy Fresh ส้มพันธุ์ เมอร์คอท จากกูเมต์มาร์เก็ต และ ส้มเช้ง ร้านเจ๊อ้อย 201 ผลไม้ ตลาดไท ซึ่งทั้งสามตัวอย่างเป็นส้มนำเข้าจากต่างประเทศ

          2. จากตัวอย่างน้ำส้มในภาชนะปิดสนิท 10 ตัวอย่าง มี 5 ตัวอย่างที่ไม่พบสารพิษตกค้าง ได้แก่ น้ำส้มโชกุน ตรา Tipco, น้ำส้ม 100% ตรา UFC, น้ำส้มเขียวหวาน 100% ตรามาลี (ส้มจากแม่สิน) และน้ำส้มนำเข้า ตรา Sunfresh และ Harvey Fresh อีก 5 ตัวอย่างที่พบสารพิษตกค้าง ได้แก่ น้ำส้มเขียวหวานพร้อมเกล็ดส้ม 100% ตราARO , น้ำส้มสายน้ำผึ้ง 100% ตรา CHABAA, น้ำส้ม 98% ตราดอยคำ, น้ำส้มพร้อมเนื้อส้ม 100% ตรากรีนการ์เด้น และ น้ำส้มเขียวหวาน 100% ตรา SMILE ทั้งนี้จากการตรวจสอบประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 356 เรื่อง เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท  พบว่าไม่มีการกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับสารพิษตกค้างไว้ จึงไม่มีค่ามาตรฐานสำหรับเปรียบเทียบกับปริมาณสารพิษตกค้างที่พบ

          ด้านนางสาวปรกชล อู๋ทรัพย์ ผู้ประสานงานเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือไทยแพน ให้ข้อสังเกตเพิ่มเติมจากรายงานผลการวิเคราะห์ว่า หากจำแนกตามแหล่งผลิต จะพบว่า ตัวอย่างส้มที่มาจากการปลูกในประเทศ 41 ตัวอย่าง พบสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐานทุกตัวอย่าง หรือคิดเป็น 100% ในขณะที่ส้มนำเข้า 19 ตัวอย่าง พบสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐาน 16 ตัวอย่าง หรือคิดเป็น 84.21% อีก 3 ตัวอย่างมีปริมาณสารพิษตกค้างอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

          สำหรับกลุ่มตัวอย่างส้มที่ปลูกในประเทศ 41 ตัวอย่าง สามารถจำแนกตามชื่อเรียกสายพันธุ์ทางการค้าได้ ดังนี้ สายน้ำผึ้ง 18 ตัวอย่าง เขียวหวาน 9 ตัวอย่าง โชกุน 9 ตัวอย่าง ส้มสีทอง 3 ตัวอย่าง ส้มน้ำตาล 1 ตัวอย่าง และส้มเขียวหวาน 1 ตัวอย่าง ซึ่งทุกตัวอย่างพบสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐาน  โดยในจำนวนนี้เป็นผลผลิตที่มาจากแปลง GAP (Good Agriculture Practices) ที่ได้รับรองโดยกระทรวงเกษตรฯ 11 ตัวอย่าง เป็นผลผลิตที่มีมาจากแปลงที่มีการรับรอง ThaiGAP โดยสถาบันส่งเสริมคุณภาพเกษตรไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย 1 ตัวอย่าง และไม่ระบุการรับรองมาตรฐานใดๆ 29 ตัวอย่าง ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างส้มนำเข้า 19 ตัวอย่าง สามารถจำแนกตามชื่อเรียกสายพันธุ์ทางการค้าได้ ดังนี้ แมนดาริน 5 ตัวอย่าง ส้มไต้หวัน 3 ตัวอย่าง เมอร์คอท 2 ตัวอย่าง นาเวล 2 ตัวอย่าง ส้มซาถัง 2 ตัวอย่าง เอินชู 1 ตัวอย่าง กัมควอท/กิมจ๊อ 1 ตัวอย่าง ซันคิสต์ 1 ตัวอย่าง ส้มเช้ง 1 ตัวอย่าง สายน้ำผึ้ง 1 ตัวอย่าง มีเพียงส้มสายน้ำผึ้ง 1 ตัวอย่าง ส้มเช้ง 1 ตัวอย่าง และส้มเมอร์คอท 1 ตัวอย่าง ที่พบสารพิษตกค้างอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน อีก 16 ตัวอย่าง พบสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐาน

