วันที่ 10 ก.พ. ศ.คลินิก นพ.อำนาจ กุสลานันท์ นายกแพทยสภา กล่าวภายหลังการสัมมนาระดมความคิดเห็นและขอรายชื่อสนับสนุนเพื่อเสนอร่าง แก้ไข พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.... ว่า พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค เป็นกฎหมายที่ให้โอกาสผู้บริโภคในการฟ้องร้องคดีที่ได้รับความเสียหายได้ อย่างง่าย เช่น ฟ้องร้องด้วยวาจาไม่ต้องตั้งทนายความ โดยสามารถขอให้ศาลมีเจ้าหน้าที่เขียนคำร้องได้เลยและไม่ต้องมีเงินวางศาล นอกจากนี้ศาลยังสามารถพิพากษาโทษเกินจากที่ผู้เสียหายฟ้องร้องได้ ที่สำคัญที่สุดคือภาระการพิสูจน์จะเป็นของผู้ถูกฟ้อง รายละเอียดที่กล่าวมานั้นเหมาะที่จะใช้กับการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคเท่า นั้น แต่การประกอบวิชาชีพเวชกรรมไม่ได้เป็นเรื่องทางการค้า เป็นการบริการทางการแพทย์ที่ผู้ปฏิบัติงานด้านนี้ต้องมีจริยธรรมแห่งวิชาชีพ เป็นตัวขับเคลื่อน ซึ่งแตกต่างจากบริการด้านอื่นๆ
นายกแพทยสภา กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมาเคยมีการเสนอร่างแก้ไข พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความผู้บริโภค โดย ส.ส. 20 คน แต่อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎรสมัยรัฐบาลชุดที่แล้ว แต่ตกไปเพราะการยุบสภา แพทยสภาจึงเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่จะร่วมกันเสนอแก้ไข พ.ร.บ.ฉบับนี้ ซึ่งร่างแก้ไขที่เราจัดทำขึ้นมามีสาระสำคัญคือ ในการฟ้องร้องคดี มิให้หมายรวมถึงคดีแพ่งที่เกี่ยวกับการบริการสาธารณสุข เพราะการนำบริการทางสาธารณสุขไปรวมกับกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภคอีก ย่อมเกิดความซ้ำซ้อนไม่ตรงตามเจตนารมณ์ของการบริการสาธารณสุข ดังนั้นแพทยสภาและประชาชนจะร่วมกันลงชื่อ 1 หมื่นรายชื่อเพื่อเสนอร่างแก้ไข พ.ร.บ.นี้ต่อไป ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่าเราจะปิดกั้นการฟ้องร้องแพทย์ เพราะยังสามารถฟ้องร้องได้ แต่ผู้ประกอบวิชาชีพมีความรู้สึกว่าเราไม่ใช่เรื่องการบริโภค ไม่อย่างนั้นผลกระทบจะมาตกอยู่ที่ประชาชน เพราะความรู้สึกระหว่างแพทย์กับประชาชนจะกลายเป็นผู้บริโภคและผู้ บริการ หลังมี พ.ร.บ.นี้มา 4 ปี กระทรวงสาธารณสุขถูกฟ้องร้องแล้วกว่า 60 คดี ซึ่งเป็นสถิติที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อคิดจากจำนวนแพทย์สังกัดกระทรวงสาธารณสุขที่มีอยู่ประมาณ 28% ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการทำงานแพทย์เพราะกลัวการรักษาคนไข้
ด้าน น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า การที่แพทย์สภาออกมาทำเรื่องนี้ก็เป็นสิทธิที่สามารถทำได้ แต่ไม่อยากให้แพทยสภามองว่าเรื่องนี้เป็นปัญหา ที่จริงแล้วเป็นวิธีที่จะช่วยยกระดับวิชาชีพ ซึ่งเราก็อยากเห็นแพทยสภาทำหน้าที่เพื่อยกระดับวงการแพทย์ไม่ใช่เอาแต่ปก ป้องกันแอง ดังนั้นอยากให้แพทยสภาทบทวนบทบาทการทำงานของตัวเอง และทบทวนสัดส่วนของกรรมการแพทยสภา เราก็คิดเหมือนกันว่าอยากล่ารายชื่อประชาชน 1 หมื่นรายชื่อเพื่อกดดันให้แพทยสภาปฏิรูปตัวเองโดยเปิดโอกาสให้มีคนนอกเข้ามา ร่วมเป็นกรรมการด้วย