มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จี้ กสทช. ต้องเปิดข้อมูล TRUE – DTAC

กราฟิกควบรวม 14june2022

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค  จี้  กสทช. ต้องเปิดข้อมูล TRUE – DTAC  ควบรวมกิจการอย่างโปร่งใส ชี้ หากเปิดทางสะดวกให้เอกชน ต้องกล้ารับผิดชอบหากส่งผลกระทบด้านราคาที่สร้างภาระให้ผู้บริโภค อย่างไร้ทางเลือก

              “ต้องฟังเสียงผู้บริโภคที่เป็นคนจ่ายเงิน , กสทช. และ ผู้ประกอบการ ต้องกล้าการันตี ราคาและการให้บริการที่เป็นธรรมต้อง เปิดข้อมูลสาธารณะ ทั้ง เอกสารที่เป็นเกณฑ์พิจารณาควบรวมและ คณะกรรมการ หากเป็นตัวการทำให้ประชาชนไม่มีทางเลือก ต้องรับผิดชอบต่อผลที่จะเกิดขึ้น !!!

            นี่ ... เป็นเสียงเรียกร้อง จาก  “ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค “ ซึ่งเป็นตัวแทนปกป้องผลประโยชน์ของภาคประชาชน ซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากดีลควบรวมกิจการ TRUE - DTAC เพราะจนถึงบัดนี้ ยังไม่เห็น กสทช.ทำกระบวนการสอบถามความคิดเห็นประชาชนให้เป็นรูปธรรมถึงแม้ กสทช. จัดเวทีสาธารณะรับฟังความเห็นถึง3ครั้ง จาก ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม , ผู้บริโภค , สุดท้าย คือ นักวิชาการ ,แต่..เป็นแค่วงจำกัดโดยฝ่ายหนุนข้างผู้ประกอบการ มักกล่าวถึงแต่ผลประโยชน์ฝ่ายตัวแต่ไม่เคยหันมามองผลกระทบที่จะเกิดกับผู้บริโภค ที่อาจต้องแบกภาระค่าบริการที่แพงขึ้น แถม รูปแบบบริการมีแนวโน้มแย่ลง เพราะตลาดไร้คู่แข่ง

           **** กล้าการันตี ไหมว่า การควบรวม จะทำให้ ผู้บริโภค ได้รับบริการในราคาที่ถูกลงกว่าเดิม ในเมื่อฝ่ายผู้ประกอบการมักอ้างข้อดีช่วยลดต้นทุน เช่น ถ้าค่าบริการปัจจุบัน อยู่ที่ 100 บาท จะเหลือแค่ 20   บาท

         นาง นฤมล เมฆบริสุทธิ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายพิทักษ์สิทธิผู้บริโภคมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค   ได้ชี้ให้เห็นประเด็น “ ผู้บริโภคไม่มีทางเลือก ซึ่งชัดเจนอย่างมาก” เพราะ กสทช. จัดเวที 3 ครั้ง แค่เปิดรับฟังความคิดเห็น แต่ไม่เคยให้ประชาชนที่เป็นคนจ่ายเงิน ได้เข้ามามีส่วนร่วมแม้แต่ครั้งเดียว พร้อมท้า ให้ กสทช. ต้องกล้าการันตี การควบรวม ระหว่าง TRUE – DTAC จะทำให้ ราคาค่าบริการถูกลงกว่าเดิม ในเมื่อฝ่ายผู้ประกอบการ มักอ้างถึงข้อดีของการควบรวม ที่ช่วยลดต้นทุน กสทช. บอกเสมอว่า แม้มีการควบคุมราคาค่าบริการอยู่แล้ว แต่ราคาค่าบริการในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นค่าโทรศัพท์ หรือ ค่าอินเตอร์เน็ต ของ TRUE – DTAC – AIS ยังต่ำกว่าเพดานที่ 20% จากปมเหตุนี้ เป็นสิ่งที่ มูลนิธิผู้บริโภค เป็นห่วง เพราะ ... “ ไม่เคยแม้แต่ครั้งเดียว ที่ กสทช. ซึ่งเป็นผู้กำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม จะออกมาเปิดเผยข้อมูลของผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับผู้บริโภค “

          “จะรับผิดชอบอย่างไร เมื่อเกิดปัญหาหากอ้างว่า กสทช. ใช้อำนาจหน้าที่ของบอร์ด , ดังนั้น“ แผนควบรวม ต้องมีกรณีศึกษา , ต้องมีคณะกรรมการที่กำหนดคุณสมบัติอย่างชัดเจน , แต่ บอร์ด กสทช. ไม่มีทุกอย่างตามที่กล่าวมา จนกลายเป็นช่องว่างของกฎหมาย”

          อีกประเด็นสำคัญ “ผู้ประกอบการโทรคมนาคม ในตลาดต้องมีมากกว่า 2 เจ้า ไม่ใช่ มี แค่ 1 หรือ 2 “ อย่ามาอ้างว่า บางประเทศ มีผู้ประกอบการรายเดียว ไม่เห็นจะเกิดปัญหา “ มีข้อมูลกรณีศึกษาไหมที่ว่า ...รายเดียวก็อยู่ได้ ในเมื่อไม่เกิดกระบวนการแข่งขัน ประชาชนไม่มีทางเลือก จำเป็นต้องใช้บริการมันถึงอยู่ได้” “ต่อไป ศักยภาพของ AIS   อาจไม่ดีเท่าเดิม ส่วน TRUE ควบ DTAC แม้ในเชิงธุรกิจแข็งแกร่ง แต่คุณภาพให้บริการอาจลดลง ซึ่งสวนทางกับค่าบริการที่แพงขึ้น ใคร,,,จะตอบโจทย์นาง นฤมล ชี้ปม ข้างต้น พร้อมบอกว่า อย่ามาพูดลอยๆเพียงเพื่อให้เห็นแต่ข้อดี แต่ ปกปิดข้อเสีย  ถามว่า ความพึงพอใจของประชาชน หรือ ข้อร้องเรียนจากผู้บริโภค จากที่ตลาดโทรคมนาคม มีรายเดียว เคยเอามาพูดกันไหม ประชาชน ร้องเรียนเรื่องค่ายโทรศัพท์เป็นอย่างไร

          ดังนั้น “ก่อนลงมติใดๆ กับ แผนควบรวมกิจการ TRUE – DTAC กสทช. ในฐานะหน่วยงานของรัฐ มีอำนาจหน้าที่เต็มมือ ต้องตอบโจทย์ให้ชัดเจน ,ต้องนำกรณีศึกษาออกมาตีแผ่อย่างโปร่งใส , ใช้ดุลพินิจและหลักเกณฑ์ใด , เพราะหากทำให้ ประชาชน ไม่ได้รับความเป็นธรรมจาก การลงมติ ครั้งนี้ , กสทช. ต้องมีคำตอบ จะรับผิดชอบอย่างไร ??

Tags: ควบรวมทรูดีแทค

พิมพ์ อีเมล

บทความใกล้เคียงกัน