บริการสุขภาพ

ทำไมต้องมีกฎหมายฉบับนี้


1. ในอดีตก่อนมีพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เมื่อผู้ป่วยได้รับความเสียหายจาการรับบริการสาธารณสุขและไมได้รับความช่วยเหลือจากหมอหรือโรงพยาบาล ผู้ป่วยมักจะเงียบ หรือมีจำนวนหนึ่งซึ่งน้อยมากไปขอรับความเป็นธรรมจากศาล ซึ่งพบว่ามีความยากลำบากในการพิสูจน์ความถูกความผิดที่เกิดขึ้น



2. ดังนั้นในพ.ร.บ. หลักประกันจึงได้นำปัญหานี้ไปแก้ไขโดยกำหนดไว้ในมาตรา ๔๑ให้มีการกันเงินไว้ไม่น้อยร้อยละ ๑ ไว้จ่ายแทนแพทย์และหน่วยบริการ เพื่อช่วยเหลือเบื้องต้นผู้ที่ได้รับความเสียหายจากบริการสาธารณสุข ที่ไม่ได้เกิดจากพยาธิสภาพของโรคนั้น ๆ ไม่ต้องมีการพิสูจน์ถูกผิด และครอบคลุมเหตุสุดวิสัยทางการแพทย์ โดยมีคณะกรรมการไม่เกิน 7 คน ประกอบด้วยผู้แทนผู้ให้บริการและผู้รับบริการในสัดส่วนที่เท่ากัน และผู้ทรงคุณวุฒิ ในการพิจารณาจ่ายเงินในระดับจังหวัด ปีที่ผ่านมามีผู้ขอรับการช่วยเหลือเพียง ๘๑๐ ราย และเข้าข่ายต้องช่วยเหลือจำนวน ๖๖๐ รายใช้เงินไปประมาณ ๗๓ ล้านบาทโดยมีผู้ใช้บริการในหน่วยบริการประมาณ ๒๐๐ ล้านครั้ง

3. แต่กลไกการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ตามมาตรา ๔๑ ของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ครอบคลุมเฉพาะคนไข้บัตรทองประมาณ ๔๗ ล้านคน ดังนั้นประชาชน 16 ล้านคนยังไม่มีระบบใดๆ รองรับ เมื่อเกิดปัญหาแพทย์หรือหน่วยบริการนั้นก็ต้องเป็นผู้รับความเสี่ยงต้องจ่ายค่าเสียหายหรือค่าช่วยเหลือเบื้องต้น ด้วยแพทย์ หรือโรงพยาบาล

4.. ความขัดแย้งของแพทย์และคนไข้มีเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งมีสาเหตุหลายประการ อทิเช่น ระบบความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ได้ถูกเปลี่ยนแปลงเป็นระบบสิทธิขึ้นพื้นฐานในการเข้าถึงบริการสาธารณสุข การแพทย์สาธารณสุขที่เป็นการค้ามากขึ้น การพัฒนาคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ระบบทุนนิยม และบทบาทของสื่อมวลชน เป็นต้น โดยมีสถิติการฟ้องร้องคดีแพ่งต่อศาลในช่วงปี ๒๕๓๙-๒๕๕๑ จำนวน ๗๖ คดี และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปีในปัจจุบัน

5.. ในปี ๒๕๕๐ กลุ่มประชาชนผู้ได้รับความเสยหายทางการแพทย์ กลุ่มองค์กรผู้บริโภค กลุ่มผู้ป่วยและองค์กรพัฒนาเอกชน ได้ปรึกษาหารือกัน และประสานความร่วมมือกับนพ.มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในสมัยนั้น จึงเป็นที่มาที่อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้เสนอให้มีการตั้งคณะทำงานยกร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข โดยมีนพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข เป็นประธาน และมีองค์ประกอบจากนักวิชาการ แพทยสภา กองประกอบโรคศิลปะ ตัวแทนผู้เสียหาย องค์กรผู้บริโภค และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีหลักการสำคัญ 3 ประการ คือ การชดเชยความเสียหายจากบริการสาธารณสุขโดยไม่พิสูจน์ถูกผิด การลดการฟ้องฟ้องระหว่างแพทย์และคนไข้ และการนำความเสียหายที่เกิดขึ้นปรับปรุงระบบบริการสาธารณสุข และกระทรวงสาธารณสุขได้ปรับปรุงเป็นร่างกฎหมายฉบับกระทรวงสาธารณสุข และจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากแพทยสภาและผู้ประกอบวิชาชีพไม่น้อยกว่า 300 คน โดยกลุ่มประชาชนผู้เสนอกฎหมายคัดค้านการรับฟังความคิดเห็นในครั้งนั้น เพื่อนำร่างเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี

