ผู้แทนองค์การอิสระผู้บริโภคกว่า 100 คน จาก 30 องค์กรทั่วประเทศ ร้องรัฐให้ยกเลิกการนำเข้าแร่ใยหิน การใช้ผลิตภัณฑ์และห้ามไม่ให้มีการขายสินค้าที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ เนื่องจากพบแร่ใยหินในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญให้เกิดโรคมะเร็งปอด เช่น หลังคา กระเบื้องปูพื้น หรือแม้กระทั่งเครื่องสำอาง
Consumerthai - 26 พ.ย. แผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จัดเวที ปฏิบัติการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคการประชุมผู้แทนองค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศ ครั้งที่ 2 เรื่อง ให้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหินเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ขึ้นที่ห้องประชุม ชั้น 2 สำนักงานกลางนักเรียนคริสเตียน เนื่องจากพบว่าแร่ใยหินก่อเกิดมะเร็ง สำหรับคนงานที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการใช้แร่ใยหิน และผู้บริโภคที่ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีแร่ใยหินเช่น หลังคาบ้าน ทั้งนี้สภาผู้บริโภคไม่เห็นด้วยกับการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ จึงมีข้อเสนอให้ยกเลิกการนำเข้าและการผลิตสินค้าที่มีแร่ดังกล่าว
รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์ ประธานมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวในฐานะตัวแทนผู้บริโภคมีข้อเสนอทั้งหมด 10 ข้อ ต่อกระทรวงอุตสาหกรรม โดยมีประเด็นสำคัญคือ ให้กำหนดมาตรการยกเลิกการนำเข้าภายใน 3 เดือน และยกเลิกการผลิต การจำหน่ายสินค้าที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหินที่สามารถใช้วัตถุดิบอื่นทดแทนได้ภายใน 1 ปี รวมถึงยกเลิกภาษีของวัตถุดิบทดแทนแร่ใยหิน ทั้งนี้วัตถุดิบที่นำมาทดแทนจะต้องไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน
นอกจากนี้ควรทำให้ผู้บริโภครับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหิน ตลอดจนตระหนักถึงอันตรายที่เกิดจากแร่ใยหิน โดยมีการเผยแพร่ข้อมูลในสื่อมวลชนทุกประเภท รวมไปถึงหอกระจายข่าวติดต่อกันอย่างน้อย ๓๐ วัน ครอบคลุมทุกพื้นที่
รศ.ดร.จิราพร กล่าวอีกว่า การออกกฎหมาย หรือประกาศข้อบังคับ ต้องรับฟังความคิดเห็นของทุกภาคส่วน และให้สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคแก้ไขประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ ๒๗ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยระบุให้ชัดเจนว่า แร่ใยหินทำให้เป็นมะเร็งปอด ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค เพิ่มสัญลักษณ์หัวกะโหลกไขว้ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าเป็นสินค้าอันตรายบนฉลาก
ด้านนางมาลี พงษ์โสภณ นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการพิเศษ สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กองควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึง การออกมาตรการฉลากควบคุม ซึ่งผู้ประกอบการโต้แย้งว่า แร่ใยหินในกระเบื้องซีเมนต์จะไม่เกิดอันตรายต่อสุขภาพ แต่ความเป็นจริงกระบวนการผลิตและการนำไปใช้โดยไม่มีอุปกรณ์ป้องกัน เช่น การตัด เจาะ รื้อถอน ล้วนก่อให้เกิดการฟุ้งกระจาย ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งระบบทางเดินหายใจ
ศ.ดร.นพ.พรชัย สิทธิศรัณย์กุล คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ในแต่ละปีมีผู้ป่วยอย่างน้อย 9 หมื่นคนทั่วโลก ที่เสียชีวิตจากโรคที่เกิดจากแร่ใยหิน ผลเสียสำคัญคือ เมื่อหายใจเข้าไปจะส่งผลตั้งแต่ทางเดินหายใจตอนบนถึงปอด ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด มะเร็งเยื่อหุ้มปอด โรคแอสเบสโตซิส รวมถึงมีการอักเสบในเนื้อปอด
“สำหรับประเทศไทยคาดว่ามีกรณีเจ็บป่วยเป็นพันต่อปีพบผู้ป่วยน้อยเพราะอาจเป็นเช่นนั้นจริงหรือได้รับรายงานน้อย เพราะระยะฟักตัวของโรคนาน คนงานเปลี่ยนงานแล้วติดตามไม่ได้ หรือแพทย์ไม่ได้วินิจฉัย” ศ.ดร.นพ.พรชัย กล่าว
นางชื่นสุข เมธากุลวัฒน์ ผู้อำนวยการกองคุ้มครองผู้บริโภคด้านฉลาก สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) กล่าวว่า การที่ข้อความบนฉลากระบุว่า แร่ใยหินเป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่ไม่ได้เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง เนื่องจากยังไม่มีข้อเท็จจริงทางการแพทย์ยืนยัน และการตรวจพบผู้ที่ป่วยเป็นโรคอันเนื่องมาจากแร่ใยหินยังไม่มีข้อมูลสนับสนุนเพียงพอ ลักษณะการออกฉลากจึงเป็นไปเพื่อบอกความจริงให้ผู้บริโภครู้ว่าสินค้านี้มีอันตรายต่อสุขภาพเท่านั้น
