ฉลาดซื้อเผยผลตรวจวิเคราะห์สารกันบูด น้ำตาล และโลหะหนัก ในชานมไข่มุก 25 ยี่ห้อ พบตัวอย่างเม็ดไข่มุกมีสารกันบูด 100% แต่ไม่เกินมาตรฐาน มีเพียง 2 ยี่ห้อ ที่น้ำตาลน้อยกว่าปริมาณที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ บางยี่ห้อสูงถึง 18 ช้อนชา
วันนี้ (11 กรกฎาคม 2562) ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค โดยโครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ สุ่มเก็บตัวอย่างชานมไข่มุกในเดือนพฤษภาคม 2562 จำนวน 25 ยี่ห้อ ขนาดแก้วปกติ แบบไม่ใส่น้ำแข็ง ที่มีราคาตั้งแต่แก้วละ 23 - 140 บาท ส่งตรวจวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ ได้แก่ ปริมาณพลังงาน น้ำตาล และไขมัน รวมถึงทดสอบหาโลหะหนักประเภทตะกั่ว และสารกันบูดในเม็ดไข่มุก
จากผลทดสอบพบว่า ยี่ห้อที่มีปริมาณน้ำตาลต่อแก้วน้อยที่สุด ได้แก่ ยี่ห้อ KOI Thé โดยมีปริมาณน้ำตาลเท่ากับ 16 กรัม (4 ช้อนชา) และยี่ห้อที่มีปริมาณน้ำตาลต่อแก้วมากที่สุด ได้แก่ ยี่ห้อ CoCo Fresh Tea & Juice มีปริมาณน้ำตาล 74 กรัม (18.5 ช้อนชา)
ขณะที่องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำปริมาณน้ำตาลที่ได้รับต่อวัน ไม่ควรเกิน 24 กรัม (6 ช้อนชา) และพบว่า มีเพียง 2 ยี่ห้อเท่านั้นที่มีปริมาณน้ำตาลน้อยกว่า 24 กรัม คือ ยี่ห้อ KOI Thé และ ยี่ห้อ TEA 65°
ลำดับ | ยี่ห้อชานมไข่มุก | ปริมาณต่อแก้ว (กรัม) * | คุณค่าทางโภชนาการ (หน่วย / น้ำหนักหนึ่งแก้ว) |
ราคาแก้วละ (บาท) |
|
ปริมาณน้ำตาล (g.) | ปริมาณน้ำตาล (ช้อนชา) *** (น้ำตาล 4 กรัม = 1 ช้อนชา) |
||||
1 | KOI Thé | 173 g. | 16 | 4 | 70.- |
2 | TEA 65° | 306 g. | 22 | 5.50 | 80.- |
3 | Brown Café & Eatery | 272 g. | 29 | 7.25 | 65.- |
4 | Fire Tiger by Seoulcial Club | 289 g. | 31 | 7.75 | 140.- |
5 | ATM | 280 g. | 32 | 8 | 65.- |
6 | Mister Donut | 255 g. | 33 | 8.25 | 35.- |
7 | Nobicha | 267 g. | 33 | 8.25 | 24.- |
8 | BRIX Desert Bar | 277 g. | 33 | 8.25 | 85.- |
9 | Mr.Shake | 306 g. | 36 | 9 | 55.- |
10 | The ALLEY | 412 g. | 36 | 9 | 110.- |
11 | Chamuku | 389 g. | 37 | 9.25 | 29.- |
12 | Nuu tea | 451 g. | 38 | 9.50 | 24.- |
13 | Monkey Shake | 393 g. | 39 | 9.75 | 35.- |
14 | Nomi Mono | 375 g. | 43 | 10.75 | 75.- |
15 | Crown Bubble | 452 g. | 43 | 10.75 | 50.- |
16 | JIN | 306 g. | 44 | 11 | 35.- |
17 | KAMU | 420 g. | 44 | 11 | 60.- |
18 | Tea Story | 428 g. | 46 | 11.50 | 60.- |
19 | DAKASI tea | 446 g. | 46 | 11.50 | 65.- |
20 | Fuku MATCHA | 445 g. | 47 | 11.75 | 50.- |
21 | Ochaya | 438 g. | 50 | 12.50 | 35.- |
22 | Cha…Ma | 341 g. | 59 | 14.75 | 23.- |
23 | Formosa | 450 g. | 65 | 16.25 | 40.- |
24 | MOMA’S Bubble Tea Bar | 404 g. | 68 | 17 | 24.- |
25 | CoCo Fresh Tea & Juice | 699 g. | 74 | 18.50 | 70.- |
หมายเหตุ: * ปริมาณน้ำหนักต่อแก้ว (กรัม) ของชานมไข่มุก เป็นขนาดแก้วปกติของแต่ละยี่ห้อ (ไม่รวมน้ำแข็ง)
ส่วนผลการทดสอบสารกันบูดประเภทกรดเบนโซอิก (Benzoic Acid) และกรดซอร์บิก (Sorbic Acid) ในเม็ดไข่มุก พบว่า ยี่ห้อที่มีปริมาณสารกันบูดน้อยที่สุด ได้แก่ ยี่ห้อ The ALLEY มีปริมาณกรดซอร์บิก เท่ากับ 58.39 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และยี่ห้อที่พบปริมาณสารกันบูดรวมมากที่สุด ได้แก่ ยี่ห้อ BRIX Desert Bar พบปริมาณกรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิกรวมกัน เท่ากับ 551.09 มิลลิกรัม/กิโลกรัม แต่ไม่เกินมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด ตามที่แสดงดังตารางต่อไปนี้
ลำดับ | ยี่ห้อชานมไข่มุก | สารกันบูด (mg/kg) | โลหะหนัก | ||
