8 เครือข่ายองค์กรสุขภาพ ร้อง ' คสช.' ปลด 'บอร์ด-ผอ.องค์การเภสัช' อ้างส่อทุจริต บริหารองค์กรไม่เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล
เมื่อเวลา 10.30 น. ตัวแทน 8 เครือข่ายองค์กรสุขภาพ ประกอบด้วย ชมรมแพทย์ชนบท ชมรมเภสัชชนบท กลุ่มศึกษาปัญหายา กลุ่มคนรักหลักประกันฯ เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี ประเทศไทยสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค มูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนาและมูลนิธิเภสัชชนบท นำโดย นพ.วชิระ บถพิบูลย์ เข้ายื่นหนังสือต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล เพื่อขอให้พิจารณาปลดคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม (บอร์ด อภ.) และผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม (ผอ.อภ.) ที่มี นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เป็นประธาน และมี นพ.สุวัช เซียศิริวัฒนา เป็นผู้อำนวยการ
โดยนพ.วชิระ กล่าวว่า ในการยื่นเรื่องต่อคสช.ครั้งนี้ สืบเนื่องจากเห็นว่า การบริหารองค์การฯ ผิดหลักธรรมาภิบาล จนเกิดวิกฤตด้านยา และมีพฤติกรรมส่อว่า จะดำเนินการให้องค์การเภสัขอ่อนแอ เพื่อประโยชน์ของธุรกิจยาข้ามชาติ มุ่งหาประโยชน์จากองค์การเภสัช และบริหารงานอย่างผิดหลักธรรมาภิบาล นอกจากนี้ นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นคณะกรรมการบอร์ด จะต้องร่วมรับผิดชอบด้วย โดยจะต้องปลดให้พ้นจากบอร์ดและไม่ควรได้รับความไว้วางใจให้กลับเข้ามาเป็นผู้แก้ปัญหาหรือเข้ามาเป็นกรรมการบอร์ดอีก
ด้านภญ.ศิริพร จิตรประสิทธิศิริ ตัวแทนจากชมรมเภสัชชนบท กล่าวว่า ขณะนี้โรงพยาบาลในต่างจังหวัดจำนวนมากเผชิญภาวะขาดยา เพราะองค์การเภสัช ไม่สามารถส่งยาให้ลูกค้าได้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรงพยาบาลของรัฐถึง 80 รายการ
" การที่ ผอ.และบอร์ดหวังที่จะแก้ปัญหาภาวะขาดทุนด้วยการงดผลิดตยาจำเป็น เช่น เบาหวาน ซึ่งเป็นผู้ผลิตส่งให้โรงพยาบาลต่าง ๆ ของรัฐกว่า 80 % ของที่ใช้กับคนไข้ทั้งประเทศด้วยเหตุผลว่า กำไรน้อย ทั้งที่พันธกิจของ อภ.ต่อสังคมต้องไม่มุ่งเอากำไรมาก เพื่อให้โรงพยาบาลรัฐ ซึ่งใช้เงินภาษีประชาชนซื้อยาอย่างมีประสิทธิภาพ แต่เมื่อ อภ.ไม่ทำตามพันธกิจ ผู้เดือดร้อนก็อยู่ที่ประชาชน " ภญ.ศิริพร กล่าว
นอกจากนี้ พบว่าการก่อสร้างโรงงานยาที่รังสิตและโรงงานวัคซีนที่อ.ทับกวาง จ.สระบุรี ได้ดำเนินการอย่างล่าข้าและพบว่าอาจมีการส่อทุจริต โดยเอื้อประโยชน์แก่บริษัทที่เคยมีการยกเลิกสัญญาไปแล้วและดำเนินการไม่เป็นตามกำหนดเวลา
ขณะที่นายอภิวัฒน์ กวางแก้ว เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี ประเทศไทย ระบุว่าองค์การเภสัชขาดส่งยาไปยังกองทุนยาต้านไวรัสกว่า 400 ล้านบาท ซึ่งมีแนวโน้มว่าหากไม่มีการแก้ปัญหาต่อไปคนไข้ก็อาจขาดยา
