'ได้ รับการร้องเรียนจากประชาชนว่าเดือดร้อนมากจากกรณีนี้ จึงต้องเรียกทั้ง 2 การไฟฟ้ามาหารือ เพราะไม่ถูกต้องที่ประชาชนจะมีรายจ่ายจากการบริการเพิ่ม ทั้งๆ ที่มีการเรียกเก็บทุกเดือนอยู่แล้ว 38 บาท โดยอาจจะกำหนดแนวทางให้การไฟฟ้าเข้าไปรับภาระแทนทั้งหมด หรือเอาข้อมูลมาดูว่าการไฟฟ้ามีการแบ่งรายได้กับบริษัทที่รับชำระค่าบริการ อย่างไร และให้การไฟฟ้าเข้าไปรับภาระในส่วนของตัวเอง' นางพัลลภากล่าว
นอก จากนี้การพิจารณาโครงสร้างค่าไฟฐาน เดิมที่มีการนำต้นทุนซื้อไฟฟ้าจากเอกชนที่รวมการลงทุนค่าก่อสร้าง การวางระบบและต้นทุนราคาก๊าซ มาใช้คำนวณค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) ทั้งหมด ก็จะแยกส่วนการลงทุนมาคำนวณกับค่าไฟฐานแทน เหลือเฉพาะต้นทุนที่เป็นราคาก๊าซจริงๆ มาใช้คำนวณเป็นค่าเอฟทีให้มีความผันแปรสอดคล้องกับตลาดโลกมากขึ้น รวมถึงการยืดหลักเกณฑ์ขยายเวลาการคำนวณค่าเสื่อมอุปกรณ์ให้มีระยะเวลานาน ขึ้น เพื่อเฉลี่ยรายจ่ายเป็นระยะยาวมากขึ้น ขณะเดียวกันจะปรับสัดส่วนโครงสร้างการใช้ไฟในแต่ละกลุ่มใหม่ เพื่อให้ปริมาณการใช้ไฟสูงต่ำเฉลี่ยในแต่ละวันมีระดับใกล้เคียงกัน ไม่ให้มีการเร่งใช้ไฟในช่วงพีก เพราะจะมีค่าใช้จ่ายแพง ซึ่งแนวทางทั้งหมดจะทำให้ค่าไฟฟ้าถูกลง
นางพัลลภากล่าวว่า ส่วนแนวโน้มการปรับค่าเอฟทีในงวดหน้า (ก.ย.-ธ.ค.2555) คงไม่สามารถตรึงต่อไปได้ เนื่องจากจะทำให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) มีภาระมากเกินไป จนไม่สามารถขยายการลงทุน หรือทำกำไรให้องค์กรได้ ซึ่งที่ผ่านมา กฟผ.เข้าไปรับภาระเอฟทีแล้ว 2 งวดๆ ละ 10,200 ล้านบาท รวมถึงตรึงค่าเอฟทีในเดือนพ.ค.อีก 30 สตางค์ คิดเป็นภาระ 4,000 ล้านบาท โดยรายจ่ายส่วนนี้ จะต้องนำไปคำนวณกับค่าเอฟทีในงวดต่อๆ ไป ซึ่งเบื้องต้นได้กำหนดให้ปรับขึ้นเอฟทีอีก 8.59 สตางค์ต่อหน่วย (ยังไม่รวมการคำนวณต้นทุนอื่นๆ เช่น อัตราแลกเปลี่ยน ราคาเชื้อเพลิงย้อนหลัง 6 เดือน) รวม 4 งวดถึงสิ้นปี 2556 จึงจะชดเชยภาระดังกล่าวคืนให้กับกฟผ.ได้ทั้งหมด
วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 ปีที่ 22 ฉบับที่ 7851 ข่าวสดรายวัน |