วันที่ 15 มีนาคม 2555 ซึ่ง ถือเป็นวันสิทธิผู้บริโภคสากล มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และนักวิชาการ เรียกร้องให้รัฐบาล เร่งออกกฎหมายองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค (มาตรา 61)ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ปี 2550 พร้อมเสนอแนะรัฐบาลควรปรับดอกเบี้ยบัตรเครดิตให้เหลือร้อยละ15 และทำให้ระบบบริการการเงินการธนาคารเป็นธรรมทั้งระบบ พร้อมเร่งออกกฎหมายทวงหนี้ที่เป็นธรรม และหน่วยงานด้านการเงินต้องให้ความสำคัญกับการคุ้มครองผู้บริโภคและสนับสนุน ให้มีมาตรการที่เป็นประโยชน์กับการคุ้มครองผู้บริโภค
นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับนโยบายภาครัฐในการแก้ไขปัญหาความไม่เป็นธรรมเกี่ยว กับดอกเบี้ยบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล จากผลการศึกษาในงานวิจัยพบปัญหาสำคัญของผู้บริโภคจากการใช้บัตรเครดิตและสิน เชื่อส่วนบุคคล 3 ประเด็น ดังนี้1. การคิดอัตราดอกเบี้ยที่สูงเกินไปและสูงกว่าธนาคารพาณิชย์ถึง 3 เท่าจากการวิจัยพบว่า การคำนวณอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร มีอัตราสูงกว่าหลักเกณฑ์ที่ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด และสูงมากกว่าอัตราเงินกู้ที่มีหลักทรัพย์ถึง 3 เท่า โดยธนาคารแห่งประเทศไทยชี้แจงเหตุผลในการให้เรียกเก็บดอกเบี้ยหนี้บัตรเครดิตในอัตรารวมไม่เกิน 20% ต่อปีว่า เพื่อเป็นการชดเชยกับความเสี่ยงที่สูงของลูกหนี้บัตรเครดิตซึ่งเป็นสินเชื่อ ที่ไม่มีหลักประกัน รวมไปถึงผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ข้อชี้แจงดังกล่าวถือเป็นการผลักภาระให้กับผู้บริโภคที่ต้องชดเชยความเสี่ยง ให้กับผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตด้วยดอกเบี้ยที่สูงเกินความจำเป็น โดยเมื่อเปรียบเทียบกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของของธนาคารพาณิชย์ อัตราดอกเบี้ยของบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลนั้นจึงสูงกว่าเป็นสามเท่า ตั
2. คนทวงหนี้ไม่ปฏิบัติตามแนวของธนาคารแห่งประเทศไทยใน ปัจจุบันมีเพียงแนวปฏิบัติในการติดตามทวงถามหนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทย จึงทำให้ไม่มีการควบคุมดูแลและบทลงโทษที่ชัดเจนแก่ผู้ประกอบธุรกิจบัตร เครดิตที่มีพฤติกรรมการติดตามทวงหนี้ที่ไม่เหมาะสมและสร้างความเดือดร้อนให้ กับผู้บริโภค
ดังนั้นรัฐบาลควรเร่งรีบออกพระราชบัญญัติการติดตามทวงถามหนี้อย่างเป็นธรรม พ.ศ. .... หรือมาตรการที่บังคับใช้ได้จริง และมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือกผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้ที่เหมาะสม และแจ้งลูกหนี้ให้รับทราบข้อมูลอย่างเพียงพอด้วย
3.ตั้งคณะทำงานทบทวนมาตรการการกำหนดดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียมต่างๆเพื่อสนับสนุนการมีส่วนร่วมของผู้บริโภค
ที่ผ่านการกำหนดนโยบาย มาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นการกำหนดโดยให้ความสำคัญกับภาคธุรกิจสมาคมธนาคารแห่งประเทศไทย หรือผู้ประกอบการบัตรเครดิตเป็นหลัก ทำให้นโยบายหรือมาตรการที่ออกมาจำนวนมากเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการแทบทั้งสิ้น เช่น การกำหนดอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิต ดอกเบี้ยเงินกู้เงินฝาก การเก็บค่าธรรมเนียมการการโอนเงิน การฝากเงิน การเก็บเงินจากการใช้บริการตู้เอทีเอ็ม ขอให้ธนาคารแห่งประเทศตั้งคณะทำงานจากทุกฝ่ายเพื่อทบทวนการดำเนินการเรื่องนี้อย่างเป็นระบบ โดยมีตัวแทนนักวิชาการที่ไม่มีส่วนได้เสีย องค์กรผู้บริโภค ชมรมหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล เป็นต้น
พร้อมกันนี้ เครือข่ายผู้บริโภค ยังได้จัดกิจกรรมรณรงค์แปลอักษร “World Consumer Rights Day ”รอบอนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิผู้บริโภคและชักชวนให้ผู้บริโภคหันมาตระหนักและสนใจในสิทธิรอบตัว เช่น การโดยสารรถสาธารณะอย่างไรให้ปลอดภัย ราคาดอกเบี้ยที่เป็นธรรม เป็นต้น โดยมีประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก