บริการสุขภาพ

ความเป็นมาของร่างพรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธาณสุข พ.ศ. ..

๑.ปัญหาพื้นฐาน ปัญหาดั้งเดิม ในระบบสาธารสุข ที่ ผู้รักษามีน้อย หน่วยบริการไม่พร้อม ผู้รับบริการมาก และการไปกระจุกตัวที่หน่วยบริการระดับใหญ่ ทั้งผู้ให้และผู้รับบริการ ซึ่งทำให้ เกิดความผิดพลาดได้ ง่าย ได้มากขึ้น

๒.ใน อดีต ก่อนมี พรบ. หลักประกันสุขภาพ ฯ เมื่อผู้ป่วย ได้รับความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข และไม่ได้รับ ความช่วยเหลือจาก หมอ หรือ โรงพยาบาล ผู้ป่วยมักจะเงียบ หรือ มีจำนวนหนึ่ง ไปขอรับความเป็นธรรมจาก ศาล ซึ่งจะพบว่า เป็นความยากลำบากมากที่จะพิสูจน์ ความถูกผิดท ี่เกิดขึ้น และสร้าง ความยุ่งยากให้กับ ทั้ง หมอและผู้ป่วย

๓.ดังนั้น ใน พรบ.หลักประกันสุขภาพฯ จึงได้นำปัญหานี้ ไป แก้ไข โดยกำหนดไว้ ใน ม.๔๑ ที่ให้มีกรรมการ เพื่อพิจารณา จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ในกรณีที่ได้รับความเสียหายจากการรับบริการโดยไม่ต้องพิสูจน์ ว่าใครผิด ใครถูก ขอให้ เป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรับบริการ และไม่ได้เกิดจากสาเหตุความเจ็บป่วยที่เป็นปกติ ของโรคนั้นๆ และในการนี้ ทางระบบหลักประกันสุขภาพ จัดสรร งบประมาณไว้ ๑% ของกองทุน ไว้จ่ายแทน หมอ แทนหน่วยบริการ

๔.แต่ ม.๔๑ นี้ จะคุ้มครองเฉพาะประชาชนที่อยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพเท่านั้น ดังนั้นประชาชนที่อยู่ใน ระบบหลักประกันสังคม ในระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการและครอบครัว หรือ ประชาชนที่จ่ายค่ารักษาพยาบาลเอง เมื่อเกิดปัญหาขึ้น จะไม่มีระบบใดๆ มาช่วยรับผิดชอบ และ หมอ หรือหน่วยบริการนั้นๆ ก็ต้องเป็นผู้รับความเสี่ยง ที่ต้องจ่ายค่าเสียหาย หรือ ค่าช่วยเหลือเบื้องต้น ด้วยตัวหมอ หรือ โรงพยาบาล

๕.ในช่วงปี พ.ศ.๒๕๕๐ มีกลุ่มประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากบริการสาธารณสุข กลุ่มองค์กรผู้บริโภค กลุ่มผู้ป่วยฯ และองค์กรพัฒนาเอกชน ได้ปรึกษาหารือกัน และพยายามร่าง พรบ.ฉบับนี้ขึ้นโดยได้ประสานความร่วมมือกับ รมต.สธ.ในปีนั้น ซึ่ง คือ คุณหมอ มงคล ณ สงขลา จึงเป็นที่มา ที่อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้เสนอให้มีการตั้งคณะทำงานยกร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข โดยมีนพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข เป็นประธาน และมีองค์ประกอบจากนักวิชาการ แพทยสภา กองประกอบโรคศิลปะ ตัวแทนผู้เสียหาย องค์กรผู้บริโภค และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีหลักการสำคัญ ๓ ประการ คือ ๑.การชดเชยความเสียหายจากบริการสาธารณสุขโดยไม่พิสูจน์ถูกผิด ๒.การลดการฟ้องฟ้องระหว่างแพทย์และคนไข้ และ๓.การนำความเสียหายที่เกิดขึ้นปรับปรุงระบบบริการสาธารณสุข

๖.หลังจากนั้น คณะทำงานร่วม ขอย้ำประกอบไปด้วยตัวแทนทุกภาคส่วนได้ทำงานร่วมกัน ในชั้น กฤษฏีกา แก้ไข ข้อความและสาระสำคัญ ของ กม.และมีข้อตกลง ร่วมกัน ออกมาเป็นร่าง ฉบับ ที่อยู่ในระหว่างรอเข้าสมัยประชุมสภา

นิมิตร์ เทียนอุดม  :: เครือข่ายผู้ติดเชื้อ

พิมพ์ อีเมล

บทความใกล้เคียงกัน