อย.เดินหน้าคุมเข้มการโฆษณา หวังกำจัดพวกชอบ อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง แฉจาก 100% ของการดำเนินคดีบริษัทขายตรง 80% เป็นการโอ้อวดประโยชน์โอเวอร์ เผยผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางน่าห่วง เพราะปัจจุบันปลอมกันเยอะ
นายแพทย์พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. เปิดเผยกับสยามธุรกิจ ว่า ธุรกิจขายตรงในปัจจุบันส่วนใหญ่ มักมีการโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณ ที่เกิน ความจริง กว่า 80% ของการจับกุมการ กระทำผิดของเหล่าบริษัทขายตรงเหล่านี้ ซึ่งแต่ละบริษัทที่ถูกดำเนินคดี นั้น ไม่มีการจำกัดว่าเป็นบริษัทเล็ก หรือ ใหญ่เพียงใด ก็ยังมีการกระทำความผิด เกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง
เนื่องจากปัจจุบันบริษัทขายตรงส่วนใหญ่ เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่มักมีการอวดอ้าง สรรพคุณให้มีความเกินจริง เพื่อหวังให้ ผู้บริโภคมีความรู้สึกคล้อยตาม และตาม มาด้วยการตัดสินใจซื้อ ซึ่งส่วนใหญ่ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของธุรกิจขายตรง มักอวดอ้างสรรพคุณ ที่สามารถป้องกัน จนถึงสามารถรักษาโรคภัยต่างๆ จนเกินความเป็นไปได้ ในปีที่ผ่านมา มีการจับปรับ และยื่น ฟ้องดำเนินคดี เกี่ยวกับการโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณเกือบ 3 พันคดี โดยในส่วนการปรับนั้น อย. สามารถจัดการปรับได้ทันที ที่มีการตรวจพบ เพราะส่วนนี้เป็นเรื่องที่อย. สามารถสั่งปรับได้ทันที ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโฆษณาที่ยังไม่มีการขออนุญาต โดยเฉพาะตามหน้าหนังสือพิมพ์ หรือสื่อนิตยสาร ที่มักมีการลงโฆษณาที่ยังไม่มีการตรวจสอบ หรือยังไม่ผ่านอย.
โดย อย. ได้ตั้งทีมตรวจสอบหนังสือ พิมพ์ นิตยสาร เคเบิลทีวี และตามสื่อโทรทัศน์ วิทยุทั่วไป เพื่อตรวจสอบการโฆษณาต่างๆ เพราะฉะนั้นในเรื่องของการ ดำเนินคดี กับกลุ่มบริษัทที่เข้าข่ายโฆษณา เกินจริง ไม่ได้รับอนุญาต หรือโฆษณาเป็น เท็จ หากมีการตรวจพบ ก็จะมีการนำสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ที่มีการกล่าวถึงในโฆษณา นำมาตรวจสอบ
ซึ่งหากไม่มีส่วนผสม หรือประโยชน์ตามที่โฆษณาได้อวดอ้างไป ก็จะทำการจับกุม ข้อหาโฆษณาเกินความจริง และหาก ผลิตภัณฑ์นั้น มีการปนเปื้อนสารที่มีอันตราย ต่อผู้บริโภคด้วยแล้ว ก็จะเพิ่มความผิดให้มีความรุนแรงยิ่งขึ้น
จากที่ผ่านมาที่มีการจับปรับเหล่าบริษัทเหล่านี้ ส่วนใหญ่เป็นคดีที่ไม่หนัก เพราะส่วนใหญ่จะเป็นในเรื่องของการโฆษณาอวดอ้าง ที่มีโทษปรับที่ไม่หนัก โทษ ปรับของการโฆษณาอวดอ้างจะอยู่ที่หลักพัน ซึ่งเมื่อเทียบกับกำไรที่บริษัทเหล่านี้ได้รับในแต่ละปีนั้น ถือว่าเป็นโทษที่ค่อนข้าง น้อย เพราะกำไรที่เหล่าบริษัทเหล่านี้ได้รับ มักอยู่ในหลักไม่ต่ำกว่า 50 ล้านกันทั้งนั้น บางบริษัทอาจมีกำไรอยู่ในหลักพันล้านเลย ทีเดียว
