คำเตือน

JFolder: :files: Path is not a folder. Path: /home/consumer/web/consumerthai.org/public_html/images/action/550905_saecc/

แจ้งให้ทราบ

There was a problem rendering your image gallery. Please make sure that the folder you are using in the Simple Image Gallery plugin tags exists and contains valid image files. The plugin could not locate the folder: images/action/550905_saecc/

สภาผู้บริโภคอาเซียน ประกาศปฏิญญา SEACC เรียกร้องยกเลิกใช้แร่ใยหิน

องค์กรผู้บริโภคอาเซียนเรียกร้องให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคอาเซียน และประเทศสมาชิกอาเซียนยกเลิกการใช้แร่ใยหินและขวดนมเด็กที่มีสารบีพีเอเป็นส่วนประกอบเป็นการด่วน และสนับสนุนให้ประเทศไทยมี พรบ. องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคทันที

 วันที่ 5 ก.ย.55 สภาผู้บริโภคอาเซียน ได้ประกาศ ปฏิญญา SEACC กรุงเทพฯ 2555 เรียกร้องให้เกิดความร่วมมือในการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคร่วมกันของรัฐบาลในอาเซียน เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรผู้บริโภค ตัวแทนองค์กรผู้บริโภคต่างยืนยันที่จะร่วมมือกันคุ้มครองผลประโยชน์ ของผู้บริโภคในทุกภาคส่วน และเป็นตัวแทนของผู้บริโภคในกระบวนการตัดสินใจในเรื่องมาตรการและนโยบายที่มีผลกระทบต่อผู้บริโภคในอาเซียนให้มีมาตรฐานเดียวกัน

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมสภาผู้บริโภคอาเซียน ขึ้นวันที่วันที่ 4 -5  กันยายน พ.ศ.2555 ณ โรงแรมเอเชีย  ในหัวข้อ “เมื่อความเสี่ยงไม่ใช่ชะตากรรม: ความจำเป็นในการสร้างความเข้มแข็งผู้บริโภคในประขาคมอาเซียน”โดยมีผู้แทนองค์กรผู้บริโภคอาเซียนที่เข้าร่วมประชุม 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ซึ่งเป็นการประขุมคู่ขนานกับการประชุม คณะกรรมการประสานงานการประขุมคุ้มครองผู้บริโภคอาเซียน ซึ่งได้จัดขึ้นที่กรุงเทพเช่นกัน

การประชุมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วม 75คน ได้ร่วมกันหารือเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคในประเด็นสำคัญๆ และสถานการณ์ในภูมิภาคอาเซียน เกี่ยวกับจัดการปัญหาสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่ไม่ปลอดภัยและเป็นอันตราย รวมถึงมาตรการทางนโยบายในการรับเรื่องร้องเรียนและกลไกการชดเชยเยียวยา และความเกี่ยวข้องเกี่ยวกับข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียน-อียู

รศ.ดร. จิราพร ลิ้มปานานนท์ ประธานกรรมการอำนวยการสภาผู้บริโภคอาเซียน และประธานมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า ปฏิญญาสภาผู้บริโภคอาเซียน กรุงเทพฯ ๒๕๕๕ ตกลงกันในการร่วมกันแบนสินค้า แอสเบสตอสและ บีพีเอ เช่นเดียวกับที่สิงคโปร์และมาเลเซียได้แบนสำเร็จแล้ว โดยยืนยันให้มีมาตรการอัตโนมัติที่ประเทศหนึ่งแบนสินค้าใด ประเทศอื่นในอาเซียนต้องแบนสินค้านั้นทันที ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีในการร่วมมือกันในครั้งนี้

“การประชุมสภาอาเซียนผู้บริโภคนี้ ยังเป็นเวทีการแลกเปลี่ยนความรู้และความร่วมมือระหว่างกัน ดังเช่นที่ปฎิญญาได้ให้การสนับสนุนการเกิดขึ้นขององค์กรอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคในไทย   ที่น่าสนใจก็คือตัวแทนจากประเทศอินโดนีเซีย ได้ให้ความสนใจในประเด็นเรื่องข้อมูลผลกระทบ FTA ของไทย  และต้องการศึกษาผลกระทบในอินโดนีเซียเช่นกัน  ก็สามารถร่วมมือกันได้ เพื่อหาวิธีร่วมกันในการจัดการปัญหาในระดับอาเซียน ซึ่งเป็นกลไกที่เสริมสร้างความเข้มแข็งให้ผู้บริโภคอย่างเท่าเทียมกัน” ” รศ.ดร. จิราพรกล่าว

นางสาวอินดา  สุขมานิวซิงค์ ประธานกรรมการบริหารสภาผู้บริโภคอาเซียน กล่าวต่อว่า เมื่อค่ำวานนี้มีความยินดีที่ได้มีโอกาสพบตัวแทนรัฐบาลไทยซึ่งดูแลงานคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งตัวแทนรัฐบาลไทยได้ให้สัญญาณที่ดีในเรื่องที่จะทำงานร่วมกันเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ผู้บริโภคร่วมกัน  ไม่ว่าจะเกิดปัญหากับผู้บริโภคในประเทศไหนในภูมิภาคอาเซียน เราทุกคนควรมองว่าเป็นปัญหาร่วมกันไม่ใช่ของประเทศใดประเทศหนึ่ง

