มีเดียมอนิเตอร์ แถลง 5 แนวทางจัดการโฆษณาแฝงพร้อมเผยผลสำรวจพบช่อง 9 โฆษณาตรงเกินเวลามากสุด ขณะที่โฆษณาแฝง ช่อง 5 ครองอันดับหนึ่ง
วันที่ 16 ธันวาคม ที่ สสส.โครงการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคม(มีเดียมอนิเตอร์) ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) แถลงผลการศึกษา “โฆษณาตรงและแฝงในฟรีทีวี” และเสวนาเรื่อง “จุดร่วมและทางออกโฆษณาทางฟรีทีวี : ผู้ผลิตอยู่รอด สังคมอยู่ได้อย่างเป็นธรรม”
นายธาม เชื้อสถาปนศิริ ผู้จัดการกลุ่มงานวิชาการ โครงการเฝ้าระวังสื่อฯ กล่าวว่าจากการศึกษาโฆษณาตรงทางสถานีโทรทัศน์ ตั้งแต่วันที่ 25-27 กันยายน 2552 ตลอด 24 ชม. พบว่า มี 4 ช่อง โฆษณาเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ ช่อง 9 รวม 3 วันมีการโฆษณาเกิน 192 นาที หรือเฉลี่ยวันละ 1 ชม. ช่อง 3 โฆษณาเกิน 149 นาที ช่อง 7 โฆษณาเกิน 111 นาที และช่อง 5 โฆษณา 106 นาที ขณะที่ช่อง 11-สสท. ไม่พบการโฆษณาตรงเกินกว่าที่กำหนด ขณะที่โฆษณาแฝงพบว่าช่อง 5 มีมากที่สุด ถึง 85.8% ตามด้วย ช่อง 9 , 7 , 3 และ 11 ตามลำดับ
นายธาม กล่าวต่อว่า คณะกรรมการวิชาการของโครงการฯ เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาเรื่องโฆษณาแฝง 5 ข้อได้แก่ 1) โฆษณาแฝงไม่ควรมีในรายการข่าว รายการเด็กเยาวชนโดยเด็ดขาด 2) รายการที่มีโฆษณาแฝงมาก เช่น ละคร ภาพยนตร์ ซิทคอม เกมโชว์ วาไรตี้ ควรกำกับดูแลโฆษณาแฝง ไม่เอาเปรียบผู้บริโภค 3) มีบทลงโทษ ปรับ หากพบว่ามีโฆษณาแฝงในรายการที่ห้ามหรือเกินกำหนด 4) การโฆษณาแฝง หากมีในเนื้อหารายการควรส่งสัญญาณให้ผู้ชมรับทราบด้วยข้อความหรือสัญลักษณ์ว่า “เป็นโฆษณา”และต้องถูกนับรวมเวลาในการโฆษณาที่กฎหมายกำหนด 5) การโฆษณาแฝงผ่านสื่อควรแจ้งข้อมูลทางการเงินหรือผลตอบแทนเพื่อความโปร่งใสและตรวจสอบได้
นายเจตฎ์ โทณะวณิก คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กล่าวในเวทีเสวนาฯ ถึงแง่มุมกฎหมายว่า มีการพูดคุยกันมานาน แต่มักไม่กำหนดเป็นแนวทางปฏิบัติที่แน่ชัดว่าสามารถใช้เวลาในการโฆษณาได้นานเท่าใด ซึ่งในส่วนของโฆษณาตรงอาจไม่ค่อยมีปัญหา แต่สำหรับโฆษณาแฝงนั้นจะต้องนิยามคำและหลักการการโฆษณาแฝงให้ชัดเจน หากยอมรับและสามารถปฏิบัติร่วมกันได้ การระบุไว้ในกฎหมายก็ไม่ใช่เรื่องยาก
“ต้องนิยามคำว่าโฆษณาแฝงให้สอดคล้องกับหลักการโฆษณา ตกลงกันให้ชัดเจนว่าจะให้มีโฆษณาแฝงได้ไหม มีได้นานมากน้อยแค่ไหน” คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กล่าว
นางสาวจิราพร กมลรังสรรค์ ผู้แทนเด็กและเยาวชน กล่าวว่า การโฆษณาแฝงอาจทำให้เด็กวัยรุ่นเกิดการจดจำ อยากรู้อยากลองใช้สินค้านั้นจริงๆ เช่น เพียงแค่ดาราบอกว่าใช้มือถือยี่ห้อใด ก็ทำให้วัยรุ่นเลียนแบบได้ จนกลายเป็นความเคยชิน การที่เด็กรับรู้อะไรโดยไม่รู้ตัวอาจกลายเป็นภัยได้ สิ่งที่ตามมาคือ ความคิดเลียนแบบ ที่ไม่มีอะไรปกป้องเขาว่าอันไหนเป็นสิ่งดีหรือไม่ดี
“ภัยที่รับมาโดยไม่รู้ตัวนี้ หากไม่มีใครเข้ามารับผิดชอบ อนาคตเยาวชนอาจจะเคยชินกับสิ่งเหล่านั้นและยอมรับสภาพแวดล้อมเหล่านั้นไปด้วย”
วันที่ 16 ธันวาคม ที่ สสส.โครงการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคม(มีเดียมอนิเตอร์) ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) แถลงผลการศึกษา “โฆษณาตรงและแฝงในฟรีทีวี” และเสวนาเรื่อง “จุดร่วมและทางออกโฆษณาทางฟรีทีวี : ผู้ผลิตอยู่รอด สังคมอยู่ได้อย่างเป็นธรรม”
นายธาม เชื้อสถาปนศิริ ผู้จัดการกลุ่มงานวิชาการ โครงการเฝ้าระวังสื่อฯ กล่าวว่าจากการศึกษาโฆษณาตรงทางสถานีโทรทัศน์ ตั้งแต่วันที่ 25-27 กันยายน 2552 ตลอด 24 ชม. พบว่า มี 4 ช่อง โฆษณาเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ ช่อง 9 รวม 3 วันมีการโฆษณาเกิน 192 นาที หรือเฉลี่ยวันละ 1 ชม. ช่อง 3 โฆษณาเกิน 149 นาที ช่อง 7 โฆษณาเกิน 111 นาที และช่อง 5 โฆษณา 106 นาที ขณะที่ช่อง 11-สสท. ไม่พบการโฆษณาตรงเกินกว่าที่กำหนด ขณะที่โฆษณาแฝงพบว่าช่อง 5 มีมากที่สุด ถึง 85.8% ตามด้วย ช่อง 9 , 7 , 3 และ 11 ตามลำดับ
นายธาม กล่าวต่อว่า คณะกรรมการวิชาการของโครงการฯ เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาเรื่องโฆษณาแฝง 5 ข้อได้แก่ 1) โฆษณาแฝงไม่ควรมีในรายการข่าว รายการเด็กเยาวชนโดยเด็ดขาด 2) รายการที่มีโฆษณาแฝงมาก เช่น ละคร ภาพยนตร์ ซิทคอม เกมโชว์ วาไรตี้ ควรกำกับดูแลโฆษณาแฝง ไม่เอาเปรียบผู้บริโภค 3) มีบทลงโทษ ปรับ หากพบว่ามีโฆษณาแฝงในรายการที่ห้ามหรือเกินกำหนด 4) การโฆษณาแฝง หากมีในเนื้อหารายการควรส่งสัญญาณให้ผู้ชมรับทราบด้วยข้อความหรือสัญลักษณ์ว่า “เป็นโฆษณา”และต้องถูกนับรวมเวลาในการโฆษณาที่กฎหมายกำหนด 5) การโฆษณาแฝงผ่านสื่อควรแจ้งข้อมูลทางการเงินหรือผลตอบแทนเพื่อความโปร่งใสและตรวจสอบได้
นายเจตฎ์ โทณะวณิก คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กล่าวในเวทีเสวนาฯ ถึงแง่มุมกฎหมายว่า มีการพูดคุยกันมานาน แต่มักไม่กำหนดเป็นแนวทางปฏิบัติที่แน่ชัดว่าสามารถใช้เวลาในการโฆษณาได้นานเท่าใด ซึ่งในส่วนของโฆษณาตรงอาจไม่ค่อยมีปัญหา แต่สำหรับโฆษณาแฝงนั้นจะต้องนิยามคำและหลักการการโฆษณาแฝงให้ชัดเจน หากยอมรับและสามารถปฏิบัติร่วมกันได้ การระบุไว้ในกฎหมายก็ไม่ใช่เรื่องยาก
“ต้องนิยามคำว่าโฆษณาแฝงให้สอดคล้องกับหลักการโฆษณา ตกลงกันให้ชัดเจนว่าจะให้มีโฆษณาแฝงได้ไหม มีได้นานมากน้อยแค่ไหน” คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กล่าว
นางสาวจิราพร กมลรังสรรค์ ผู้แทนเด็กและเยาวชน กล่าวว่า การโฆษณาแฝงอาจทำให้เด็กวัยรุ่นเกิดการจดจำ อยากรู้อยากลองใช้สินค้านั้นจริงๆ เช่น เพียงแค่ดาราบอกว่าใช้มือถือยี่ห้อใด ก็ทำให้วัยรุ่นเลียนแบบได้ จนกลายเป็นความเคยชิน การที่เด็กรับรู้อะไรโดยไม่รู้ตัวอาจกลายเป็นภัยได้ สิ่งที่ตามมาคือ ความคิดเลียนแบบ ที่ไม่มีอะไรปกป้องเขาว่าอันไหนเป็นสิ่งดีหรือไม่ดี
“ภัยที่รับมาโดยไม่รู้ตัวนี้ หากไม่มีใครเข้ามารับผิดชอบ อนาคตเยาวชนอาจจะเคยชินกับสิ่งเหล่านั้นและยอมรับสภาพแวดล้อมเหล่านั้นไปด้วย”