เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ที่รัฐสภาในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีนายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่1ทำหน้าที่ประธานในการพิจารณากระทู้ถามสดเรื่องปัญหาวิกฤตไฟฟ้าต่อ ประเด็นการเตรียมประกาศภาวะฉุกเฉิน
ของนายอลงกรณ์ พลบุตร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ถาม นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานว่าการจะประกาศภาวะฉุกเฉินไฟฟ้าทำให้หวั่นเกรง เกิดภาวะไฟดับวงกว้างหรือเกิดไฟดับบางช่วงซึ่งสะท้อนถึงรัฐบาลไม่มีการ เตรียมความพร้อมและล้มเหลวในการบริหารจัดการด้านพลังงาน ความจริงต้องถามว่าเป็นวิกฤตไฟฟ้าจริงหรือไม่ หรือจงใจสร้างกระแสเหตุผลขึ้นค่าไฟขึ้นค่าแก๊สหรือเจรจาต่อรองอะไรหรือไม่
เพ้งย้ำวิกฤตไฟหนักแค่5เม.ย.
โดย นายพงษ์ศักดิ์ ได้ชี้แจงว่าก่อนหน้ามีการเจรจาบริษัทโททาล ผู้ดำเนินการแหล่งก๊าซยานาดา ให้เลื่อนการซ่อมบำรุงแท่นขุดเจาะน้ำมันในพม่าออกไป1สัปดาห์ได้หรือไม่ ให้อยู่ในวันที่11-12 เม.ย.เพราะถ้าเลื่อนอยู่ช่วงสงกรานต์ประเทศไทยจะไม่ประกาศ หรือเรียกร้องให้คนประหยัดไฟแต่ปัญหาปีนี้ในช่วง4-5เม.ย.จากการคำนวณการใช้ ไฟค่อนข้างสูงก่อนจะถึงวันหยุดยาวดังนั้นโรงงานอุตสาหกรรม ห้างสรรพสินค้าต่างๆต้องมาช่วยประหยัดพลังงานจึงต้องเตือนให้ทุกคนทราบก่อน เจอปัญหาที่แท้จริง
"บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน)ได้เจรจาต่อรองสุดท้ายจะปิดซ่อมบำรุงในวันที่ 4-12 เม.ย.และผมเห็นว่าช่วงเวลานั้น ก็ดูตารางการใช้ไฟฟ้าก็ยังไม่รับไม่ได้ จึงขอเจรจราแต่ฝ่ายเทคนิค2ฝั่งทั้งบริษัทปตท.และบริษัทโททาลได้คุยกันแล้ว ว่ามีอัตราการเสี่ยง ถ้าเกิดความเสียหายขึ้นมาแหล่งก๊าซ จะหยุดเป็นเดือนจึงยอมให้เลื่อนการซ่อมบำรุงมาเป็นวันที่5 เม.ย.ดังนั้นการสำรองไฟจะเหลือ700เมกะวัตต์ทำให้ต้องระดมกำลังภาคประชาชน ประหยัดพลังงานและร้องขอนายกรัฐมนตรีให้รัฐบาลเป็นตัวนำการประหยัดพลังงาน ซึ่งการใช้ไฟฟ้าจะอันตรายแค่วันที่5เมษายนวันเดียว พอเปิดมาวันที่10 เม.ย.จะใช้ไฟเพียง 25,000 เมกะวัตต์จะทำให้ความปลอดภัยสูงขึ้น" รมว.พลังงาน ย้ำ
พลังงานเรียกเอกชนถกให้ลดใช้ไฟ
ในช่วงบ่ายวันเดียวกัน ที่นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.พลังงาน กล่าวภายหลังเชิญ กลุ่มสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.)เข้าหารือเพื่อขอความร่วมมือ ประหยัดไฟฟ้าในวันที่5เม.ย.2556ว่า กระทรวงพลังงานได้ขอความร่วมมือกับส.อ.ท.ลดใช้ไฟฟ้าในช่วงวิกฤติไฟฟ้าวันที่ 5 เม.ย. 2556เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมเป็นภาคที่ใช้ไฟฟ้าสูงสุดของประเทศคิดเป็น46%ของ การใช้ไฟฟ้าทั้งหมดหรือประมาณ 46,700 ล้านหน่วยดังนั้นถ้าสามารถลดได้10% จะช่วยประหยัดใช้ไฟฟ้าของประเทศลงได้ถึง 4% จากทั้งประเทศ
