29 ม.ค. 56 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จัดเสวนา "มาตรา61(องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค) ช่วยแก้ปัญหาผู้บริโภคได้อย่างไร" โดยมีนักวิชาการ นักกฎหมายเข้าร่วมเสวนา
นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ผู้ผลักดันกฎหมายองค์การอิสระฯ รายงานความคืบหน้ากฎหมาย ม.61 ว่า 15 ปี ยังไม่มีกฎหมายองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค และเนื่องจากคณะกรรมาธิการร่วมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระเพื่อ การคุ้มครองผู้บริโภคของทั้งสองสภาได้พิจารณาร่างพรบ.องค์การอิสระเพื่อการ คุ้มครองผู้บริโภคแล้วเสร็จและรอนำสู่การพิจารณาของทั้งสองสภาเพื่อให้การเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกฎหมายฉบับนี้
“การพิจารณากฎหมายชั้นวุฒิสภาได้แก้ไข 4 ประเด็น ได้แก่ 1) เพิ่มงบประมาณจาก 3 บาทเป็น 5 บาทต่อหัวประชากร 2) เพิ่มองค์ประกอบคณะกรรมการสรรหา จาก 8 เป็น 9 คน โดยมีผู้แทนจากที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยของรัฐ 1 คน เป็นกรรมการสรรหา 3) เพิ่มอายุกรมการจาก 25 ปีเป็น 35 ปี 4) มีบทลงโทษคณะกรรมการองค์การอิสระฯ หากไม่ปฏิบัติหน้าที่
จนสุดท้าย ส.ส.ไม่รับกฎหมายที่แก้ไขของวุฒิสภา จึงตั้งกรรมาธิการร่วมสองสภา 22 คน พิจารณากฎหมายอีกครั้งและได้พิจารณาแล้วเสร็จ 9 ม.ค. 56 ซึ่งสิ่งที่น่า จับตาว่าจะมีการตัดตอนกลไกการคุ้มครองผู้บริโภค ก็คือความพยายามในการลดหรือตัดตอนบทบาทของคณะกรรมการองค์การอิสระฯทั้ง ไม่ให้ตรวจสอบภาคเอกชน (ธุรกิจ) ยกตัวอย่าง แคลิฟอร์เนียฟิตเนส กรณีผิดประกศห้ามรับสมัครสมาชิกเกิน ๑ ปี แต่ทางแคลิฟอร์เนียเปิดรับสมัครสมาชิกตลอดชีพ
ประเด็นไม่ให้มีบทบาทในการเปิดเผยชื่อสินค้าหรือบริการที่ละเมิดสิทธิผู้บริโภค ซึ่งองค์การอิสระฯ ต้องเป็นหน่วยงานที่เข้าไปตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งกรรมาธิการไม่อยากให้ตรวจสอบภาคเอกชน ขณะที่หน่วยงานรัฐไม่สามารถฟ้องหน่วยงานของรัฐด้วยกันได้ แต่ในต่างประเทศ เช่น เวียดนาม อินโดนีเซีย หากสินค้าไม่ได้มาตรฐานนั้นเขาได้นำชื่อสินค้ามาเปิดเผยขึ้นเว็บไซต์ และไม่ให้มีบทบาทส่งเรื่องให้อัยการสูงสูดพิจารณาแต่งตั้งพนักงานฟ้องแทนผู้บริโภค จากข้อสังเกตคาดว่าร่างกฎหมายฉบับนี้จะไม่ผ่านสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งหากผ่านมาก็คิดว่าอาจไม่เป็นประโยชน์กับผู้บริโภคเท่าที่ควร”
นอกจากนี้ยังเชิญชวนประชาชน ปั่นจักยานรณรงค์ให้รัฐบาลผ่านร่างกฎหมายองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค "ปั่นจักรยาน ถีบกฎหมาย ม.61 องค์การอิสระเพื่อการคุ้มคร
นางรัศมี วิศทเวทย์ ในฐานะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชนกล่าวว่า องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคนั้น ทำให้มองเห็นปัญหาผู้บริโภคที่อยู่นอกกรอบ แต่สามารถเชื่อมโยงปัญหาต่างๆ เข้าด้วยกันเพื่อแก้ไขปัญหาได้
“กรณีอำนาจหน้าที่ขององค์การอิสระฯ เรื่องการฟ้องแทนประชาชนนั้นถือเป็นเรื่องที่สำคัญ และไม่ควรถูกตัดตอน เพราะอำนาจหน้าที่ของรัฐนั้น อย่าง สคบ. ถึงแม้จะมีอำนาจในการฟ้องแทนประชาชนได้ แต่กรณีนี้ประชาชาชนมีปัญหากับหน่วยงานรัฐ ก็จะฟ้องไม่ได้ และถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีกฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคที่ให้ประชาชนฟ้องเองได้แล้ว ก็ถือเป็นรายเคสไป ประชาชนเองก็ยังต้องไม่มีความรู้กระบวนการทางกฎหมาย การจะตัดตอนอำนาจหน้าที่จึงไม่ควร”
พร้อมทั้งกล่าวเสริมว่าการกำหนดงบประมาณต่อหัวประชาชน มีความสำคัญเพราะต้องเป็นอิสระจากรัฐบาล และการพิจารณามีการปรับใหม่จาก 5 บาทในชั้นการพิจารณาของวุฒิสภา กลับไปเหลือ 3 บาท ควรมีการพิจารณาเรื่องนี้ด้วย
“กรณีปัญหาแคลิฟอร์เนียว้าว ที่ยังไม่มีใครดูเรื่องสัญญามาตรฐานที่ไม่ทำให้เกิดปัญหาเหล่านี้ขึ้น ซึ่งหากมีองค์การอิสระฯคน่าจะเป็นประโยชน์และเป็นศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์ทุกเรื่องให้กับผู้บริโภคได้” นางรัศมี กล่าว
ด้านนายเฉลิมพงษ์ กลับดี ทนายอาสามูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวถึงกรณีการฟ้องรวมหมู่ แทนผู้บริโภค กรณีปัญหาเดียวกันและสร้างความเดือดร้อนในวงกว้างว่า การฟ้องรวมหมู่นั้นสำคัญมาก อย่างกรณีบ้านเอื้ออาทรซึ่งเป็นของการเคหะแห่งชาติ ก็จะฟ้องการเคหะฯไม่ได้ เพราะเป็นหน่วยงานของรัฐ การคงไว้ซึ่งหน้าที่ตามมาตรา 19 นั้นที่ให้ฟ้องแทนประชาชนนั้นสำคัญมาก
{gallery}action/law61/560129_action_law{/gallery}