บริการสุขภาพ

นักกฎหมายระบุร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ เป็นประโยชน์ทั้งแพทย์-ผู้ป่วย

Consumerthai  นักกฎหมาย ระบุร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ เป็นประโยชน์ทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ช่วยลดการฟ้องร้อง ไกล่เกลี่ยได้ แต่ยังมีความก้ำกึ่งในส่วนอายุความที่ฟ้องร้องได้ภายใน 3 ปี ซึ่งขัดกับประมวลกฎหมายแพ่งที่ให้ฟ้องร้องได้ภายใน 1 ปี
18 ส.ค - ศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) จัดงาน เสวนา เรื่อง "สาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ....  นำโดย นางจันทิมา ธนาสว่างกุล ผู้แทนจากสำนักงานอัยการสูงสุด (อสส.) กล่าวว่า ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ทำให้แพทย์กลัว ซึ่งความจริงต้องทำความเข้าใจว่าความเสียหายทางการแพทย์ไม่ใช่ประมวลกฎหมาย อาญา เรื่องการละเมิดของคนใดคนหนึ่ง แต่ความเสียหายทางการแพทย์ที่เกิดจากการบริการสาธารณสุขมีความหมายครอบคลุม วงกว้างถึงแพทย์และพยาบาล เจ้าหน้าที่ ระบบบริหารจัดการของโรงพยาบาล ระบบการส่งต่อผู้ป่วย รวมถึงระบบบัตรประกันสุขภาพ ต้องยอมรับว่าเกิดความผิดพลาดได้ในทุกขั้นตอน ขณะที่การฟ้องร้องจะทำให้เกิดผลเสียและไม่ใช่ทางออกที่ดีระหว่างความ สัมพันธ์แพทย์กับผู้ป่วย เชื่อว่ากลไกของร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ช่วยลดการฟ้องร้องได้ สอดคล้องกับกระบวนการยุติธรรมในปัจจุบันที่แนวโน้มมุ่งสู่การไกล่เกลี่ยเป็น หลัก

ด้านนายวันชัย สอนศิริ เลขาธิการสภาทนายความ กล่าวว่า ในฐานะที่เป็นทนายความมานานกว่า 30 ปี เห็นว่าร่างกฎหมายฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ โดยเฉพาะแพทย์จะได้ประโยชน์มาก ช่วยลดการฟ้องร้อง ต้องการให้แพทย์ปรับทัศนคติเรื่องการถูกฟ้องร้อง ยอมรับว่าทุกคนทุกวงการมีสิทธิผิดพลาดได้ ถูกฟ้องร้องได้ พร้อมกันนี้ยังกล่าวถึงความขัดแย้งในร่างกฎหมายดังกล่าว เรื่องสัดส่วนคณะกรรมการ ซึ่งทางแพทย์บางกลุ่มท้วงว่าไม่มีผู้เชี่ยวชาญนั้น มองว่าเท่าที่ดูสัดส่วนคณะกรรมการด้านต่าง ๆ มีความเหมาะสมอยู่แล้ว โดยเฉพาะเรื่องการพิจารณาที่ไม่ต้องมีการพิสูจน์ถูกผิด แต่ให้มองประเด็นความเสียหายที่ผู้รับบริการได้รับ

รศ.สุดา วิศรุตพิชญ์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ร่างกฎหมายฉบับนี้ยังมีความก้ำกึ่งในส่วนของอายุความที่สามารถฟ้องร้องได้ ภายใน 3 ปี ซึ่งยังไม่ชัดเจนเพราะประมวลกฎหมายแพ่งระบุว่าให้ฟ้องร้องได้ภายใน 1 ปี รวมถึงกรอบอำนาจของคณะกรรมการ ซึ่งร่างกฎหมายนี้กำหนดอำนาจให้คณะกรรมการเป็นคนกำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไขต่าง ๆ กว้างเกินไป ไม่ระบุชัดเจนทำให้มีข้อกังวล แต่หลักกฎหมายโดยรวมทั่วไปเห็นว่ามีความเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน





เอกสารประกอบงานเสวนาวิชาการ
สาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ.
วันพุธที่ 18 สิงหาคม 2553 ณ ห้องประชุม 222 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


นายธเนตร บัวแย้ม นักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญ
(ด้านคุ้มครองผู้บริโภคด้านบริการสุขภาพ) กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
ดาวโหลด File ที่นี่ค่ะ

ดร. นนทวัชร์ นวตระกูลพิสุทธิ์  คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดาวโหลด File ที่นี่ค่ะ

อัยการจันทิมา ธนาสว่างกุล
ดาวโหลด File ที่นี่ค่ะ

พิมพ์ อีเมล

บทความใกล้เคียงกัน