ข่าวดีส่งท้ายปีนี้ค่ะ เมื่อนายสมชัย ศิริวัฒนโชค อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ได้เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 จะยกระดับการดูแลความปลอดภัยของรถโดยสารสาธารณะ โดยการนำเทคโนโลยีใหม่มาควบคุมการเดินรถ คือระบบจีพีเอส ซึ่งจะมีการใช้ระบบสื่อสารกับดาวเทียม สามารถรู้จุดตำแหน่งของรถที่ติดตั้ง การใช้ความเร็ว สามารถควบคุมให้พนักงานขับรถปฏิบัติตามกฎหมาย และเกิดความปลอดภัยกับผู้ใช้บริการ
การนำระบบจีพีเอสมาใช้จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 กับรถโดยสารสาธารณะ โดยจะเป็นรถของบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) กว่า 800 คัน จะทยอยติดตั้งตลอดปี 2556 ก่อนจะขยายผลไปยังรถร่วมบริการของ บขส. รถตู้โดยสาร ในส่วนของกรมจะลงทุนจัดตั้งศูนย์เพื่อสื่อสารระบบจีพีเอส ประมาณ 30 ล้านบาท และในอนาคตจะติดจีพีเอสกับรถโดยสารขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) แต่จะเป็นการติดตั้งในรถที่มีการจัดซื้อใหม่กว่า 3,000 คัน ขณะนี้ ขสมก. อยู่ระหว่างเสนอโครงการต่อคณะรัฐมนตรีในการจัดซื้อ
หากย้อนไปเมื่อวันที่18 กรกฎาคม 2555 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เครือข่ายผู้บริโภคภาคประชาชนจำนวน 72 จังหวัด รวมถึงเครือข่ายนักวิชาการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคอันประกอบด้วย นักวิชาการจากศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน(ศวปถ.) คณะทำงานสนับสนุนการป้องกัน อุบัติเหตุจราจรระดับจังหวัด (สอจร.) สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) และ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ได้เข้ายื่นหนังสือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ขอให้จัดตั้ง “ศูนย์ควบคุมการเดินรถโดยสารสาธารณะประจำทางตลอด 24 ชั่วโมง” และให้มีการติดตั้งระบบจีพีเอสและกล่องเก็บข้อมูลในรถโดยสารสาธารณะประจำทาง เพื่อลดปัญหาอุบัติเหตุรถโดยสารสาธารณะ
ภายหลังการยื่นหนังสือไม่นานก็ประกาศออกมาว่าจกรมการขนส่งทางบก จะออกมาตรการป้องกันอุบัติเหตุในการขนส่งวัตถุอันตราย กำหนดให้รถบรรทุกวัตถุอันตรายต้องติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของ รถ (GPS Tracking)
การตระหนักถึงความปลอดภัยของผู้โดยสารร่วมกันขององค์กรผู้บริโภคและรัฐบาล ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดีในการทำงานคุ้มครองผู้บริโภค แต่อย่างไรก็ตามหากเกิดประสบอุบัติเหตุผู้บริโภค สามารถติดต่อร้องเรียนหรือปรึกษาได้ที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค 0-22483737
หรือ ใช้สิทธิ์ Online ที่อนึ่งการนำเทคโนโลยีใหม่มาควบคุมรถโดยสารสาธารณะนั้น ที่ผ่านมากรมนำระบบอาร์เอฟไอดีมาใช้ โดยการติดตั้งแถบอาร์เอฟไอดี และมีเครื่องอ่านติดตั้งบนทางพิเศษต่างๆ เช่น ทางด่วนของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) มอเตอร์เวย์ และโทลล์เวย์ หลังจากดำเนินการพบว่าอุบัติเหตุรุนแรงบนทางพิเศษเหล่านี้แทบไม่เกิดขึ้น ถือว่าประสบความสำเร็จ
ข้อมูลจาก สำนักข่าวไทย วันที่ 26 พ.ย. 2555 เวลา