ภาคประชาชนเน้น สาระในกฎหมายหลายมาตรา ทำให้เป็นเหตุฟ้องแพทย์เพิ่มขึ้น ขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายเดิม พร้อมเรียกร้องแพทย์ให้ทบทวนการนัดหยุดงาน เพราะจะทำให้แพทย์ที่ไม่หยุดงานทำงานหนักเพิ่มขึ้นและหยุดใช้คนไข้เป็นตัวประกัน
23 ก.ย.เครือข่ายภาคประชาชนและศูนย์กฎหมายสุขภาพ และจริยศาสตร์คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดเวทีวิพากษ์ (ร่าง) กฎหมายคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากระบบบริการสาธารณสุข พ.ศ. ....วันที่ 23 ณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งที่ประชุมได้ข้อสรุปว่ากฎหมายฉบับนี้ยังมีจุดอ่อนอีกหลายประการ เช่น
1.กฎหมายให้มีการพิสูจน์ถูกผิดของผู้ให้บริการตามมาตรา 9 และ มาตรา 10 ขณะที่ร่างกฎหมายของรัฐบาลและฉบับประชาชนยึดหลักการไม่พิสูจน์ถูกผิดของผู้ให้บริการ แต่เน้นการพิสูจน์ว่ามีความเสียหายจริงหรือไม่จากการรับบริการ แต่สอดคล้องตรงกันเรื่องไม่หาผู้กระทำผิด
2.สัดส่วนของคณะกรรมการคุ้มครอง ฯ ไม่เป็นธรรม ตามมาตรา 12 มาตรา 16 และมาตรา 49 ทั้งที่แพทย์เรียกร้องเรื่องสัดส่วนที่ไม่เป็นธรรมจากร่างรัฐบาล แต่ร่างของตนเองกลับมีสัดส่วนที่ไม่เป็นธรรมเช่นเดียวกัน
3.กฎหมายฉบับนี้ไม่รวมถึงผู้ป่วยที่ได้รับความเสียหายจากโรงพยาบาลเอกชน ทั้งที่ปัจจุบันระบบสวัสดิการข้าราชการอนุญาตให้ข้าราชการรับบริการจากโรงพยาบาลเอกชน รวมทั้งไม่เก็บเงินจากโรงพยาบาลเอกชน (มาตรา 26) เนื่องจากอ้างเหตุไม่รวมโรงพยาบาลเอกชน
4.มาตรา 24 ให้มีการกันเงินจากกองทุนร้อยละ 10 สนับสนุนสภาวิชาชีพในการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาความปลอดภัย ซึ่งน่าจะเข้าข่ายการใช้เงินที่ผิดวัตถุประสงค์ของกองทุน
5.อายุความของการใช้สิทธิตามกฎหมาย มาตรา 29 ขัดต่อพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2550 ทำให้ผู้บริโภคถูกตัดสิทธิตามกฎหมาย และเป็นเหตุในการนำคดีมาฟ้องร้องได้ ซึ่งจะไม่ลดคดีฟ้องร้องทางการแพทย์ น่าจะขัดต่อตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่จะช่วยลดการฟ้องร้อง
6.กฎหมายฉบับนี้ไม่มีหลักของความรับผิดในการกรณีที่ไม่มีผู้กระทำผิด ไม่มีระบบ No Fault Liability ดังนั้นมาตรา 10 วรรค 2 ที่ไม่มีการจ่ายเยียวยาความเสียหายในกรณีมีผลกระทบซึ่งให้บริการสาธารณสุขตามวิชาชีพ เช่น ผ่าตัดเลาะผังผืดในท้องแล้วโดนท่อไต ไม่ถูกพิจารณาว่ามีความเสียหายทั้งที่มีความเสียหายแต่ไม่มีผู้กระทำผิดมาตรฐาน เป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ เพราะมีความเสียหายจริง แต่เข้าข่ายการให้บริการที่ได้มาตรฐานแล้วไม่มีการเยียวยา ซึ่งแพทยสภาและเครือข่ายประชาชนเห็นสอดคล้องกันในเรื่องนี้ ว่า มีความเสียหายแต่ไม่มีผู้กระทำผิด