 

ด้านนายเซีย เซ็งชุน ผู้อำนวยการสมาคมผู้บริโภคแห่งสิงค์โปร์ กล่าวว่า ความร่วมมือระหว่างองค์กร สำคัญมาก
“งานประชุมนี้เราได้มีโอกาสแชร์ประสบการณ์ทำให้รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในประเทศไทย  ประเทศไหนบ้างอยากให้มีผู้บริโภคมาร่วมกันมากกว่านี้เวลาที่ออกไปให้ความรู้  ผู้บริโภคจะได้รู้ว่าพวกเขาพิทักษ์สิทธิ์ผู้บริโภคกันอย่างไร หรือได้รู้ว่ากฎหมายที่ออกมาเช่น LEMON LAW ของสิงคโปร์ เป็นกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองผู้บริโภคจากผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน” ผู้อำนวยการสมาคมผู้บริโภคแห่งสิงค์โปร์ กล่าว

 

นางสาวโมฮานา ปรียา สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคมาเลเซีย กล่าวเสริมว่าเราจะมีการประสานงานระหว่างหน่วยงานรัฐและแลกเปลี่ยนเรื่องการตัดสินใจของหน่วยงานรัฐซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจต่างๆ เพื่อให้เกิดความเท่าทันในการเท่าทันปัญหาได้อย่างทันสถานการณ์

 

 

 

 

ปฏิญญาสภาผู้บริโภคอาเซียน กรุงเทพฯ 2555 ขึ้นในประกาศระบุว่า

 เราซึ่งเป็นกลุ่มทำงานเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ขอประกาศว่า

 1.ขณะนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องร่วมกันทำงานกับรัฐบาลในอาเซียน เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรผู้บริโภคในภูมิภาคนี้ และก่อตั้งองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระในทุกประเทศของอาเซียน ซึ่งขณะนี้บางประเทศยังไม่มี และจะเกิดขึ้นได้ด้วยการสนับสนุนจากคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคอาเซียน (ACCP)

2.ให้ความสำคัญกับความร่วมมือและการประสานงานระหว่างรัฐบาลของประเทศในอาเซียน ทั้งในระดับชาติและระดับภูมิภาค

3.พวกเราสนับสนุนให้ปรับปรุงการประสานงานและทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน องค์กรของรัฐในแต่ละประเทศอาเซียน

4.เรายืนยันที่จะร่วมมือกันคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้บริโภคในทุกภาคส่วน และเราจะไปเป็นตัวแทนของผู้บริโภคในขบวนการตัดสินใจเรื่องมาตรการและนโยบายที่มีผลกระทบต่อผู้บริโภคในอาเซียน

5.เราจะร่วมมือกันในการพัฒนา โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพของกลไกการรับเรื่องร้องเรียนและชดเชยเยียวยา

เราขอเสนอการปฏิบัติการดังต่อไปนี้

1.ให้ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนในการจัดการและกำจัดสินค้าที่เป็นอันตรายและไม่ปลอดภัยออกไปจากประเทศ เช่น การสั่งห้ามใช้วัสดุแอสเบสตอล และ บิสฟีนอล เอ (Bisphenol A หรือ BPA)ในผลิตภัณฑ์ขวดนมเด็ก ซึ่งห้ามใช้ในประเทศสิงคโปร์และมาเลเซียแล้ว

2.ให้มีการปรับปรุงมาตรฐานการคุ้มครองผู้บริโภคจากผลิตภัณฑ์อันตราย และกฎเกณฑ์ที่ใกล้เคียงกันกันในการคุ้มครองผู้บริโภคของภูมิภาคอาเซียน และเราขอเสนอให้มีการปรับปรุงมาตรฐานและกฎระเบียบที่ใกล้เคียงกันเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค โดยหากประเทศใดประเทศหนึ่งในอาเซียน ได้สั่งยกเลิกการใช้สินค้าและผลิตภัณฑ์อันตรายชนิดใด ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง ๑๐ ประเทศต้องยกเลิกการใช้สินค้าและผลิตภัณฑ์อันตรายนั้นเช่นเดียวกันโดยอัตโนมัติ เพื่อป้องกันมิให้ประเทศสมาชิก กลายเป็นที่รองรับสินค้าและผลิตภัณฑ์อันตรายเหล่านั้น

3.การทำข้อตกลงการค้าเสรีระดับทวิภาคี จะต้องไม่ให้เกิดทริปส์พลัส และไม่นำสินค้าที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น เหล้าและบุหรี่ มาเป็นสินค้าในการเจรจา โดยให้คำนึงถึงการคุกคามและความไม่สมดุลย์ของข้อตกลงเขตการค้าเสรี

บรรยากาศในการประชุม

{gallery}action/550905_saecc/{/gallery}

พิมพ์ อีเมล

บทความใกล้เคียงกัน