          สำหรับชนิดสารพิษตกค้างที่พบจากตัวอย่างส้มทั้งหมดรวม 48 ชนิด เป็นสารกำจัดแมลง 31 ชนิด สารกำจัดโรคพืช 13 ชนิด และสารกำจัดไร 4 ชนิด มีรายละเอียดดังนี้

          1. สารกำจัดแมลงที่พบตกค้างมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ Imidacloprid, Ethion และ Profenofos โดยพบในส้ม 56, 52 และ 49 ตัวอย่าง หรือคิดเป็น 93.33%, 86.67% และ 81.67% ตามลำดับ

          2. ในขณะที่สามอันดับแรกของสารป้องกันและกำจัดโรคพืชคือ Benomyl/Carbendazim, Hexaconazole และ Prochloraz โดยพบใน 48, 42 และ 31 ตัวอย่าง หรือคิดเป็น 80.0%, 70.0% และ 51.67% ตามลำดับ

          3. สารกำจัดไรที่พบตกค้างมากที่สุด คือ Propargite พบใน 31 ตัวอย่าง หรือคิดเป็น 51.67%

          4. พบการตกค้างของ Chlorpyrifos-ethyl ซึ่งเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 (ยกเลิกการใช้แล้ว) 50% ของกลุ่มตัวอย่าง โดยตกค้างในส้มที่ผลิตในประเทศ 22 ตัวอย่าง และส้มนำเข้า 8 ตัวอย่าง

          “กรณีที่พบการตกค้างของสารคลอร์ไพริฟอสที่แบนแล้วในตัวอย่างส้มที่ปลูกในประเทศ อาจเป็นไปได้ที่จะมีสารที่ค้างอยู่เป็นสต็อกของเกษตรกรหลังจากมีการแบนอย่างเป็นทางการ แต่ก็มีความเป็นไปได้สูงที่เกิดขึ้นจากการลักลอบนำเข้า ซึ่งเรื่องนี้เป็นความรับผิดชอบของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่จะต้องดำเนินการ” นางสาวปรกชลกล่าว

 IMG 5564

          นางสาวทัศนีย์ กล่าวเสริมว่า หากดูจากรายงานผลการวิเคราะห์ในครั้งนี้ มันยังคงสะท้อนสถานการณ์ปัญหาการตกค้างของสารพิษในส้มว่าไม่ได้ดีขึ้น ส้มเกือบทุกตัวอย่างที่สุ่มมามีการตกค้างของสารพิษเกินค่ามาตรฐาน ดังนั้นคงจะต้องขอให้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องตลอดจนผู้มีส่วนในห่วงโซ่ของการผลิตส้ม ได้โปรดช่วยกันหาทางเปลี่ยนแปลงอย่างเร่งด่วน หรืออาจจะต้องถึงขั้นเปลี่ยนระบบการผลิตครั้งใหญ่หรือไม่

          นายโสภณ หนูรัตน์ หัวหน้าฝ่ายคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิ สภาองค์กรของผู้บริโภค กล่าวว่า การเฝ้าระวัง ทดสอบสินค้าและบริการเป็นอำนาจหนึ่งของสภาองค์กรของผู้บริโภค ซึ่งกำหนดให้สภาฯ มีฐานะเป็นผู้แทนผู้บริโภค และมีอำนาจดำเนินการเพื่อการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค  การสนับสนุนการทดสอบเรื่องส้มในครั้งนี้ก็เพื่อต้องการให้ผู้บริโภคได้มีข้อมูลที่เพียงพอต่อการตัดสินใจบริโภคสินค้าหรือบริการ และหลีกเลี่ยงสินค้าหรือบริการที่ไม่ปลอดภัยหรืออาจกระทบต่อสุขภาพอนามัยของผู้บริโภค ทั้งนี้ ตนเองมองว่า กระทรวงสาธารณสุขควรดำเนินการเฝ้าระวังสารเคมีตกค้างในน้ำส้มและผลิตภัณฑ์น้ำผักผลไม้อย่างต่อเนื่องเป็นระยะจนมั่นใจว่าไม่มีการตรวจพบสารตกค้าง และประกาศให้ผู้บริโภครับทราบข้อมูลทุกครั้ง อีกทั้งต้องการเสนอให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ควบคุมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการผลิตพืชอาหารอย่างเข้มงวดเพื่อให้เกิดความปลอดภัยจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชตั้งแต่ต้นทางของการผลิตอาหาร