7.ชั้นอำนาจของคณะกรรมการ และการกำหนดให้นายกรัฐมนตรีเข้ามาร่วมดำเนินการในการจ่ายเงิน ตามมาตรา 31 ในกรณีพิจารณาไม่แล้วเสร็จ
8.ประชาชนได้รับความเป็นธรรมจากกฎหมายฉบับนี้น้อย เช่นประชาชนไม่มีสิทธิมารับเงินจากกองทุนนี้หากไปฟ้องคดี เมื่อหมอถูกฟ้องเป็นจำเลยเมื่อมีคำพิพากษาให้กองทุนรับภาระแทนได้ เป็นต้น
23 ก.ย.เครือข่ายภาคประชาชนและศูนย์กฎหมายสุขภาพ และจริยศาสตร์คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดเวทีวิพากษ์ (ร่าง) กฎหมายคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากระบบบริการสาธารณสุข พ.ศ. ....วันที่ 23 ณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งที่ประชุมได้ข้อสรุปว่ากฎหมายฉบับนี้ยังมีจุดอ่อนอีกหลายประการ เช่น
1.กฎหมายให้มีการพิสูจน์ถูกผิดของผู้ให้บริการตามมาตรา 9 และ มาตรา 10 ขณะที่ร่างกฎหมายของรัฐบาลและฉบับประชาชนยึดหลักการไม่พิสูจน์ถูกผิดของผู้ให้บริการ แต่เน้นการพิสูจน์ว่ามีความเสียหายจริงหรือไม่จากการรับบริการ แต่สอดคล้องตรงกันเรื่องไม่หาผู้กระทำผิด
2.สัดส่วนของคณะกรรมการคุ้มครอง ฯ ไม่เป็นธรรม ตามมาตรา 12 มาตรา 16 และมาตรา 49 ทั้งที่แพทย์เรียกร้องเรื่องสัดส่วนที่ไม่เป็นธรรมจากร่างรัฐบาล แต่ร่างของตนเองกลับมีสัดส่วนที่ไม่เป็นธรรมเช่นเดียวกัน
3.กฎหมายฉบับนี้ไม่รวมถึงผู้ป่วยที่ได้รับความเสียหายจากโรงพยาบาลเอกชน ทั้งที่ปัจจุบันระบบสวัสดิการข้าราชการอนุญาตให้ข้าราชการรับบริการจากโรงพยาบาลเอกชน รวมทั้งไม่เก็บเงินจากโรงพยาบาลเอกชน (มาตรา 26) เนื่องจากอ้างเหตุไม่รวมโรงพยาบาลเอกชน
4.มาตรา 24 ให้มีการกันเงินจากกองทุนร้อยละ 10 สนับสนุนสภาวิชาชีพในการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาความปลอดภัย ซึ่งน่าจะเข้าข่ายการใช้เงินที่ผิดวัตถุประสงค์ของกองทุน
5.อายุความของการใช้สิทธิตามกฎหมาย มาตรา 29 ขัดต่อพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2550 ทำให้ผู้บริโภคถูกตัดสิทธิตามกฎหมาย และเป็นเหตุในการนำคดีมาฟ้องร้องได้ ซึ่งจะไม่ลดคดีฟ้องร้องทางการแพทย์ น่าจะขัดต่อตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่จะช่วยลดการฟ้องร้อง
6.กฎหมายฉบับนี้ไม่มีหลักของความรับผิดในการกรณีที่ไม่มีผู้กระทำผิด ไม่มีระบบ No Fault Liability ดังนั้นมาตรา 10 วรรค 2 ที่ไม่มีการจ่ายเยียวยาความเสียหายในกรณีมีผลกระทบซึ่งให้บริการสาธารณสุขตามวิชาชีพ เช่น ผ่าตัดเลาะผังผืดในท้องแล้วโดนท่อไต ไม่ถูกพิจารณาว่ามีความเสียหายทั้งที่มีความเสียหายแต่ไม่มีผู้กระทำผิดมาตรฐาน เป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ เพราะมีความเสียหายจริง แต่เข้าข่ายการให้บริการที่ได้มาตรฐานแล้วไม่มีการเยียวยา ซึ่งแพทยสภาและเครือข่ายประชาชนเห็นสอดคล้องกันในเรื่องนี้ ว่า มีความเสียหายแต่ไม่มีผู้กระทำผิด
