มีผู้ส่วนเสวนา 4 ท่านคือ 1. นายสาคร กระจาย ผู้แทนสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม 2. ภญ.ชโลม เกตจินดา ที่ปรึกษาเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคใต้ 3. นายแพทย์จำรัส สรพิพัฒน์ ที่ปรึกษาเครือข่ายความร่วมมือฯ 4. อาจารย์กาจ ดิษฐาพิชัย ผู้แทนองค์กรชุมชนภาคประชาชนจังหวัดพัทลุงณ ห้องประชุมอรัญดา โรมแรมวัฒนาพาร์ค อ.เมือง จ.ตรัง ดำเนินรายการ โดยคุณประพาส โรจนภิทักษ์ คุณสาคร กระจาย ผู้แทนสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม นำคุยเป็นมาเรื่องของสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคเป็นมาอย่างไร โดยอาศัยกฎหมายมาตรา 41 องค์กรนี้เป็นตามกฎหมายมาตรา 41 และการจัดตั้ง กทช. องค์การอิสระเพื่อผู้บริโภค เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2547 องค์กรที่ร่วมผลักดัน คือ องค์กรคุ้มครองผู้บริโภค และเครือข่ายผู้บริโภคทั่วประเทศ ยกร่าง และรับฟังความเห็นโดยมีความเป็นอิสระเต็มที่ เป็นที่มาของการรับฟังความเห็นจากผู้บริโภคในภูมิภาคต่าง ๆ ดังนี้
1. กลไกผู้บริโภคมีความเข้มแข็ง
2. จัดตั้งศูนย์คุ้มครองผู้บริโภค เพื่อรับเรื่องราวร้องเรียน
3. สนับสนุนงานวิจัยด้านคุ้มครองผู้บริโภค
4. เรื่องผลักดันนโยบาย
อาจารย์กาจ ดิษฐาภิชัย ผู้แทนองค์กรชุมชนภาคประชาชนจังหวัดพัทลุง ที่ผ่านมาการดำเนินงานภาคประชาชนปัญหามีทุกเรื่อง และไม่สามารถที่จะรองรับปัญหาของสังคมไทยได้ สบท. เป็นองค์กรจากหน่วยงานรัฐ ซึ่งเกิดขึ้นจากผลักดันภาคประชาชนโดยส่วนใหญ่ เป็นแนวทาง มีช่องทางในการผลักดันขององค์กรอิสระที่ผลักดันเข้าสู่รัฐสภา ความตื่นตัวของภาคประชาชน ยุคการสื่อสารการโทรคมนาคมนับซึ่งถือว่าเป็นยุคที่ 4 หรือที่เรียกว่ายุค IT ปัญหาการซ้อนทับของยุค IT นี้ กลายเป็นการเข้าสู่ยุคบริโภคนิยม ยุคกระแสนิยม และด้วยกระแสโลกาภิวัตน์ ความเสรีในการบริโภค ทำให้ลูกหลานไม่เห็นภัยของการบริโภค กลายเป็นเรื่องที่ถูกละเมิดสิทธิ์ในหลายๆด้าน ผู้ประกอบด้านอาชีพนี้ร่ำรวยเป็นหมื่นล้าน แสนล้าน และยังสามารถตีกรอบให้รัฐออกกฎหมายเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มทุน จึงเป็นที่มาของให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม และเรียนรู้อย่างเข้าใจ
นายแพทย์จำรัส สรพิพัฒน์ ที่ปรึกษาเครือข่ายความร่วมมือฯ โดยส่วนตัวที่ใช้เครื่องมือสื่อสารที่ใช้อยู่จนกลายเป็นความเคยชิน และไม่รู้ว่ามีผลกระทบอย่างไร เป็นเรื่องที่ต้องพิสูจน์และต้องเป็นเรื่องที่ต้องยืนยันต่อไป การมองปัญหาเหล่านี้บางครั้งเทียบเคียงกับปัญหาด้านอื่นๆ บางครั้งคนไทยส่วนใหญ่ตกอยู่ในภาวะจำยอม ในส่วนใหญ่การเจ็บป่วยเป็นการรู้สึกที่ทุกข์ร้อนอย่างเด่นชัด และรู้สึกแปลกใจว่ามีองค์กรการคุ้มครองในด้านนี้ แต่ก็นับว่าเป็นอีกแนวคิดหนึ่ง ที่สามารถคุ้มครองสิทธิ์ต่อผู้บริโภค การจะให้ผู้คนตระหนักในเรื่องนี้ ต้องมีการกระตุ้นในเรื่องของแนวคิด มีการสื่อสารพอสมควร หลายสิ่งหลายอย่างเป็นเรื่องของความไม่รู้ แต่ก็ค่อย ๆ เรียนรู้ ความเคยชินกลายเป็นความจำยอมหรือบางคนกลับคิดว่ามันคงเป็นชะตากรรมของตนเอง ในแง่ของผู้บริโภคในการพิทักษ์สิทธิ์เรื่องของความรู้เป็นเรื่องที่สำคัญ เป็นสิทธิพึงมีพึงได้ การสื่อสารเป็นปัจจัยหรือส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน ในบทบาทของผู้บริโภคควรจะทำคือ การกระจายข้อมูลความรู้ผู้บริโภค มีศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ สุดท้ายในระหว่างผู้บริโภคกับผู้ให้บริการมีแนวโน้มกังวลว่าเป็นการจ้องจับ ผิดหรือเตรียมฟ้องร้องกันหรือเปล่า ถ้าเปิดใจกว้าง ในการสื่อสารถือว่าเป็นเรื่องหนึ่งที่จำเป็น สื่อสารให้เข้าใจในรายละเอียดมีความเข้าใจแบบสมานฉันฑ์ นับเป็นสิ่งที่ดีและขอฝากไว้เพียงแต่นี้
ภญ.ชโลม เกตุจินดา ที่ปรึกษาเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคใต้ โดยหลักคิดผู้บริโภค คือ การบริโภคอย่างคุ้มค่า ให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม ผู้บริโภคต้องการใช้สิทธิ์ในการปกป้องสิทธิ์ของผู้คน กรณี การวางเสาสัญญาณโทรศัพท์ด้วยความต้องการสื่อสารที่ดี อยากได้คลื่น แต่ไม่เข้าใจและเรียนรู้อย่างเท่าทัน หลายเรื่องต้องเป็นความเข้าใจของชุมชน มีส่วนร่วม และคนทำงานผู้บริโภคต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องเหล่านี้ งานคุ้มครองผู้บริโภคการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่สำคัญมาก หลายเรื่องที่ต้องได้รับการแก้ไขในเชิงนโยบาย ออกมาตรฐานสัญญาที่เหมือนๆ กัน โดยสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค แต่กลับพบว่ากลไกหน่วยงานรัฐไม่สามารถทำงานได้ทุกเรื่อง กลไกภาคประชาชนจำเป็นที่จะต้องขับเคลื่อนและจัดตั้งขึ้น เพื่อขับเคลื่อนเรื่องราวร้องทุกข์ต่างๆ เช่น ข้อตกลงการทำสัญญาผ่านโทรศัพท์ องค์กรผู้บริโภคเป็นการทำงานเพื่ออุดช่องโหว่ ต้องการปัญหาเพื่อมองเห็นได้ว่าปัญหาใดมากที่สุด ผู้ผลักดันคือ เครือข่ายผู้บริโภคในพื้นที่ องค์กรอิสระผู้บริโภคผลักดันสนับสนุนงบประมาณ 5 บาทต่อรายประชากร หลายเรื่องเป็นกระบวนการทดลองและเรียนรู้ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพประชาชน ผลักดันให้เกิดงานคุ้มครองผู้บริโภค เคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง มองทิศทางข้างหน้า การใส่ใจสิ่งแวดล้อม การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ไม่ใช่เพราะเพียงแต่อยากรู้ แต่เรื่องความรู้เป็นสิ่งจำเป็น ทำอย่างไรให้เรื่องของสิทธิที่พูดได้ การเก็บข้อมูลเพื่อแก้ปัญหาได้