ผ่านพ้นไปอีกปีสำหรับเรื่องวุ่นวาย ทางการเมืองของประเทศไทยที่ถาโถมเข้ามา
แต่ก็ยังต้องติดตามตอนต่อไปกันในปีนี้ว่าที่สุดแล้วโฉมหน้าการเมืองไทยจะ เปลี่ยนไปได้แค่ไหน เช่นเดียวกับนโยบายทางด้านไอทีของภาครัฐที่ยังคงต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็นผลงานในปีที่ผ่านมา ตลอดจนสิ่งใหม่ๆ ที่ภาครัฐต้องทำในปีใหม่นี้
1. คลื่นความถี่อย่าเก็บไว้ นำมาใช้เกิดประโยชน์ 3G เป็นสิ่งที่มีการพูดถึงอย่างต่อเนื่อง เพราะดูเหมือนจะเป็นความหวังของคนส่วนใหญ่ที่ต้องการจะได้ใช้เทคโนโลยีที่ นานาชาติเขาใช้กันไปนานแล้ว แต่สำหรับไทย ด้วยข้อกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ ที่ยังล้าหลังทำให้กว่าจะได้มาซึ่งเจเนอเรชันใหม่ของการสื่อสารต้องใช้การรอ คอยกันนานไปหน่อย แต่ยังโชคดีที่ว่าการจัดสรรคลื่นความถี่ให้กับเอกชนได้นำไปให้บริการนั้น เป็นไปอย่างรวดเร็วเพราะมีการแข่งขันรุนแรง ทำให้ผู้ให้บริการทุกรายต่างเร่งขยายเครือข่ายกันอย่างรวดเร็ว และครอบคลุมพื้นที่ได้เร็วกว่าข้อกำหนดของ กสทช.เสียอีก แต่ในปี 2557 นี้ 3G ที่เรากำลังมีใช้อยู่นี้คงไม่เพียงพออีกต่อไปเนื่องจากปริมาณการใช้งานเพิ่ม มากขึ้น โดยเฉพาะการใช้งานข้อมูลหรือดาต้าที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว การมีคลื่นความถี่รองรับเพียงคลื่นเดียวจะทำให้เกิดคอขวดของการให้งาน ประกอบกับเทคโนโลยีใหม่อย่าง 4G หรือ LTE เข้ามาเป็นทางเลือกที่จะช่วยทำให้สิ่งที่กำลังจะกลายเป็นปัญหาสามารถผ่อน คลายลงได้ เพราะ LTE จะใช้คลื่นความถี่คนละย่านกับ 3G หากมีการเปิดใช้งานแล้วจะช่วยให้มีคลื่นที่หลากหลายเพิ่มขึ้น และรองรับการใช้งานได้ดีขึ้น สิ่งแรกที่ต้องทำ คือการนำคลื่นความถี่ที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ให้ได้เร็วที่สุด นายบัญญัติ เกิดนิยม ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารและองค์กรสัมพันธ์ บริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า การรองรับการใช้งานเน็ตเวิร์กในอนาคตคลื่นความถี่ 2.1 GHz ไม่เพียงพออีกต่อไปแล้ว ซึ่งหากไม่มีการขยายคลื่นความถี่มากขึ้น อาจจะเกิดปัญหาทางด้านต้นทุนในอนาคตและส่งผลต่อราคาในการให้บริการได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีความถี่ที่เพิ่มมากขึ้น ด้วยการนำคลื่นความถี่ที่มีอยู่มาจัดสรรให้เร็วที่สุด “โมบายล์เป็นพื้นฐานที่สำคัญในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ในต่างประเทศการให้บริการด้านโมบายล์มีการใช้แบนด์สเปกตรัมหลายแบนด์มาก อย่างเช่นสิงคโปร์มีทั้ง 2.1 GHz 2.5 GHz 1.8 GHz และ 700 MHz ต่างจากไทยที่ยังใช้แบนด์ 2.1 GHz แบนด์เดียว ในขณะที่ปัจจุบันการเชื่อมต่อมีมากขึ้น และการใช้งานด้านทราฟฟิกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องสร้างความมั่นคงทางด้านเครือข่ายมารองรับ เพื่อส่งเสริมให้การเข้าถึงข้อมูลทำได้ง่ายขึ้น และทำให้ราคาค่าบริการการสื่อสารถูกลง” ปัจจุบันการให้บริการ 4G ในบางประเทศ การใช้โทรศัพท์เพื่อพูดคุยเป็นการให้บริการฟรี และถือเป็นเพียงแอปพลิเคชันหนึ่งที่ไม่ได้คิดค่าบริการ แต่การที่เมืองไทยจะไปถึงระดับนั้นได้เราต้องนำเครือข่ายที่มีอยู่มาจัดสรร ให้เกิดประโยชน์ให้มากที่สุดเสียก่อน เพื่อสร้างโครงข่ายที่มีประสิทธิภาพและเพียงพอที่จะรองรับการเติบโต |
|||
การนำคลื่นความถี่ที่มีอยู่มาใช้งานให้ครบโดยที่ไม่ต้องเกรงว่าจะก่อ ให้เกิดข้อครหาว่าเป็นการจัดสรรให้แก่เอกชน เพราะหากพิจารณาให้ดีแล้วการนำคลื่นให้เอกชนนำไปให้บริการนั้นย่อมจะก่อให้ เกิดประโยชน์ได้รวดเร็วกว่าภาครัฐหรือรัฐวิสาหกิจดำเนินการเองเสียอีก เห็นได้อย่างชัดเจนว่าที่ผ่านมาแม้หน่วยงานของรัฐจะได้การจัดสรรในเรื่อง โครงสร้างพื้นฐานอย่าง 3G ไปก่อนแต่ก็ทำได้อย่างล่าช้าและไม่ได้เป็นที่นิยมนัก ส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดประสบการณ์ในการนำสิ่งที่ทันสมัยมาใช้ หรือเป็นเหตุผลเดิมๆ ของระบบงานราชการที่ค่อนข้างจะต้องมีพิธีรีตองหรือขั้นตอนที่มากเกินไป ทำให้รายได้ที่คาดว่าจะสามารถสร้างทดแทนกับค่าสัมปทานที่ขาดหายไปกลายเป็น ฝันกลางวัน เพราะนอกจากจะไม่สร้างรายได้แล้วยังจะเฉียดก่อให้เกิดการขาดทุนตามมาอีก ดังนั้น ทางออกที่ดีที่สุดคือการนำบริการของรัฐวิสาหกิจเหล่านี้ไปเสริมในส่วนที่ เอกชนยังเข้าไปไม่ถึง ไปให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่ห่างไกลที่รัฐวิสาหกิจไปถึงแล้วแต่ยังเป็น การให้บริการโครงสร้างพื้นฐานแบบเดิมๆ อยู่ อย่างเช่นโทรศัพท์พื้นฐานก็ควรเสริมเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้าไป อาทิ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่อาจจะไม่ต้องมีความเร็วสูงถึง 10 Mbps อาจจะให้บริการเพียงแค่ 2 Mbps แล้วคิดค่าบริการในอัตราแค่ 199 บาท ซึ่งเป็นราคาที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย และทำให้อินเทอร์เน็ตกระจายเข้าถึงทุกพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว ดีกว่ามาทำตัวแข่งกับเอกชนซึ่งไม่มีทางเป็นไปได้อยู่แล้ว หรือแม้แต่เทคโนโลยีอย่าง WiMax ที่มีความเหมาะสมสำหรับการใช้การส่งในระยะไกล เหมาะสำหรับป่าเขาหรือพื้นที่ห่างไกลที่สัญญาณมือถือไปไม่ถึง ซึ่งที่ผ่านมาก็มีการทดลองให้ใช้งานกันแล้ว และมีย่านความถี่อย่าง 2.3 GHz รองรับอยู่ ดังนั้นการเพิ่มตัวเลือกใหม่นี้เข้ามาจะทำให้การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่ห่าง ไกลจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป อยู่ที่ว่านโยบายเหล่านี้จะวิ่งเป็นกระต่ายหรือคลานเป็นเต่าเดินเพราะผล ประโยชน์ยังไม่ลงตัว ตามแผนบรอดแบนด์แห่งชาติ หรือ National