"ดังนั้น จึงขอความร่วมมือส.อ.ท.ให้กลับไปหารือกับสมาชิกโรงงานกว่า42 กลุ่มอุตสาหกรรมหรือประมาณ 7,000-8,000 แห่งให้หาวิธีการประหยัดไฟฟ้าในวันที่5เม.ย.โดยให้นำผลสรุปกลับมารายงานใน อีก 2 สัปดาห์ข้างหน้าโดยกระทรวงพลังงานจะนำผลที่ได้ไปให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง ประเทศไทย(กฟผ.)ไปวิเคราะห์หาค่าปริมาณไฟฟ้าที่จะลดลงได้ สำหรับนำไปประเมินสถานการณ์วิกฤติไฟฟ้าต่อไป" นายพงษ์ศักดิ์ ย้ำ
วอนห้างขนาดใหญ่ปรับลดใช้แอร์
นอกจากนี้ พร้อมขอความร่วมมือกับภาคประชาชนในการลดใช้ไฟฟ้าในวันที่5เม.ย.รวมถึง ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ห้างค้าปลีกเช่นเทสโก้โลตัสให้ลดการใช้เครื่องปรับ อากาศซึ่งส่วนใหญ่ จะเป็นเครื่องปรับอากาศแบบรวมศูนย์ที่เรียกว่าชิลเลอร์(Chiller) โดยให้เปิดไว้ในช่วงเช้าเพื่อให้มีความเย็นที่สุด จากนั้นช่วงบ่ายให้ปิดชั่วคราว อย่างไรก็ตาม ตนจะไม่เชิญหน่วยงานอื่นเข้ามาวางแผนประหยัดไฟฟ้าอีกเนื่องจากเชื่อว่าทุก องค์กรจะมีแผนประหยัดไฟฟ้าของตัวเองหลังจากรับทราบสถานการณ์ไฟฟ้าที่จะเกิด ขึ้นแล้ว
เอกชนรับลูกเล็งหยุดงาน5เมษา
ด้าน นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.)กล่าวว่าขณะนี้มีความชัดเจนแล้ว ว่าวันที่ 5 เม.ย.เป็นช่วงเวลาที่น่าห่วงที่สุดทางส.อ.ท.จะกลับไปหารือกับสมาชิกทั้ง 42 กลุ่มอุตสาหกรรม เพื่อขอให้ปรับแผนการผลิตให้เหมาะสมกับสถานการณ์เช่นกำหนดให้เป็นวันหยุดจาก นั้นอาจให้วันที่ 7 เม.ย.เดิมเป็นวันหยุดให้เป็นวันทำงานแทน หรืออาจหยุดวันที่ 5เม.ย.และกำหนดให้วันที่ 11เม.ย.เป็นวันทำงานเพราะปกติตามตารางภาคเอกชนวันที่11เม.ย.จะเข้าสู่ช่วง วันหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ โรงงานบางแห่งเริ่มทยอยหยุดทำให้ปริมาณสำรองไฟฟ้ามีมากขึ้น ไม่เสี่ยงต่อปัญหาไฟฟ้าดับ
โตโยต้าแจ้งพร้อมหยุดได้ทันที
"ขณะนี้อุตสาหกรรมยานยนต์ ตอบรับที่จะปรับแผนการผลิตด้วยการกำหนดให้วันที่ 5 เม.ย.เป็นวันหยุดแล้วอาทิบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทยจำกัดเชื่อว่าจะช่วยได้มากเพราะนอกจากบริษัทรถยนต์ยังมีบริษัทชิ้น ส่วนรถยนต์ที่เกี่ยวข้องอีกกว่า1,700บริษัท"นายพยุงศักดิ์ กล่าวและว่า ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้ไฟฟ้าคาดว่าจะให้ความร่วมมือปฏิบัติได้ทันที คืออุตสาหกรรมเหล็ก ปูนซีเมนต์ ปิโตรเคมี กระดาษ สิ่งทอ แต่จะขอกลับไปหารือรายละเอียดอีกครั้ง ต้องคำนวณปริมาณการผลิต กำลังคนวัตถุดิบให้สอดคล้องกับสถานการณ์
สนพ.เร่งรณรงค์เซฟพลังงาน
