ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจัดทำรายงาน วิจัย “แนวทางการจัดระเบียบการขาย ประกันผ่านตัวแทน/นายหน้า : เพิ่มความ คุ้มครองผู้บริโภค แต่ผู้ขายคงต้องปรับตัว” ว่า เพื่อแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนของผู้บริโภคเกี่ยวกับการเสนอขายผลิตภัณฑ์ ประกันภัยและสร้างความเท่าเทียมกันระหว่างนายหน้านิติ บุคคลทั่วไปกับนายหน้านิติประเภทสถาบันการเงิน ทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบ ธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้ยกร่างประกาศคปภ.ฉบับใหม่เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการออกการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันชีวิต/วินาศภัย และการปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทนและนายหน้าประกันชีวิต/วินาศภัย พ.ศ. .....
โดยประกาศดังกล่าวอยู่ระหว่าง การรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสีย ควบคู่กับการหารือร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งธนาคารแห่งประเทศไทย (ปท.) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) คาดว่าจะนำออกบังคับใช้เร็วที่สุดราวต้นปี 2556 สาระสำคัญของร่างประกาศฉบับนี้ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อทิศทางการทำธุรกิจ ในอนาคต ได้แก่ 1.ให้มีการเปิดเผยค่าบำเหน็จ/นายหน้าประกันภัย โดยให้ลงไปถึงการเปิดเผยรายละเอียดดังกล่าวเป็นรายลูกค้าเนื่องจากถือว่า เป็นสิทธิที่ผู้บริโภคพึงรู้ แม้จะส่งผลกระทบต่อการขายทุกช่อง ทาง แต่ในแง่ผู้บริโภคอาจต่อรองขอลดเบี้ยประกันจากผู้ขายได้ 2.ห้าม ลด แลก แจก แถม คาดว่าจะมีผลกระทบต่อธุรกิจประกันที่เสนอขายผ่านธนาคารพาณิชย์เพราะต้องยอม รับว่า ยอดขายผ่านช่องทางดังกล่าว ต้องอาศัยแรงผลักจากการมอบของสมนา คุณที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่มในแต่ละช่วงเวลาได้ดี แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเข้มงวดของเกณฑ์ที่จะประกาศออกมาว่าจะห้ามมอบของ สมนาคุณ หรือกำหนดมูลค่าของสมนาคุณเป็นสัดส่วนต่อวงเงินลงทุน 3.จัดให้มีช่องทางรับเรื่องร้องเรียนในสถานที่ที่ขายผลิตภัณฑ์ โดย คปภ.ต้อง การให้นายหน้านิติบุคคล จัดตั้งหน่วยงาน รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภค ณ จุดขายด้วย สำหรับบริษัทประกันคล้ายคลึง กับช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนที่มีอยู่แล้ว ขณะเดียวกันอาจทำให้ต้นทุนการดำเนินงานของนายหน้าเพิ่มขึ้นซึ่งอาจส่ง ผลกระทบต่อต้นทุนแฝงของผลิตภัณฑ์และลดทอนสิทธิประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับ จากผลิตภัณฑ์ประกันที่เสนอขายผ่านช่อง ทางนายหน้าได้
นอกจากนี้ เกณฑ์ยังกำหนดให้ผู้ขาย แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าผลิตภัณฑ์ประกันทุกประเภท ไม่ใช่เงินฝาก และห้ามบังคับซื้อประกัน โดยเฉพาะกรณีนายหน้า ธนาคารบางรายที่นำผลิตภัณฑ์ประกันไปขายพ่วงกับผลิตภัณฑ์/บริการทางการเงิน อื่น
อย่างไรก็ดี คาดว่าหลักเกณฑ์ใหม่จะมีผลบังคับใช้ในช่วงต้นปี 2556 ดังนั้นจึงยังไม่น่าจะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ ต่อภาพรวมธุรกิจประกันในปี 2555 นี้ ในส่วนของประกันชีวิตคาดว่าเบี้ยประ กันภัยรับรวมในปีนี้น่าจะขยายตัวได้ประมาณ 13.0-15.0% ตามประมาณการเดิมส่วนในปี 2556 ผลกระทบคงหลีกเลี่ยงได้ยากเพียงแต่ผลกระทบจะชัดเจนแค่ไหนนั้นคงขึ้นกับความ เข้มงวดของบทสรุปของเกณฑ์ที่จะออกมา หากคงความเข้มข้นไว้เพื่อดูแลด้านความเท่าเทียมของผู้ให้บริการในแต่ละช่อง ทางและรักษาผลประโยชน์ของผู้บริโภค คาดว่าผลกระทบต่อธุรกิจประกันชีวิตคงจะชัดเจน
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเห็นว่าคงจะได้ เห็นการปรับตัวของช่องทางการขายหลักที่คงค่อยๆ ปรับเข้าสู่ภาวะปกติได้ แต่ผลกระทบในระยะสั้น โดยเฉพาะในปีแรกของการเปลี่ยนแปลงอาจทำให้ภาพรวมการเติบโตของธุรกิจประกัน ชีวิตเพิ่มขึ้นในอัตราชะลอตัวลงอย่างชัดเจนมาสู่เลขหลักเดียวอีกครั้งในรอบ 6 ปีที่ผ่านมาได้
โดยสรุปการเติบโตของธุรกิจประกันชีวิตที่ถูกผลักดันจากช่องทางขายผ่านธนาคาร ทวีความสำคัญเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่องขณะเดียวกันการเร่งขยาย ธุรกิจแบงก์แอสชัวรันส์ของธนาคารเอง เพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดและช่วงชิงความสามารถในการแข่งขันระหว่างกัน ก็มีส่วนส่งผลให้มีการปรับใช้กลยุทธ์/แรงจูงใจการตลาดในวิธีการต่างๆ ซึ่งอาจทำให้ลูกค้าบางส่วนให้น้ำหนักกับแรงจูงใจดังกล่าวมากกว่าเงื่อนไข เฉพาะ ของตัวผลิตภัณฑ์ประกันได้ ดังนั้น การวางกรอบให้มีหลักเกณฑ์การเสนอขายที่ชัดเจนของภาครัฐจึงอาจกระตุ้นให้ผู้ บริโภคตัดสินใจซื้อ ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน บนความเข้าใจและแรงดึงดูดด้านเงื่อนไขของตัวผลิตภัณฑ์เองมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ช่วยสร้างความเป็นธรรมให้กับทุกช่องทาง การขายที่เกี่ยวข้อง
ข้อมูลจาก สยามธุรกิจ 18 ก.ย. 2555