โฆษณาแต่ละตัวก่อนที่จะออกอากาศได้นั้น ต้องมีการนำสตอรี่บอร์ดที่แสดงเนื้อหาของโฆษณาตัวนั้นๆ ให้ทาง อย.ตรวจสอบ ซึ่งจะมีฝ่ายตรวจสอบของ อย.โดยเฉพาะ และหากมีจุดใดที่อาจต้องปรับเปลี่ยน หรือเข้าข่ายการอวดอ้าง ทาง อย.ก็จะให้บริษัทนั้นๆ ทำการแก้ไขให้มีความถูกต้องยิ่งขึ้น
แต่ถึงแม้ว่า จะมีการตรวจสอบอย่าง เข้มงวด แต่ก็ยังมีการตรวจพบการอวดอ้าง อยู่เช่นเดิม ซึ่งจากการสำรวจพบว่า การอวดอ้างมักมาในรูปแบบการเล่าปากต่อปาก ถึงสรรพคุณป้องกันรักษา โดยเหล่านักขายของแต่ละบริษัท ที่มักอวดอ้างสรรพคุณเกินความเป็นจริง โดยนักขายเหล่านี้จะคิดแต่เพียงขอให้ขายสินค้าให้ได้มากๆ เพื่อจะได้มีเงินปันผลที่สูง โดยไม่คำนึงถึงสิ่งที่จะตามมา
็ซึ่งหากมีการตรวจสอบกันจริงๆ ใน เรื่องของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเหล่านี้ จะพบว่า บางตัวเป็นผลิตภัณฑ์ที่แทบไม่มีส่วนผสมที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายเลยด้วยซ้ำ ซึ่งบางตัวอาจมีแต่ก็มีในปริมาณที่น้อยกว่าคำพูดที่อวดอ้างออกไป ซ้ำร้ายบางผลิตภัณฑ์ยังมีการใส่สารที่ปนเปื้อน และเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคิ เลขาฯ อย. เผย
นอกเหนือจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร แล้ว ยังมีเหล่าสินค้าเครื่องสำอางที่มักมีการอวดอ้างสรรพคุณ รวมถึงผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่มักมีการปลอมแปลง ซึ่งเป็นเรื่องยากสำหรับการตรวจสอบ เพราะสินค้าเหล่านี้ ไม่ได้ขึ้นตรงกับทางอย. โดยตรง เนื่องจากอย. จะมีหน้าที่ โดยตรงกับผลิตภัณฑ์อาหารและยา
ส่วนเครื่องสำอางนั้นจะขึ้นตรงกับ สคบ. ซึ่งหากอย.ตรวจพบการกระทำผิดก็จะต้องส่งเรื่องไปที่ สคบ. หลังจากนั้นสคบ. ก็จะเป็นผู้ทำการตรวจสอบการกระทำผิด แต่ในเรื่องของข้อกฎหมายในการเอาผิดกับบริษัทเหล่านี้ ยังเป็นปัญหาอยู่ เพราะกฎหมายยังไม่มีความรุนแรงพอ จึงยังทำให้ เหล่าบริษัทต่างๆ ยังคงหาวิธีการอวดอ้างอยู่อย่างต่อเนื่อง
อีกทั้งยังมีในเรื่องของผลิตภัณฑ์ ที่มักอ้างสรรพคุณแก้ไขในเรื่องของการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ซึ่งเป็นผลิต ภัณฑ์ที่ยังได้รับความนิยมในการอวดอ้างสรรพคุณ เพราะผู้บริโภคมักไม่ต้องการที่จะซื้อ ในร้านขายยาที่ได้มาตรฐาน หรือปรึกษาแพทย์ เพราะอายที่จะพูดคุยในเรื่อง เหล่านี้ แต่มักไปซื้อกับร้าน หรือคนที่ไม่ใช่ เภสัชกร หรือร้านขายที่ไม่มีคุณภาพ และผลิตภัณฑ์เหล่านี้ เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความอันตราย หากไม่มีใบสั่งซื้อ หรือตัวผลิต ภัณฑ์ไม่มีมาตรฐานเพียงพอ
็อย. พยายามที่จะกำจัดเรื่องการโฆษณาอวดอ้างให้หมดไป แต่ว่าด้วยเรื่อง ของกฎหมายที่ยังไม่หนักพอ ในการกำราบ เรื่องเหล่านี้ อย.จึงพยายามที่จะผลักดัน ให้มีการปรับเปลี่ยนบทลงโทษให้รุนแรงมากขึ้น แต่การปรับเปลี่ยนในเรื่องของกฎหมายนั้น ต้องผ่านความเห็นจากหลาย ฝ่าย และต้องใช้เวลาในการแก้ไขมากพอสมควร ซึ่งอาจกินเวลา 5-10 ปี เลยทีเดียว แต่ตอนนี้เรื่องนี้ก็อยู่ในชั้นของกฤษฎีกา ซึ่งอาจใช้เวลาอีกประมาณ 2-3 ปี น่าจะเป็นรูปเป็นร่าง และสามารถบังคับใช้ได้ิ นายแพทย์พิพัฒน์ กล่าว
ฉบับที่ 1052 ประจำวันที่ 25-11-2009 ถึง 27-11-2009
นสพ.สยามธุรกิจ