Broadband Policy ที่วางแผนไว้ว่าภายในปี2558 ประชาชนไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งในไทยจะต้องสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้อย่าง เท่าเทียมกัน ด้วยความเร็วไม่ต่ำกว่า 4 Mbps ในเขตพื้นที่ห่างไกลอินเทอร์เน็ต ทั้งสถานีอนามัย สถานพยาบาล ห้องสมุดประชาชน ของทุกอำเภอทุกตำบล ส่วนโรงเรียนระดับมัธยมทั่วประเทศจะได้รับความเร็วที่ 10 Mbps ก็ควรจะเริ่มเห็นได้ในปีนี้อีกเช่นกัน เพราะหากไม่เร่งทำในปีนี้รับรองได้ว่าเมื่อถึงเวลาเปิด AEC ไทยก็ยังคงเป็นประเทศที่ประชากรเข้าถึงอินเทอร์เน็ตล้าหลังกว่าเพื่อน บ้านอยู่ดี นอกจากนี้ยังต้องจริงจังกับโครงการบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ด้วยเทคโนโลยี Wi-Fi โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เพราะวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของโครงการนี้เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไป สามารถเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ฟรี ซึ่งโครงการนี้ยังคงเป็นฝันแบบลมๆ แล้งๆ ที่ต้องปรับปรุงให้เห็นเป็นรูปธรรมและใช้งานได้จริง ไม่ใช่มีแต่ชื่อแต่ใช้งานแล้วง่อยเหมือนที่ผ่านมา 3. ถึงเวลาที่รัฐต้องรู้จักทำ DR Site แบบยั่งยืน Disaster Recover Site (DR Site) หรือศูนย์กู้คืนระบบ ซึ่งจะทำหน้าที่สำรองและกู้คืนระบบสารสนเทศเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆ อย่างเช่นภัยธรรมชาติ หรือการหยุดกะทันหันของระบบ ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใดก็ตาม กลายเป็นเรื่องที่ธุรกิจต่างๆ กำลังให้ความสนใจ เพราะในการทำงานที่สำคัญการหยุดชะงักของระบบอาจก่อให้เกิดความเสียหายจนถึง ขั้นทำให้ธุรกิจขาดทุนกันเลยทีเดียว ในต่างประเทศภัยพิบัติอย่างแผ่นดินไหว พายุ กลายเป็นเรื่องปกติที่ต้องมีการเตรียมรับมือ แต่สำหรับเมืองไทยคงจะต้องเพิ่มภัยที่เกิดจากน้ำมือของมนุษย์เข้าไปด้วย เพราะในโลกของประชาธิปไตยแล้วการชุมนุมเรียกร้องทางการเมืองถือเป็นเรื่อง ปกติ ดังนั้นบริษัทต่างๆ จึงมีความจำเป็นต้องมี DR Site สำหรับการทำงานนอกสถานที่หากไม่สามารถเข้าไปทำงานในพื้นที่ได้เป็นเรื่องที่ ควรจะทำได้ในยุคนี้ โดยเฉพาะหน่วยงานภาครัฐที่มีการเก็บข้อมูลสำคัญๆ ยิ่งต้องให้ความสำคัญต่อเรื่องนี้เป็นพิเศษ เช่นเดียวกับกรณีการเข้าไป ตัดไฟฟ้าใน กสท โทรคมนาคม หรือ CAT ซึ่งทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตล่มไประยะหนึ่ง และกลายเป็นที่สงสัยกันว่าทำไมศูนย์กลางของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของ ประเทศถึงได้เกิดการหยุดชะงักลงได้ ทั้งๆ ที่ควรจะมี DR Site แบบที่เรียกว่า Hot Site ซึ่งเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินแล้วสามารถเปิดระบบสำรองใช้ได้ทันที