ขณะที่ นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.)กล่าวว่าสำหรับแผนประหยัดพลังงาน ภาคประชาชนช่วงวันที่5-14 เม.ย.นั้นสนพ.จะรณรงค์ให้ปิดไฟบ้านละ1 ดวง1ชั่วโมง พร้อมรณรงค์ให้เปิดแอร์ที่อุณหภูมิ26องศาจากแอร์ที่มีทั้งประเทศ 15.6ล้านเครื่อง หากลดลงได้10%จะทำให้การใช้ไฟฟ้าลดลงถึง 900เมกะวัตต์หากประชาชนร่วมมือใน2มาตรการ จะลดใช้ไฟฟ้าได้รวมถึง2,000 เมกะวัตต์
กฟน.วอนทุกฝ่ายร่วมลดใช้ไฟฟ้า
ด้านนายประชา ประสพดี รมช.มหาดไทย กำกับดูแลการไฟฟ้านครหลวง(กฟน.)กล่าวหลังประสานและหารือกับผู้ว่า กฟน.เกี่ยวกับวิกฤตไฟฟ้าแล้ว เบื้องต้นจะใช้แนวทางขอความร่วมมือตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีไปยังหน่วย งานราชการและรัฐวิสาหกิจขอให้ช่วยปิดเครื่องปรับอากาศช่วงพักเที่ยง1ชั่วโมง ให้ปิดไฟฟ้าในสถานที่ทำงานที่ไม่จำเป็นตอนกลางวัน ขอความร่วมมือให้ประชาชนช่วยกันปิดแอร์ ปิดไฟที่ไม่จำเป็นหรือใช้ให้น้อยลง เพื่อสร้างวินัย ลดค่าใช้จ่าย ขอความร่วมมือหน่วยงานราชการ และห้างสรรพสินค้า ให้ปรับอุณหภูมิแอร์ให้คงไว้ที่25 องศาเซลเซียส จะประสานให้ผู้ค้าป้ายโฆษณาตามทางด่วนหรือตามตึกต่างๆให้ช่วยเปิดไฟถึง แค่21.00น. ส่วนในการประชุมหน่วยงานราชการจะงดการใส่สูทเพื่อไม่ต้องปรับแอร์ให้เย็น ขึ้น มั่นใจว่ามาตรการต่างๆที่ออกมาจะทำให้มีพลังงานพียงพอ
มั่นใจไม่กระทบต่อโรงพยาบาล
ทั้งนี้ ได้เตรียมพลังงานทดแทนไว้ หากเกิดเหตุไฟฟ้าดับโดยจะมีเจ้าหน้าที่คอล์เซนเตอร์ตลอด 24ชม. ส่วนโรงพยาบาลที่เกรงอาจกระทบผู้ป่วย การไฟฟ้าฯได้เตรียมสำรองไว้แล้วซึ่งทุกโรงพยาบาล ก็เตรียมไฟสำรองไว้ จะทำให้ใช้ไฟฟ้าได้ 6-10ชม.จึงขอประชาชนอย่าตระหนกตกใจวิกฤตที่เกิดขึ้นและให้ความร่วมมือช่วย เหลือกันคนละเล็กละน้อยให้ผ่านวิกฤตนี้ไปได้
กฟผ.ขอปชช.อย่าตื่นมีแผนสำรอง
ด้านนายธาตรี ริ้วเจริญ ผู้อำนวยการสื่อสารองค์การ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย( กฟผ.) กล่าวถึงกรณีพม่าจะหยุดการส่งก๊าซวันที่5เม.ย.อาจสุ่มเสี่ยงไฟตกและดับได้ ว่า กฟผ.ยืนยันว่าเป็นเพียงการคาดการณ์ว่าในวันดังกล่าว มีโอกาสสุ่มเสี่ยงมากกว่าปกติ หากไม่เกิดปัญหาซ้ำซ้อนส่วนแผนการรองรับคือ1.ให้โรงไฟฟ้าที่สามารถใช้เชื้อ เพลิงได้ทั้ง 2 แบบ ใช้น้ำมันเตา หรือน้ำมันดีเซลเดินเครื่องผลิตไฟฟ้า2.ให้โรงไฟฟ้าของเอกชนขนาดเล็ก เดินเครื่องจ่ายไฟมาในระบบให้เต็มที่3.เดินเครื่องจากเขื่อนไฟฟ้าพลังงานน้ำ จากประเทศลาว4.เลื่อนแผนการหยุดบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าในไทยและ5.เตรียมการใช้ โรงไฟฟ้าเก่า เพื่อเดินเครื่องสำรอง อีกทั้ง ยังมีก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยและก๊าซธรรมชาติในพื้นที่ร่วม ไทย-มาเลยเชียที่ใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ตามปกติ หากไม่มีปัญหาหรือภาวะแทรกซ้อนที่กระทบแผนที่รองรับไว้ จะไม่เกิดเหตุไฟตกหรือไฟดับอย่างที่หลายฝ่ายกังวล จึงขอให้ประชาชนตื่นตระหนก
