นักวิชาการแนะรัฐบาล ยืนยัน กฎหมายองค์การอิสระคุ้มครองผู้บริโภคตามมาตรา 61ขอแรง สส.สว. ที่เคยได้สนับสนุนมาแล้วอธิบาย ให้รัฐบาลเข้าใจสาระและเจตนารมย์รัฐธรรมนูญ
รศ.ดร. วิทยา กุลสมบูรณ์ ผู้จัดการแผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าว ว่า เป็นเรื่องดีที่รัฐบาลใหม่ได้ให้ความสำคัญกับการคุ้มครองผู้บริโภคในนโยบาย ด้านต่างๆ ทั้งเศรษฐกิจ สุขภาพ และ ความมั่นคงของชีวิต โดยที่รัฐธรรมนูญมาตรา 61 ระบุให้มีการจัดตั้งให้เสร็จสิ้นหลังการแถลงนโยบายรัฐบาลชุดแรกที่มีการ ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ เสนอให้รัฐบาลสนับสนุนเรื่องการจัดตั้งองค์การอิสระฯ เพื่อให้สอดคล้องกับที่มีการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ โดย รัฐบาลควรเร่งยืนยันกฏหมาย ร่าง พรบ. องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ที่ผ่านการรับรองจากการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรแล้ว และ กฎหมายนี้ประชาชนกว่าหมื่นคนได้ร่วมกันสนับสนุนและเสนอต่อสภาฯให้พิจารณา จึงควรให้ความสำคัญ
รศ.ดร.วิทยา กล่าวอีกว่าจากการศึกษาคำแถลงของคณะรัฐมนตรีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่แถลง ต่อรัฐสภา ในวันอังคารที่ 23 สิงหาคม 2554 พบว่ามีการพูดถึงเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคอยู่ 5 ด้าน ในด้านเศรษฐกิจ โครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาสุขภาพของประชาชน ความมั่นคงของชีวิตและสังคม และ การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีในภาคเอกชน โดยกล่าว ถึงการส่งเสริมและพัฒนาบทบาทขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครอง ผู้บริโภคทั้งภาครัฐและเอกชน การแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย มาตรการต่าง ๆเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้บริโภค การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ การส่งเสริมการคุ้มครองผู้บริโภคไม่ให้ถูกหลอกลวงเอารัดเอาเปรียบ และ การป้องกันการผูกขาดตัดตอนทั้งทางตรงและทางอ้อม
อย่างไร ก็ตามไม่พบว่ามีการระบุถึงการเร่งรัดการผลักดันให้เกิดองค์การอิสระ คุ้มครองผู้บริโภค ตามมาตรา 61 ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 แต่อย่างใด ทั้ง นี้ที่ผ่านมามีการระบุถึงในนโยบายของรัฐบาลชุดก่อนๆมาโดยตลอด หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 โดยรัฐธรรมนูญมาตรา 61 ระบุให้มีการจัดตั้งองค์การอิสระคุ้มครองผู้บริโภคให้เสร็จสิ้นหลังการแถลง นโยบายรัฐบาลชุดแรกที่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ซึ่งหากนับเวลาจากการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ก็เป็นเวลากว่าสี่ปีมาแล้ว ดัง นั้นเพื่อไม่ให้เป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญตามาตรา 61 รัฐบาลจึงควรเร่งยืนยันกฏหมาย ร่าง พ.ร.บ องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ที่ผ่านการรับรองจากการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรแล้ว และ อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวุฒิสภา เพื่อไม่ให้กฎหมายดังกล่าวตกไปโดยเสียเวลาเปล่าเและเพื่อให้เป็นไปตามที่รัฐ ธรรมนูญบัญญัติให้ดำเนินการให้เสร็จในหนึ่งปีภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550
อนึ่ง สส สว จำนวนมากของพรรครัฐบาลและฝ่ายค้านปัจจุบันได้เคยโหวตสนับสนุนร่างกฎหมายฉบับ บนี้มาแล้ว จึงไม่มีเหตุผลที่จะทำให้กฎหมายนี้ล่าช้าออกไป แต่น่าจะช่วยกันทำความเข้าใจร่วมกีบรัฐบาลถึงสาระและเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญ ที่กล่าวถึงกฏหมายนี้