และระบบงานต่างๆ จะสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่ต้องใช้เวลา 4 ชั่วโมงถึง 1 วัน แบบ Warm Site หรือ Cold Site ที่ต้องใช้เวลานานกว่านั้น เรื่องที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะมีการออกมาแก้ตัวอย่างไรก็ควรจะเก็บไว้ เป็นบทเรียน เพราะในทางปฏิบัติแล้วผู้ให้บริการจัดทำระบบ DR Site ทุกรายต่างให้ความเห็นไปในทางเดียวกันว่า การหยุดชะงักจะไม่เกิดขึ้นหากมีการติดตั้ง DR Site ในระดับสูงที่อาจจะเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากหน่อย แต่ก็คุ้มกว่าที่จะปล่อยให้เกิดเหตุแล้วค่อยมาแก้ไขภายหลัง จึงถือเป็นบทเรียนให้รัฐตระหนักว่าถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะทำระบบเหล่านี้ ให้มั่นคงกับหน่วยงานสำคัญอื่นๆ ก่อนที่จะปล่อยให้เสียหายแล้วหันมาโทษผู้กระทำ โดยไม่คิดจะป้องกันเป็นอย่างดีไว้ก่อน |
|||
คนไทยทำอะไรไม่แพ้ชาติใดในโลก วลีกินใจที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพส่วนตัวของคนไทย แต่ในหลายๆ ครั้งความเก่งก็ไม่ได้ทำให้ไปถึงจุดหมายได้ เพรายังขาดปัจจัยอื่นเข้ามาสนับสนุน เช่นเดียวกับอุตสากรรมซอฟต์แวร์ของไทย ที่ดูเหมือนจะไปได้ดีและสามารถก้าวไปได้ไกล แต่ที่ผ่านมากลับไม่ได้รับการส่งเสริมที่ดีพอ แม้ผลสำรวจมูลค่าตลาดซอฟต์แวร์ของซิป้าและทีดีอาร์ไอจะพบว่าภาพรวมของตลาด ซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์ของไทยในปี 2555 มีมูลค่าการผลิตเฉพาะที่เกิดขึ้นในประเทศไทย 31,979 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2554 ราว 24.0% แต่ยังถือว่ายังไปไม่ถึงฝั่งฝันนัก เมื่อเทียบกับหน่วยงานที่ตั้งขึ้นมามากมายเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมนี้ ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย กล่าวว่า การเติบโตที่ต่อเนื่องของตลาดซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์ของไทยที่ผ่านมา เป็นผลจากสภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับรัฐและเอกชนมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เพิ่มมากขึ้น ทำให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ขยายตัวตามไปด้วย “แต่ปัญหาหลักของอุตสาหกรรม ซอฟต์แวร์ไทยคือขาดแคลนบุคลากรที่ตลาดต้องการ อันเกิดจากการขาดการส่งเสริมอย่างจริงจัง ปัญหาสมองไหลที่เกิดจากบุคลากรทำงานที่หนึ่งพอมีประสบการณ์ก็ย้ายไปทำงานอีก ที่หนึ่ง ทำให้อุตสาหกรรมนี้ต้องหยุดชะงักหรือเติบโตขึ้นไม่มากนัก” ทางออกในเรื่องนี้คือต้องทำให้มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษาต่างๆ และบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์จับมือกันเพื่อให้เข้าไปทำตลาดแต่เนิ่นๆ ทำให้นักศึกษาได้รู้จักและลองใช้งานซอฟต์แวร์เหล่านั้นจนเกิดความคุ้นเคยและ ผูกพัน และเมื่อถึงเวลาก็จะไม่เกิดปัญหาสมองไหล สามารถต่อยอดสิ่งที่ทำให้ดีมากขึ้นไปอีก นอกจากนี้ยังพบว่าหน่วยงานต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นยังให้การสนับสนุนได้แบบไม่ตรงจุดมากนัก ซึ่งในความเป็นจริงแล้วหน่วยงานของภาครัฐควรจะร่วมมือกับสมาคมซอฟต์แวร์ ต่างๆ ที่เอกชนรวมตัวกันตั้งขึ้น แล้วเข้าไปช่วยเหลือในเรื่องของการจัดหลักสูตรในการเทรนนิ่ง การช่วยเหลือทางด้านบุคลากรการจัดหลักสูตร ตลอดจนการส่งเสริมทางด้านการตลาด ก็น่าจะเป็นส่วนกระตุ้นให้คิดไปในทิศทางเดียวกันได้ดีขึ้น รวมไปถึงการสนับสนุนงบประมาณ ที่จำเป็นให้กับสมาคมเหล่านี้ในการออกงานแสดงซอฟต์แวร์ในต่างประเทศ แต่การไปออกงานดังกล่าวนั้นต้องไปแบบเป็นกลุ่มแบบเป็นระบบ ทำตลาดร่วมกัน และมีผลิตภัณฑ์ที่เป็นมืออาชีพจริงๆ โดยหลังจากให้เงินไปแล้วก็ต้องทำการวัดผลที่จะเกิดขึ้นหรือต้องมีเคพีไอกลับ มาว่าสนับสนุนไปแล้วเป็นอย่างไร ดีไม่ดี ผลที่ได้รับนั้นถ้าไม่ดีก็เปลี่ยนไปหนุนหน่วยงานอื่นแทน เพื่อให้การใช้เงินนั้นคุ้มค่าที่สุดและไม่เกิดข้อครหา อีกเรื่องหนึ่งที่จำเป็นในการสนับสนุนอุตสาหกรรมนี้คือ การปรับปรุงทางด้านกฎระเบียบที่ไม่เอื้อต่อการใช้แรงงานในอุตสาหกรรม ซอฟต์แวร์ เช่น กฎระเบียบที่ว่าหากต้องการชาวต่างชาติเข้ามาทำงานในอุตสาหกรรมนี้ก็จะต้อง จ้างคนไทย 4 คนเข้ามาทำงานด้วย ทำให้ผู้ประกอบการไม่มีกำลังเพียงพอที่จะจ้างแรงงานเหล่านั้น ทางออกจึงต้องแก้กฎระเบียบเหล่านี้เพื่อให้สามารถมีแรงงานที่มีทักษะเข้ามา ทำงานน่าจะเอื้อให้อุตสาหกรรมดีขึ้น เพราะเป็นที่รู้กันดีว่าอุตสาหกรรมนี้หากพัฒนาดีๆ ก็จะมีรายได้เข้าประเทศไม่น้อยเช่นกัน 5. คลาวด์และโซเชียลมีเดีย ถึงเวลาที่ต้องใช้อย่างจริงจัง Government Cloud Service น่าจะเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ควรจะได้เห็นเป็นรูปเป็นร่างในปี 2557 นี้ เนื่องจากเป็นโครงการที่มีการวางแผนอย่างต่อเนื่องมาสักระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งหากสำเร็จจะทำให้ประชาชนสามารถเข้าใช้งานระบบที่อยู่บน Cloud Computing ได้เสมือนกับอยู่ในหน่วยงานของตนเอง โดยสามารถติดต่อธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์กับภาครัฐ เพื่อลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประชาชนเพื่อมาติดต่อทำธุรกรรมกับ หน่วยงานราชการ ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ หรือ EGA กล่าวว่า EGA ได้รับการมอบหมายจากรัฐให้ทำการศึกษาและทดสอบระบบ Cloud Computing เพื่อเป็นโครงการนำร่องไปสู่ Government Cloud ของประเทศ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการสร้างศูนย์ข้อมูลคอมพิวเตอร์ (Data Center) ด้วยการใช้เทคโนโลยีไฟเบอร์ออปติกที่สามารถปรับเปลี่ยนและอัปเกรดเทคโนโลยี ได้ง่าย