สรุปข้อเสนอจากรายงานการสำรวจสารพิษตกค้างในส้มและน้ำส้มที่จำหน่ายในประเทศไทย

ข้อเสนอต่อภาครัฐ

1.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

  • ดำเนินการทางกฎหมายกับผู้ลักลอบนำเข้า ครอบครอง หรือมีไว้จำหน่ายของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ผิดกฎหมาย โดยเฉพาะสารเคมีที่ประเทศไทยยกเลิกการใช้หรือไม่อนุญาตให้มีการขึ้นทะเบียนแล้ว
  • ปฏิรูประบบการรับรอง GAP เพื่อให้มั่นใจว่าผลผลิตหรือสินค้าที่ได้รับการรับรองจะไม่ตรวจพบการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างเกินมาตรฐาน
  • ส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกรรมอินทรีย์เพื่อให้เป็นทางเลือกในการผลิตของเกษตรกรและผู้บริโภค

2.กระทรวงสาธารณสุข

  • เพิ่มประสิทธิภาพการวิเคราะห์สารพิษตกค้างในผักผลไม้ที่ด่านนำเข้า
  • พัฒนากลไกเฝ้าระวังสารพิษตกค้างในระดับพื้นที่และประเทศ โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
  • ควรยกระดับการคุ้มครองผู้บริโภคในกรณีน้ำส้มหรือน้ำผลไม้ในภาชนะบรรจุปิดสนิท รวมถึงประเมินความเสี่ยงจากการบริโภค โดยเฉพาะในกลุ่มเปราะบาง เช่น เด็ก ผู้ป่วย

ข้อเสนอต่อภาคเอกชน ผู้จัดจำหน่าย

1. ซูเปอร์มาร์เก็ต ห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีก ตลอดจนร้านสะดวกซื้อ ซึ่งเป็นแหล่งจัดจำหน่ายส้มขนาดใหญ่ควรสนับสนุนข้อมูลเรื่องที่มาของส้ม ที่นำมาจำหน่ายอย่างโปร่งใส  (Traceability) เพื่อเป็นเครื่องมือให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบแหล่งผลิต สารเคมีที่ใช้ การเก็บเกี่ยว การบรรจุ ฯลฯ ได้อย่างสะดวกด้วยเทคโนโลยีเช่นการสแกนคิวอาร์โค้ด     

2. ผู้ผลิตที่นำส้มมาแปรรูป ควรคำนึงถึงแหล่งที่มาตลอดจนการคัดเลือกวัตถุดิบอย่างเป็นระบบเพื่อลดปัญหาการปนเปื้อนสารพิษตกค้างในผลิตภัณฑ์

ทางเลือกและการแก้ปัญหาของผู้บริโภค

  • เลือกการสนับสนุนส้มที่ผลิตโดยวิธีการที่ไม่ใช้สารเคมี หรือผลผลิตที่ทราบที่มาและเชื่อถือได้ว่ามาจากระบวนการผลิตที่ปลอดภัย
  • ล้างส้มทุกครั้งที่บริโภค แม้ไม่สามารถลดปริมาณของสารเคมีที่ตกค้างได้ทั้งหมด เพราะมีสารเคมีประมาณครึ่งหนึ่งที่ดูดซึมไปสู่เนื้อส้มได้ แต่ก็เป็นการลดปริมาณของสารเคมีได้ระดับหนึ่ง
  • ร่วมกันเรียกร้องให้ผู้บริหารกระทรวงเกษตร หน่วยงานของรัฐ และภาคเอกชน ดำเนินการให้มีการปฏิรูปการผลิต การจัดจำหน่าย และกลไกการกำกับดูแลสารเคมีกำจัดศัตรูพืชให้มีความปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภคมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่

IMG 5582

พิมพ์ อีเมล

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเผยผู้เสียหายคดีฟ้องกระทะโคเรียคิงโฆษณาเกินจริง ถูกฟ้องปิดปาก!