รัฐเทงบ150ล้าน แก้วิกฤติภัยแล้ง
สำหรับความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานการประชุมที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.)เพื่อกำหนดมาตรการ แก้ไขปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ประสบภัยพิบัติ34 จังหวัดเพื่อติดตามการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นโดยนาย ปรีชา กล่าวหลังประชุมว่านายกรัฐมนตรีมอบนโยบายให้ทุกหน่วยงานบูรณาการแก้ไขปัญหา ภัยแล้ง บริหารจัดการน้ำที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด น้ำอุปโภคบริโภค ประชาชนต้องมีน้ำใช้อย่างเพียงพอตลอดช่วงฤดูแล้งโดยขอให้หน่วยงานแก้ปัญหา ภัยแล้งให้ตรงเป้า การแก้ปัญหาระยะสั้นสั่งการให้จัดหาภาชนะใส่น้ำ รถบรรทุกน้ำ แหล่งน้ำดิบ เครื่องสูบน้ำและอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการช่วยเหลือประชาชน ส่วนระยะกลางและระยะยาวได้เตรียมงบประมาณ150ล้านบาทให้จังหวัดละ2ล้านบาท เพื่อบูรณาการขุดลอกคูคลองเพื่อให้เส้นทางน้ำแต่ละพื้นที่เชื่อมโยงกันเป็น ประโยชน์ต่อประชาชนเข้าหาแหล่งน้ำ
เตรียมพร้อมรับมือภัยแล้ง90วัน
ด้านนายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.)กล่าวว่าปภ.รับผิดชอบศูนย์คลัง เครื่องมือช่วยเหลือภัยแล้งได้เตรียมการจัดหาภาชนะใส่น้ำ รถบรรทุกน้ำ การขุดบ่อบาดาลและเตรียมพร้อมบุคลากรช่วยเหลือประชาชนเพื่อรับมือภาวะภัย แล้งในช่วง90วันตั้งแต่วันที่15ก.พ.-15พ.ค.ขณะนี้มีรถบรรทุกน้ำจำนวน1,918 คัน ในการช่วยเหลือและจะประสานความร่วมมือกับทุกจังหวัดอย่างเต็มที่ จึงขอให้ความมั่นใจกับประชาชนว่าจะไม่ขาดแคลนน้ำในการใช้อุปโภค บริโภคและการใช้เพื่อเกษตรกรรมต่างๆ
ผู้ว่าฯโคราช ยอมรับวิกฤติรุนแรง
ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์ภัยแล้งที่ จ.นครราชสีมาว่านายวินัย บัวประดิษฐ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาเผยว่าขณะนี้เริ่มวิกฤติทางจังหวัดได้ประกาศ ภัยพิบัติแล้งไปแล้ว29อำเภอจาก 32อำเภอ ต้องยอมรับปีนี้ภัยแล้งค่อนข้างจะรุนแรง แต่ได้ระดมและบูรณาการเรื่องการช่วยเหลือ การบริหารจัดการน้ำโดยเฉพาะแหล่งน้ำสำคัญที่นำน้ำดิบมาทำน้ำประปาโดยประชุม บริหารจัดการน้ำในส่วนของชลประทานจังหวัดภาคอีสานตอนล่าง4จังหวัดในการแก้ไข ปัญหาน้ำอุปโภค บริโภค ต้องให้มีน้ำสำหรับการผลิตประปาอย่างเพียงพอ ก่อนที่จะนำน้ำไปใช้เพื่อการเกษตร
ข้อมูลจาก นสพ.แนวหน้า วันที่ 22 ก.พ. 56