ชงเรกูเลเตอร์ ตรึงค่าเอฟทีงวดใหม่ 30 เม.ย.นี้ หลังเคาะเบื้องต้นส่อลด แต่ต้องนำเงินไปใช้หนี้อุ้มค่าไฟเก่า 3,300 ล้าน
นายดิเรก ลาวัณย์ศิริ ประธานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือเรกูเลเตอร์ เปิดเผยว่า คณะอนุทำงานพิจารณาอัตราค่าบริการ ได้มีการพิจารณาโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) รอบเดือนพ.ค.-ส.ค. 2552 ในเบื้องต้น ค่าเอฟที มีแนวโน้มปรับลดลง
อย่างไรก็ตาม จากหลักการจำเป็นต้องตรึงค่าเอฟทีไว้ เนื่องจากจะนำเงินส่วนที่ลดค่าเอฟทีคืนให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่แบกภาระค่าเอฟทีไว้ก่อนหน้านี้ประมาณ 2 หมื่นล้านบาท โดยจะมีการนำรายละเอียดดังกล่าว เข้าสู่ที่ประชุมบอร์ดเรกูเลเตอร์ในวันที่ 30 เม.ย.นี้
แหล่งข่าวจากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เปิดเผยว่า ค่าเอฟทีงวดใหม่มีแนวโน้มปรับลดลง 15.54 สต./หน่วย เนื่องจากราคาก๊าซธรรมชาติที่เป็นเชื้อเพลิงหลัก ปรับ ลดลง 16 บาท/ล้านบีทียู รวมกับ ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงเล็กน้อย
นอกจากนี้ ที่ผ่านมาค่าเอฟทีแต่ละงวดได้รับการช่วยเหลือจากกฟผ. ในการรับภาระต้นทุนค่าไฟที่มียอดสะสมอยู่ประมาณ 2 หมื่นล้านบาท เนื่องจากก่อนหน้ากฟผ.ต้องแบกภาระไว้ถึง 2 หมื่นล้านบาท จึงจำเป็นต้องตรึงค่าไฟงวดนี้ไปก่อน ซึ่งจะทำให้มีเงินไปจ่ายคืนกฟผ. ประมาณ 3,300 ล้านบาท
ทั้งนี้ ในการประชุมเรกูเลเตอร์วันที่ 30 เม.ย. จะเป็นการขอความเห็นชอบโครงสร้างค่าเอฟทีงวดใหม่ ก่อนที่จะมีการเปิดรับฟังความเห็นจากประชาชนผ่านเว็บไซต์ประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติ หลังจากนั้นจึงจะประกาศใช้อย่างเป็นทางการ
สำหรับกรณีการปรับขึ้นค่าผ่านท่อก๊าซฯ เพิ่มขึ้นจาก 19.74 บาท/ล้านบีทียู เป็น 21.76 บาท/ล้าน บีทียู ได้นำมาคำนวณในค่าเอฟทีงวดใหม่ แต่ไม่มีผลกระทบเพราะปรับขึ้นไม่มากนัก
นายดิเรก ลาวัณย์ศิริ ประธานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือเรกูเลเตอร์ เปิดเผยว่า คณะอนุทำงานพิจารณาอัตราค่าบริการ ได้มีการพิจารณาโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) รอบเดือนพ.ค.-ส.ค. 2552 ในเบื้องต้น ค่าเอฟที มีแนวโน้มปรับลดลง
อย่างไรก็ตาม จากหลักการจำเป็นต้องตรึงค่าเอฟทีไว้ เนื่องจากจะนำเงินส่วนที่ลดค่าเอฟทีคืนให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่แบกภาระค่าเอฟทีไว้ก่อนหน้านี้ประมาณ 2 หมื่นล้านบาท โดยจะมีการนำรายละเอียดดังกล่าว เข้าสู่ที่ประชุมบอร์ดเรกูเลเตอร์ในวันที่ 30 เม.ย.นี้
แหล่งข่าวจากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เปิดเผยว่า ค่าเอฟทีงวดใหม่มีแนวโน้มปรับลดลง 15.54 สต./หน่วย เนื่องจากราคาก๊าซธรรมชาติที่เป็นเชื้อเพลิงหลัก ปรับ ลดลง 16 บาท/ล้านบีทียู รวมกับ ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงเล็กน้อย
นอกจากนี้ ที่ผ่านมาค่าเอฟทีแต่ละงวดได้รับการช่วยเหลือจากกฟผ. ในการรับภาระต้นทุนค่าไฟที่มียอดสะสมอยู่ประมาณ 2 หมื่นล้านบาท เนื่องจากก่อนหน้ากฟผ.ต้องแบกภาระไว้ถึง 2 หมื่นล้านบาท จึงจำเป็นต้องตรึงค่าไฟงวดนี้ไปก่อน ซึ่งจะทำให้มีเงินไปจ่ายคืนกฟผ. ประมาณ 3,300 ล้านบาท
ทั้งนี้ ในการประชุมเรกูเลเตอร์วันที่ 30 เม.ย. จะเป็นการขอความเห็นชอบโครงสร้างค่าเอฟทีงวดใหม่ ก่อนที่จะมีการเปิดรับฟังความเห็นจากประชาชนผ่านเว็บไซต์ประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติ หลังจากนั้นจึงจะประกาศใช้อย่างเป็นทางการ
สำหรับกรณีการปรับขึ้นค่าผ่านท่อก๊าซฯ เพิ่มขึ้นจาก 19.74 บาท/ล้านบีทียู เป็น 21.76 บาท/ล้าน บีทียู ได้นำมาคำนวณในค่าเอฟทีงวดใหม่ แต่ไม่มีผลกระทบเพราะปรับขึ้นไม่มากนัก
ข้อมูลจาก นสพ.โพสต์ทูเดย์ 29/4/52