กระทะโคเรีบคิงผู้บริโภค 1 ในกลุ่มผู้เสียหายจากการซื้อกระทะโคเรียคิง และเป็นโจทก์ที่ 2 ในคดีที่มีการฟ้องบ. ผู้นำเข้ากระทะฯ ถูกฟ้องในข้อหาแจ้งข้อความอันเป็นเท็จและเบิกความเท็จ นักกฎหมาย มพบ.ชี้ไม่ได้เป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จหรือเบิกความเท็จ จะต่อสู้คดีให้ถึงที่สุด พร้อมดำเนินคดีกับบริษัท

วันนี้ ( 6 พฤษภาคม 2565 ) นางสาวณัฐวดี เต็งพานิชกุล นักกฎหมาย มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) เปิดเผยว่า จากการที่คุณกัลยทรรศน์ ติ้งหวัง เครือข่ายผู้บริโภค จ.สตูล หนึ่งในกลุ่มผู้เสียหายจากการซื้อกระทะโคเรียคิง และเป็นโจทก์ที่ 2 ในคดีที่มีการฟ้อง บ.วิซาร์ดโซลูชั่น เป็นคดีแบบกลุ่มที่ศาลแพ่ง อันเนื่องมาจากการโฆษณาสินค้าเกินความเป็นจริงและสินค้าดังกล่าวไม่เป็นไปตามโฆษณา ถูกบ.วิซาร์ดโซลูชั่น ผู้นำเข้ากระทะยี่ห้อโคเรียคิง ฟ้องในข้อหา แจ้งข้อความอันเป็นเท็จและเบิกความเท็จ ที่ศาลจังหวัดสตูล โดยศาลนัดไต่สวนมูลฟ้องคดีนี้ในวันที่ 6 มิถุนายน 2565 ซึ่งเป็นวันเดียวกับคดีที่ศาลแพ่งนัดตรวจพยานหลักฐานในคดีแบบกลุ่ม และต่อมาคุณกัลยทรรศน์ ติ้งหวัง ยังได้รับหมายเรียกผู้ต้องหาจาก สน.พหลโยธิน เรียกให้ไปพบพนักงานสอบสวน ในเรื่องเบิกความเท็จฯ ในวันที่ 11 พฤษภาคม 2565 โดยผู้กล่าวหาคือ บ.วิซาร์ดโซลูชั่น เช่นกัน

โดยคดีที่ศาลแพ่งนั้น โจทก์ทั้งสอง และสมาชิกกลุ่มที่เป็นผู้เสียหายจากการซื้อกระทะโคเรียคิง จำนวน 72 คน ได้ยื่นฟ้อง บริษัท วิซาร์ด โซลูชั่น จำกัด เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2560 เป็นคดีผู้บริโภคและขอให้ดำเนินคดีแบบกลุ่ม ต่อศาลแพ่ง เรียกเงินคืนและเรียกค่าเสียหายเป็นเงิน 1,650  ล้านบาท โดยเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2563 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ดำเนินคดีแบบกลุ่ม และเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2565 ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งรับเป็นคดีแบบกลุ่มเช่นกัน โดยจำกัดขอบเขตของกลุ่มเฉพาะผู้บริโภคที่ซื้อกระทะโคเรียคิงรุ่นไดมอนด์และรุ่นโกลด์ของจำเลย ภายใน 17 พฤษภาคม 2560 และยังไม่ได้ตกลงรับการแก้ไขเยียวยาจากจำเลย

นายเฉลิมพงษ์ กลับดี หัวหน้าศูนย์ทนายความเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ให้ความเห็นกับเรื่องนี้ว่า กรณีดังกล่าว ไม่ได้เป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จหรือเบิกความเท็จแต่อย่างใด และจะดำเนินการต่อสู้คดีให้ถึงที่สุด หากชนะคดีแล้วจะต้องดำเนินคดีกับบริษัทด้วย

ส่วนผู้เสียหายจากการซื้อกระทะโคเรียคิงรายอื่นๆ หากได้รับการฟ้องร้องทำนองนี้ สามารถติดต่อได้ที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค โทรศัพท์ : 02-2483734-7 Line id : @ConsumerThai ช่องทาง inbox FB เพจ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค หรือร้องทุกข์ออนไลน์ที่ https://www.consumerthai.com/

พิมพ์ อีเมล