วันนี้ (3 มี.ค.)นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคกล่าวถึงกรณีสภาผู้แทนราษฎร ที่ประชุมได้มีมติเสียงข้างมากให้ถอน ร่าง พ.ร.บ.องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ...โดยให้ความมาตรา 8 ที่กำหนดให้รัฐบาลจัดสรรทุนประเดิมไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาท ถือว่าเป็นการเขียนกฎหมายที่มีสภาพบังคับรัฐบาลมากเกินไป เพราะตามหลักการเขียนกฎหมายไม่ควรเขียนถ้อยคำที่มีลักษณะของการระบุจำนวนตัวเลขลงไป การกำหนดถ้อยลักษณะนี้เป็นการผูกมัดรัฐบาลมากเกินไปเพราะเกรงถึงการจัดการจำนวนประชากรในอนาคตว่า
กฎหมายองค์การเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระเป็นเป็นกฎหมายตามรัฐธรรมนูญมาตรา 61 และได้รับหลักการจากสภาผู้แทนราษฎรไปเมื่อวันที่ 5 ต.ค.ปี 53และได้ตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นมา อีกทั้งกฎหมายฉบับนี้นั้นประชาชนก็ได้เข้าชื่อเสนอกฎหมาย ซึ่งมีกลุ่มประชาชน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและเครือข่ายผู้บริโภค มีการเลือกตัวแทนเข้าไปเป็นกรรมาธิการ 1 ใน 3 ซึ่งได้มีการพิจารณาเสร็จแล้วจึงเข้าสู่สภา
“เป็นกฎหมายที่ภาคประชาชนหวังมาตั้งแต่ปี 2540 แต่ก็ไม่เกิดสักที จนปีที่ผ่านมาได้มีการผ่านเข้าสภาฯจนเข้าสู่การพิจารณาของสภาฯ เข้าสภาวาระ 2 และ 3 แต่เมื่อพิจารณาไปได้ถึงวาระ 8 ก็สะดุด ซึ่งกรรมาธิการเสียงส่วนใหญ่เห็นชอบร่วมกันว่า องค์กรนี้ฯ จะมีทุนดำเนินงานจำนวน 300 ล้านบาท และให้องค์กรนี้กำหนดงบประมาณที่เป็นอิสระ ซึ่งรัฐธรรมนูญกำหนดชัดเจนว่าให้มีองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระจากรัฐบาลเพราะฉะนั้นความเป็นอิสระที่สำคัญก็คือความเป็นอิสระด้านงบประมาณ จะได้ไม่มีการแทรกแซงด้านงบประมาณทางเราจึงเขียนระบุต่อหัวประชากรไว้ 5 บาทตัวหัว คิดแล้วก็เท่ากับขนมเด็กคิดแล้วก็อยู่ที่ 330 ล้านบาท ซึ่งถือว่าไม่มากเมื่อเทียบกับงบประมาณแผ่นดิน 2 ล้านล้านบาท และเมื่อดูถึงบทบาทหน้าที่ขององค์กรก็ถือว่าเหมาะสมแล้วอย่างเรื่องงานด้านการทำให้ผู้บริโภคได้รับข้อมูลที่เป็นจริงซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะปัจจุบันผู้บริโภคได้รับข้อมูลกึ่งเท็จ กึ่งจริง จากการโฆษณา หรืองานด้านการทำให้ประชาชนได้รับการชดเชย และการทำหน้าที่สำคัญก็คือการทำหน้าที่ให้ความเห็นและตรวจสอบการทำงานหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภค เมื่อดูถึงบทบาทและภารกิจกับงบประมาณ 300 ล้านบาท ถือว่าเหมาะสมแล้ว” เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคกล่าว
พร้อมกล่าวเพิ่มเติมว่าหลังการให้ข้อมูลกับวิปรัฐบาลแล้วก็ได้รับการเสนอมาว่าให้ค่าหัวประชากรหัวละ 3 บาท และตีกลับให้มาพิจารณาใหม่ ซึ่งภาคประชาชนเองก็ยืนยันให้มีการพิจารณาไปเลย เพราะเป็นว่าความเป็นอิสระนั้นมีความสำคัญ สุดท้ายก็ถูกถอนออกจากการพิจารณา ซึ่งก็ยังหว่า กฎหมายองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคจะถูกหยิบขึ้นมาพิจารณาในสภาฯโดยเร็ว
ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง หนึ่งในคณะกรรมาธิการร่าง พ.ร.บ.องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน กล่าวถึงประเด็นที่ว่า คิดหัวละ 5 บาท เหมาะสมแล้วหากมองดูในด้านบทบาท อำนาจและหน้าที่ขององค์การอิสระที่จะสามารถเป็นปากเป็นเสียงให้ผู้บริโภคถือว่าเหมาะสมแล้ว
“อยากให้กฎหมายตัวนี้ออกมาใช้โดยเร็ว เพราะจะช่วยผลักดันให้เกิดการคุ้มครองผู้บริโภคได้อย่างเป็นจริง เมื่อถูกถอนร่างออกจากสภาฯให้กลับมาตีกลับออกมา คณะกรรมาธิการก็ต้องกลับมาคุยกันใหม่ กฎหมายก็ต้องยืดเวลาออกไป และอยากให้กฎหมายมีบทบาทและอำนาจหน้าที่ที่จะทำงานได้จริง ไม่ใช่ออกมาแล้วทำอะไรไม่ได้เลย ก็สู้อย่ามีเลยดีกว่า” ดร.ไพบูลย์กล่าว
ด้านนายไพโรจน์ พลเพชร นักกฎหมายหนึ่งในคณะกรรมาธิการร่าง พ.ร.บ.องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน ให้ความเห็นว่าเมื่อถูกตีกลับออกจากสภามาแบบนี้คณะกรรมาธิการทั้งหมดก็ต้องกลับมาคุยกันอีกครั้งซึ่งต้องกินเวลาการออกกฎหมายอีก