เคเบิลทีวี-ทีวีดาวเทียม ในลักษณะแบบผูกขาด หรือแบบบอกรับสมาชิก เป็นอีกหนึ่งช่องการรับรู้ข่าวสาร สาระความบันเทิงที่หลากหลาย พบสถิติการร้องเรียนตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.–27 พ.ค. 56 จำนวน 44 เรื่อง โดยร้องเรียนทีวีดาว เทียมจำนวน 11 เรื่อง และทรูวิชั่นส์จำนวน 17 เรื่อง อาทิ การ บริการไม่เป็นธรรมไม่เป็นไปตามโฆษณาที่สามารถดูฟรีได้ทุกช่อง คุณภาพของสัญญาณไม่ชัดเจน และไม่สามารถรับชมช่องฟรีทีวีที่เป็นบริการสาธารณะได้ รวมทั้งไม่มีการแจ้งเตือนในกรณีที่ปรับเปลี่ยนช่อง อีกหนึ่งปัญหาคือ ช่องรายการยังมีการโฆษณาอาหารและยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จำนวนมาก
ในขณะที่เมื่อช่วงวันที่ 15 ก.พ.–31 ธ.ค. 55 สถิติร้องเรียนสูงกว่า 452 เรื่อง แบ่งเป็นทีวีดาวเทียม 65 เรื่อง เคเบิลทีวีจำนวน 12 เรื่อง ส่วนทรูวิชั่นส์ ที่เป็นธุรกิจแบบบอกรับสมาชิกมีข้อร้องเรียนสูงกว่า 269 เรื่อง ที่พบว่าถูกร้องเรียนเรื่อง การบริการสัญญาให้บริการที่ไม่เป็นธรรม ส่งสัญญาณไม่ชัด ไม่สามารถยกเลิกสัญญาก่อนกำหนด การเรียกเก็บค่าบริการนอกเหนือจากสัญญา รวมถึงกล่องรับสัญญาณไม่ได้คุณภาพ
ดังนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นจากเมื่อปี 2555 น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และ กสท.ด้านคุ้มครองผู้บริโภค เปิดเผยว่า กสท.ได้ดำเนินการจัดทำร่างประกาศ กสทช. มาตรฐานสัญญาให้บริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก และแบบสัญญามาตรฐานให้บริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก ในขณะเดียวกันยังได้ร่วมมือกับทางคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ในการตรวจสอบช่องรายการเคเบิลทีวี และทีวีดาวเทียม ที่ไม่มีความเหมาะสมในการนำเสนอ อาทิ การโฆษณาอาหารและยา ที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง การนำเสนอเนื้อหารายการที่ลามกอนาจาร เนื้อหาเวทมนตร์ ของขลัง ไสยศาสตร์ที่ชักชวนให้คนหลงใหล
โดยให้ประชาชนร่วมกันเป็นหู เป็นตา หากพบการกระทำที่ไม่เหมาะสมของช่องรายการสามารถร้องเรียนเข้ามายังคอ ลเซ็นเตอร์สำนักงาน กสทช. 1200 หรือการแจ้งไปยัง อย. เพื่อขอให้ตรวจสอบโฆษณาว่าได้รับการอนุญาตตาม พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510, พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522, และพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551 หรือไม่ เพื่อที่ กสท.จะได้พิจารณาว่ารายการ ที่ร้องเรียนเข้ามานั้นอยู่ภายใต้ใบอนุญาตช่องรายการจำนวน 506 ช่องที่ กสท.กำกับดูแล ทว่าหากเป็นผู้รับใบอนุญาต กสท.สามารถดำเนินการตามประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 มีตั้งแต่โทษแจ้งเตือน ปรับทางปกครองและการเพิกถอนใบอนุญาต
อย่างไรก็ตามปัจจุบันผู้บริโภคมักมีความหลงเชื่อสื่อทีวีและวิทยุเป็นอย่าง มาก หากเมื่อสินค้าชนิดใดที่นำมาออกรายการ ถือว่าน่าเชื่อถือได้เป็นความคิดที่ผิดไป เนื่องจากที่ผ่านมาประเทศไทยยังไม่ได้ถูกกำกับและดูแล ดังนั้นเมื่อ กสท.กำเนิดขึ้น ผู้ประกอบการเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียม ต้องเข้าสู่กรอบใบอนุญาต เพื่อให้ กสท. สามารถตรวจสอบได้หากพบการ กระทำผิด เฉกเช่นเมื่อครั้งที่ กสท.ได้รับรายงาน 3 ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับอนุญาตจาก อย. จึงถูกระงับ
ส่วนผู้บริโภคที่กำลังมองหาซื้อเครื่องทีวีที่รับระบบดิจิทัลนั้นในขณะนี้ กสท.กำลังอยู่ในระหว่างการทำสติกเกอร์เกี่ยวกับระบบดิจิทัลทั้งหมด ดังนั้นขอให้รอเวลา กสท.ออกประกาศให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้าจำหน่าย เข้ามายื่นขอสติกเกอร์รับชมทีวีดิจิทัลก่อนจะดีกว่า
แม้ กสท. ยังมือใหม่ในการแก้ปัญหาการร้องเรียนของผู้บริโภค แต่หากได้รับความร่วมจากผู้ประกอบการทิศทางทีวีของไทยอาจจะไปได้สวยงามแน่ นอน.
สุรัสวดี สิทธิยศ