เมื่อเวลา 10.30 น. ตัวแทน 8 เครือข่ายองค์กรสุขภาพ ประกอบด้วย ชมรมแพทย์ชนบท ชมรมเภสัชชนบท กลุ่มศึกษาปัญหายา กลุ่มคนรักหลักประกันฯ เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี ประเทศไทยสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค มูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนาและมูลนิธิเภสัชชนบท นำโดย นพ.วชิระ บถพิบูลย์ เข้ายื่นหนังสือต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล เพื่อขอให้พิจารณาปลดคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม (บอร์ด อภ.) และผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม (ผอ.อภ.) ที่มี นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เป็นประธาน และมี นพ.สุวัช เซียศิริวัฒนา เป็นผู้อำนวยการ
โดยนพ.วชิระ กล่าวว่า ในการยื่นเรื่องต่อคสช.ครั้งนี้ สืบเนื่องจากเห็นว่า การบริหารองค์การฯ ผิดหลักธรรมาภิบาล จนเกิดวิกฤตด้านยา และมีพฤติกรรมส่อว่า จะดำเนินการให้องค์การเภสัขอ่อนแอ เพื่อประโยชน์ของธุรกิจยาข้ามชาติ มุ่งหาประโยชน์จากองค์การเภสัช และบริหารงานอย่างผิดหลักธรรมาภิบาล นอกจากนี้ นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นคณะกรรมการบอร์ด จะต้องร่วมรับผิดชอบด้วย โดยจะต้องปลดให้พ้นจากบอร์ดและไม่ควรได้รับความไว้วางใจให้กลับเข้ามาเป็นผู้แก้ปัญหาหรือเข้ามาเป็นกรรมการบอร์ดอีก
ด้านภญ.ศิริพร จิตรประสิทธิศิริ ตัวแทนจากชมรมเภสัชชนบท กล่าวว่า ขณะนี้โรงพยาบาลในต่างจังหวัดจำนวนมากเผชิญภาวะขาดยา เพราะองค์การเภสัช ไม่สามารถส่งยาให้ลูกค้าได้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรงพยาบาลของรัฐถึง 80 รายการ
" การที่ ผอ.และบอร์ดหวังที่จะแก้ปัญหาภาวะขาดทุนด้วยการงดผลิดตยาจำเป็น เช่น เบาหวาน ซึ่งเป็นผู้ผลิตส่งให้โรงพยาบาลต่าง ๆ ของรัฐกว่า 80 % ของที่ใช้กับคนไข้ทั้งประเทศด้วยเหตุผลว่า กำไรน้อย ทั้งที่พันธกิจของ อภ.ต่อสังคมต้องไม่มุ่งเอากำไรมาก เพื่อให้โรงพยาบาลรัฐ ซึ่งใช้เงินภาษีประชาชนซื้อยาอย่างมีประสิทธิภาพ แต่เมื่อ อภ.ไม่ทำตามพันธกิจ ผู้เดือดร้อนก็อยู่ที่ประชาชน " ภญ.ศิริพร กล่าว
นอกจากนี้ พบว่าการก่อสร้างโรงงานยาที่รังสิตและโรงงานวัคซีนที่อ.ทับกวาง จ.สระบุรี ได้ดำเนินการอย่างล่าข้าและพบว่าอาจมีการส่อทุจริต โดยเอื้อประโยชน์แก่บริษัทที่เคยมีการยกเลิกสัญญาไปแล้วและดำเนินการไม่เป็นตามกำหนดเวลา
ขณะที่นายอภิวัฒน์ กวางแก้ว เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี ประเทศไทย ระบุว่าองค์การเภสัชขาดส่งยาไปยังกองทุนยาต้านไวรัสกว่า 400 ล้านบาท ซึ่งมีแนวโน้มว่าหากไม่มีการแก้ปัญหาต่อไปคนไข้ก็อาจขาดยา
ที่มา : เดลินิวส์ วันจันทร์ 7 กรกฎาคม 2557 เวลา 11:59 น.