โดยคาดว่าศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์กลางของภาครัฐจะเริ่มเห็นได้ในกลางปีนี้ “ปัจจุบันแบ็กออฟฟิศของภาค รัฐส่วนมากจะมีระบบกลาง ซึ่งเป็นระบบใหญ่ของแต่ละกระทรวง ซึ่งต่อไปอาจจะมีการสร้างดาต้าเซ็นเตอร์ที่รวมระบบกลางไว้เป็นที่เดียว โดยคาดว่าน่าจะทำเองเนื่องจากเป็นของรัฐ ซึ่งการรวมศูนย์ดังกล่าวจะถือเป็นการลดปัญหาด้านการใช้งบประมาณซ้ำซ้อนและ การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการระบบ IT แก่ภาครัฐ” นอกจากนี้ยังทำให้การให้บริการภาคประชาชนของหน่วยงานรัฐมีแนวโน้มดี ขึ้น ลดความยุ่งยากและซับซ้อนในการให้บริการ สามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่องแม้ในสภาพเกิดเหตุภัยพิบัติ และสามารถประหยัดงบประมาณทางด้านการลงทุนระบบได้อย่างน้อย 30% นอกจากนี้หากขึ้นไปเต็มระบบแล้วจะสามารถให้บริการผ่านระบบออนไลน์เพื่อสร้าง ความสะดวกสบายมากขึ้นด้วย สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่ที่นิยมทำธุรกรรมผ่านออนไลน์มากขึ้น นอกเหนือไปจากการพัฒนาสู่คลาวด์เทคโนโลยีแล้ว โซเชียลมีเดียถือเป็นอีกเรื่องสำคัญที่รัฐควรให้ความสนใจและใส่ใจในการนำ เรื่องดังกล่าวมาเป็นตัวช่วยในการให้บริการประชาชน แทนที่วันๆ หนึ่งจะหาแต่เรื่องมาจับผิดคนที่คิดตรงข้ามกับรัฐ โดยอาจจะให้หน่วยงานย่อยอย่างเช่นสำนักงานเขต สำนักงานประกันสังคม เปิดเพจเฟซบุ๊กของตนเองเพื่อให้คำแนะนำและนำเสนอข่าวสารใหม่ๆ ให้คนในพื้นที่รับผิดชอบได้รับรู้ รวมไปถึงจัดให้มีพนักงานคอย ตอบคำถามเวลาที่ประชาชนมีข้อสงสัยแบบเรียลไทม์ เพื่อให้การบริการลูกค้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและรับรู้ปัญหาที่แท้จริง เพื่อแก้ไขให้ดีขึ้นได้ เพราะในยุคนี้การแปะกระดาษให้อ่านที่บอร์ดหน้าหน่วยงานคงจะล่าช้าเกินไป และไม่ทันการณ์ และไม่ต้องกลัวว่าการใช้สื่อในช่องทางนี้เพิ่มแล้วจะทำให้ต้นทุนเพิ่มมาก ขึ้น เพราะโซเชียลมีเดียถือว่าเป็นของฟรีที่แบรนด์สินค้าต่างๆ นิยมนำมาสร้างความใกล้ชิดกับลูกค้ามานานแล้ว เพียงแค่หาเจ้าหน้าที่รัฐที่วันๆ ไม่ค่อยทำงานมาดูแลสักคน คงไม่ต้องจ้างเพิ่ม ทั้งนี้ ในเรื่องสุดท้ายของคลาวด์และโซเชียลมีเดียนี้ การจะพัฒนาเทคโนโลยีเพียงฝ่ายเดียวอาจจะไม่ก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์มากเท่าใด นัก หากไม่ทำการพัฒนาบุคลากรให้รองรับตามไปด้วย แต่จนถึงวันนี้การใช้งานสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องยากและต้องเรียนรู้กันนาน เพราะตัวอุปกรณ์เองที่ได้รับการพัฒนาให้ใช้งานได้ง่าย และไม่ยุ่งยากซับซ้อนเหมือนสมัยก่อน ดังนั้นฝึกฝนและเรียนรู้ไม่นานก็น่าจะคล่องได้ไม่ยาก อย่าให้เหมือนมนุษย์หลายๆ คนที่จับฉลากได้เป็นถึงรัฐมนตรีแต่ยังใช้แท็บเล็ตไม่เป็น มันน่าอาย!! |
ASTVผู้จัดการออนไลน์ | 1 มกราคม 2557 |