7.ชั้นอำนาจของคณะกรรมการ และการกำหนดให้นายกรัฐมนตรีเข้ามาร่วมดำเนินการในการจ่ายเงิน ตามมาตรา 31 ในกรณีพิจารณาไม่แล้วเสร็จ
8.ประชาชนได้รับความเป็นธรรมจากกฎหมายฉบับนี้น้อย เช่นประชาชนไม่มีสิทธิมารับเงินจากกองทุนนี้หากไปฟ้องคดี เมื่อหมอถูกฟ้องเป็นจำเลยเมื่อมีคำพิพากษาให้กองทุนรับภาระแทนได้ เป็นต้น
ขณะที่ ศ.นพ.วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์ ได้ชี้ว่า กฎหมายฉบับนี้ดูเป็นกฎหมายเฉพาะกลุ่ม ซึ่งขัดต่อหลักกฎหมายที่จะต้องบังคับใช้กับทุกคน และยกเว้นความรับผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญาให้กับผู้ประกอบวิชาชีพ และให้อำนาจสภาวิชาชีพเหนืออำนาจของประชาชน(อำนาจของรัฐมนตรี) และให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนน้อย มีช่องโหว่ของกฎหมายหลายแห่ง เช่น ไม่มีนิยามความหมายของคำว่า รัฐมนตรี การนำเงินร้อยละ 10 ไปให้สภาวิชาชีพ
นายไพศาล ลิ้มสถิตย์ กฎหมายฉบับนี้ยอมรับระบบ No Fault Liability โดยใช้ระบบ No Blame และกฎหมายอาจจะขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 30 การยกเว้นการดำเนินคดีแพ่งและคดีอาญา สามารถกระทำได้หรือไม่ การใช้จ่ายเงินกองทุนผิดวัตถุประสงค์หรือไม่
ดร.ยุพดี ศิริสินสุข กล่าวว่า กฎหมายฉบับนี้สิ่งที่สำคัญอาจจะไม่ช่วยลดคดีฟ้องร้อง เนื่องจากอายุความไม่สอดคล้องกับกฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค การผูกยึดความเสียหายกับมาตรฐานวิชาชีพจะไม่ทำให้ลดคดีความ สำนักงานเป็นหน่วยงานใดแน่เนื่องจากกฎหมายเขียนไม่สอดคล้องกัน และดูเหมือนจะคุ้มครองแพทย์มากกว่าคนไข้
นายไพศาล ลิ้มสถิตย์ กฎหมายฉบับนี้ยอมรับระบบ No Fault Liability โดยใช้ระบบ No Blame และกฎหมายอาจจะขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 30 การยกเว้นการดำเนินคดีแพ่งและคดีอาญา สามารถกระทำได้หรือไม่ การใช้จ่ายเงินกองทุนผิดวัตถุประสงค์หรือไม่
ดร.ยุพดี ศิริสินสุข กล่าวว่า กฎหมายฉบับนี้สิ่งที่สำคัญอาจจะไม่ช่วยลดคดีฟ้องร้อง เนื่องจากอายุความไม่สอดคล้องกับกฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค การผูกยึดความเสียหายกับมาตรฐานวิชาชีพจะไม่ทำให้ลดคดีความ สำนักงานเป็นหน่วยงานใดแน่เนื่องจากกฎหมายเขียนไม่สอดคล้องกัน และดูเหมือนจะคุ้มครองแพทย์มากกว่าคนไข้