6.. คณะรัฐมนตรีรับหลักการ และได้ส่งต่อให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาและจัดทำเป็นกฎหมายของรัฐบาล ตลอดขั้นตอนในคณะกรรมการ มีตัวแทนทุกภาคส่วน ทั้งจากกองประกอบโรคศิลปะ แพทยสภา แพทยสมาคม สมาคมคลินิกเอกชน ตัวแทนผู้เสียหาย องค์กรผู้บริโภค ผู้ทรงคุณวุฒิและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้านร่วมกันพิจารณาจนได้เป็นร่างของคณะรัฐมนตรีที่รอการพิจารณาในสมัยประชุมนิติบัญญัตินี้

7.. นอกจากนี้ ตัวแทนผู้ป่วย องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรผู้บริโภค ได้เข้าพบนายกรัฐมนตรีเพื่อให้มีการจัดตั้งกองทุนชั่วคราวในการชดเชยความเสียหาย โดยนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้จัดทำข้อมูลรายละเอียด ว่า จะใช้งบประมาณในการดำเนินการจำนวนเท่าใด ซึ่งปัจจุบันได้มีการเสนอข้อมูลให้นายกรัฐมนตรีเป็นที่เรียบร้อย

 

ความคืบหน้าของกฎหมายฉบับนี้
๑.ปัจจุบันมีกฎหมายทั้งหมด ๗ ฉบับที่ถูกเสนอและรอการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรวาระที่ 1
- ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. .... (คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ) [1]
- ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. .... (นายเจริญ จรรย์โกมล กับคณะ เป็นผู้เสนอ) [2]

- ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. .... (นายประสิทธิ์  ชัยวิรัตนะ กับคณะ เป็นผู้เสนอ) [3]
- ร่างพระราชบัญญัติสร้างเสริมความสัมพันธ์ในระบบบริการสาธารณสุข พ.ศ. .... (นายบรรพต  ต้นธีรวงศ์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ) [4]
- ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ให้บริการและผู้รับบริการสาธารณสุข พ.ศ. .... (นางอุดมลักษณ์ เพ็งนรพัฒน์  กับคณะ เป็นผู้เสนอ) [5]
- ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ....(นายสุทัศน์  เงินหมื่น กับคณะ เป็นผู้เสนอ) [6]
- ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. .... (นางสาวสารี อ๋องสมหวัง  กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน ๑๐,๖๓๑คน เป็นผู้เสนอ) [7]

 

 [1] ดูรายละเอียดที่ http://library2.parliament.go.th/giventake/content_hr/d051253-05.pdf
 [2] ดูรายละเอียดที่ http://library2.parliament.go.th/giventake/content_hr/d051253-08.pdf
 [3] ดูรายละเอียดที่ http://library2.parliament.go.th/giventake/content_hr/d051253-09.pdf
 [4] ดูรายละเอียดที่ http://library2.parliament.go.th/giventake/content_hr/d051253-10.pdf
 [5] ดูรายละเอียดที่ http://library2.parliament.go.th/giventake/content_hr/d051253-11.pdf
 [6] ดูรายละเอียดที่ http://library2.parliament.go.th/giventake/content_hr/d051253-12.pdf
 [7] ดูรายละเอียดที่ http://library2.parliament.go.th/giventake/content_hr/d051253-13.pdf

 

 ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. .... (นายประสิทธิ์  ชัยวิรัตนะ กับคณะ เป็นผู้เสนอ) [3]
 ร่างพระราชบัญญัติสร้างเสริมความสัมพันธ์ในระบบบริการสาธารณสุข พ.ศ. .... (นายบรรพต  ต้นธีรวงศ์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ) [4]
 ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ให้บริการและผู้รับบริการสาธารณสุข พ.ศ. .... (นางอุดมลักษณ์ เพ็งนรพัฒน์  กับคณะ เป็นผู้เสนอ) [5]
 ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ....(นายสุทัศน์  เงินหมื่น กับคณะ เป็นผู้เสนอ) [6]
  ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. .... (นางสาวสารี อ๋องสมหวัง  กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน ๑๐,๖๓๑คน เป็นผู้เสนอ) [7]

พิมพ์ อีเมล

บทความใกล้เคียงกัน