Consumerthai - 26 พ.ย. แผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จัดเวที ปฏิบัติการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคการประชุมผู้แทนองค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศ ครั้งที่ 2 เรื่อง ให้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหินเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ขึ้นที่ห้องประชุม ชั้น 2 สำนักงานกลางนักเรียนคริสเตียน เนื่องจากพบว่าแร่ใยหินก่อเกิดมะเร็ง สำหรับคนงานที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการใช้แร่ใยหิน และผู้บริโภคที่ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีแร่ใยหินเช่น หลังคาบ้าน ทั้งนี้สภาผู้บริโภคไม่เห็นด้วยกับการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ จึงมีข้อเสนอให้ยกเลิกการนำเข้าและการผลิตสินค้าที่มีแร่ดังกล่าว
รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์ ประธานมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวในฐานะตัวแทนผู้บริโภคมีข้อเสนอทั้งหมด 10 ข้อ ต่อกระทรวงอุตสาหกรรม โดยมีประเด็นสำคัญคือ ให้กำหนดมาตรการยกเลิกการนำเข้าภายใน 3 เดือน และยกเลิกการผลิต การจำหน่ายสินค้าที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหินที่สามารถใช้วัตถุดิบอื่นทดแทนได้ภายใน 1 ปี รวมถึงยกเลิกภาษีของวัตถุดิบทดแทนแร่ใยหิน ทั้งนี้วัตถุดิบที่นำมาทดแทนจะต้องไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน
นอกจากนี้ควรทำให้ผู้บริโภครับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหิน ตลอดจนตระหนักถึงอันตรายที่เกิดจากแร่ใยหิน โดยมีการเผยแพร่ข้อมูลในสื่อมวลชนทุกประเภท รวมไปถึงหอกระจายข่าวติดต่อกันอย่างน้อย ๓๐ วัน ครอบคลุมทุกพื้นที่
รศ.ดร.จิราพร กล่าวอีกว่า การออกกฎหมาย หรือประกาศข้อบังคับ ต้องรับฟังความคิดเห็นของทุกภาคส่วน และให้สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคแก้ไขประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ ๒๗ พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยระบุให้ชัดเจนว่า แร่ใยหินทำให้เป็นมะเร็งปอด ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค เพิ่มสัญลักษณ์หัวกะโหลกไขว้ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าเป็นสินค้าอันตรายบนฉลาก
ด้านนางมาลี พงษ์โสภณ นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการพิเศษ สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กองควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึง การออกมาตรการฉลากควบคุม ซึ่งผู้ประกอบการโต้แย้งว่า แร่ใยหินในกระเบื้องซีเมนต์จะไม่เกิดอันตรายต่อสุขภาพ แต่ความเป็นจริงกระบวนการผลิตและการนำไปใช้โดยไม่มีอุปกรณ์ป้องกัน เช่น การตัด เจาะ รื้อถอน ล้วนก่อให้เกิดการฟุ้งกระจาย ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งระบบทางเดินหายใจ
ศ.ดร.นพ.พรชัย สิทธิศรัณย์กุล คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ในแต่ละปีมีผู้ป่วยอย่างน้อย 9 หมื่นคนทั่วโลก ที่เสียชีวิตจากโรคที่เกิดจากแร่ใยหิน ผลเสียสำคัญคือ เมื่อหายใจเข้าไปจะส่งผลตั้งแต่ทางเดินหายใจตอนบนถึงปอด ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด มะเร็งเยื่อหุ้มปอด โรคแอสเบสโตซิส รวมถึงมีการอักเสบในเนื้อปอด
“สำหรับประเทศไทยคาดว่ามีกรณีเจ็บป่วยเป็นพันต่อปีพบผู้ป่วยน้อยเพราะอาจเป็นเช่นนั้นจริงหรือได้รับรายงานน้อย เพราะระยะฟักตัวของโรคนาน คนงานเปลี่ยนงานแล้วติดตามไม่ได้ หรือแพทย์ไม่ได้วินิจฉัย” ศ.ดร.นพ.พรชัย กล่าว
นางชื่นสุข เมธากุลวัฒน์ ผู้อำนวยการกองคุ้มครองผู้บริโภคด้านฉลาก สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) กล่าวว่า การที่ข้อความบนฉลากระบุว่า แร่ใยหินเป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่ไม่ได้เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง เนื่องจากยังไม่มีข้อเท็จจริงทางการแพทย์ยืนยัน และการตรวจพบผู้ที่ป่วยเป็นโรคอันเนื่องมาจากแร่ใยหินยังไม่มีข้อมูลสนับสนุนเพียงพอ ลักษณะการออกฉลากจึงเป็นไปเพื่อบอกความจริงให้ผู้บริโภครู้ว่าสินค้านี้มีอันตรายต่อสุขภาพเท่านั้น
บรรยากาศในงาน
น.ส. นลินาสน์ สิงหบุตร - เรื่อง
น.ส. อิสรีย์ มีความดี - ถ่ายภาพ