กรดเบนโซอิก | กรดซอร์บิก | รวม | ตะกั่ว | ||
1 | The ALLEY | - | 58.39 | 58.39 | - |
2 | Mister Donut | 34.44 | 27.02 | 61.46 | - |
3 | CoCo Fresh Tea & Juice | - | 62.55 | 62.55 | - |
4 | Nuu tea | 68.19 | 52.85 | 121.04 | - |
5 | ATM | 67.51 | 57.52 | 125.03 | - |
6 | MOMA’S Bubble Tea Bar | 68.64 | 57.42 | 126.06 | - |
7 | TEA 65° | 63.01 | 63.56 | 126.57 | - |
8 | Tea Story | 73.52 | 59.00 | 132.52 | - |
9 | Brown Café & Eatery | 77.69 | 67.87 | 145.56 | - |
10 | Fuku MATCHA | 88.93 | 59.52 | 148.45 | - |
11 | Mr.Shake | 82.82 | 66.11 | 148.93 | - |
12 | Formosa | 86.93 | 70.18 | 157.11 | - |
13 | Crown Bubble | 120.46 | 53.17 | 173.63 | - |
14 | KAMU | 104.30 | 73.33 | 177.63 | - |
15 | DAKASI tea | 122.03 | 55.81 | 177.84 | - |
16 | Nobicha | 95.10 | 95.94 | 191.04 | - |
17 | Cha…Ma | 111.73 | 90.71 | 202.44 | - |
18 | Nomi Mono | 112.86 | 93.64 | 206.50 | - |
19 | KOI Thé | - | 216.95 | 216.95 | - |
20 | Monkey Shake | 122.89 | 101.37 | 224.26 | - |
21 | JIN | 129.99 | 104.36 | 234.35 | - |
22 | Ochaya | 160.21 | 131.55 | 291.76 | - |
23 | Fire Tiger by Seoulcial Club | 152.04 | 186.71 | 338.75 | - |
24 | Chamuku | 221.07 | 292.41 | 513.48 | - |
25 | BRIX Desert Bar | 300.60 | 250.49 | 551.09 | - |
สำหรับผลทดสอบโลหะหนักในเม็ดไข่มุกทั้งหมด 25 ยี่ห้อ ทุกตัวอย่างไม่พบการปนเปื้อนของตะกั่ว
นางสาวสารี อ๋องสมหวัง บรรณาธิการบริหาร นิตยสารฉลาดซื้อ กล่าวว่า จากผลการทดสอบต้องการให้ผู้บริโภคได้ทราบว่า ชานมไข่มุกบางยี่ห้อ มีน้ำตาลมากเกือบ 19 ช้อนชา หากลองนึกภาพตามว่าน้ำตาลปริมาณ 19 ช้อนชานั้นมากมายขนาดไหน ก็จะทำให้ผู้บริโภคระมัดระวังการบริโภคได้มากขึ้น และทุกยี่ห้อมีสารกันบูด แต่ไม่มียี่ห้อไหนที่ให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภคเลย
นางสาวสารี กล่าวอีกว่า ฉลากสัญญาณไฟจราจรจะทำให้ผู้บริโภคทุกๆ คน ไม่ว่าจะเป็นเด็ก หรือผู้ใหญ่ได้ทราบถึงปริมาณของพลังงาน น้ำตาล ไขมัน และโซเดียมของผลิตภัณฑ์นั้นๆ ได้ ตัวอย่างเช่น หากเป็นผู้ที่มีปัญหาสุขภาพและทานโซเดียมมากไม่ได้ เมื่อเห็นสัญญาณไฟจราจรสีแดงตรงโซเดียมก็จะทำให้คนนั้นทราบและลดการทานผลิตภัณฑ์ดังกล่าวน้อยลงได้ จึงอยากฝากข้อเสนอไปถึงผู้ประกอบการให้มีการปรับปรุงหรือลดปริมาณสารอาหารให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ด้วยการปรับฉลากให้เป็นมิตรกับผู้บริโภค ดูแล้วเข้าใจได้ง่าย เพื่อทำให้ผู้บริโภคได้บริโภคผลิตภัณฑ์อาหารที่มีคุณภาพมากขึ้นในท้องตลาด อีกทั้งอยากให้มีการปรับลดขนาดปริมาณต่อแก้ว (Serving Size) ลงให้เหมาะสม เพื่อควบคุมไม่ให้ผู้บริโภคได้รับปริมาณพลังงานและน้ำตาลต่อแก้วสูงจนเกินไป เพราะเมื่อผู้บริโภคซื้อชานมไข่มุก ก็อาจบริโภคจนหมดแก้วเพราะความเสียดาย ทำให้พลังงานและน้ำตาลที่ได้รับในหนึ่งมื้อนั้นมากจนเกินความจำเป็น
“ในชานมไข่มุกนั้นมีสารกันบูด จึงขอให้ผู้ประกอบการระบุในฉลากให้ถูกต้อง ตามประกาศของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาด้วย และ อย. ควรเร่งผลักดันให้เกิดฉลากสัญญาณไฟจราจร เพื่อทำให้เกิดการปรับปรุงคุณภาพอาหารให้เป็นมิตรกับผู้บริโภคเพิ่มขึ้น และหวังว่าการให้ข้อมูลเรื่องชานมไข่มุกจะมีประโยชน์กับการตัดสินใจของผู้บริโภค” นางสาวสารีกล่าว
ส่วนนายพชร แกล้วกล้า นักวิชาการด้านอาหาร มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า ต้นแบบฉลากสัญญาณไฟจราจร หรือ ฉลากโภชนาการแบบจีดีเอ (Guidline Daily Amounts : GDA) หรือฉลากหวานมันเค็มมีที่มาจากประเทศอังกฤษ ได้เกือบ 20 ปีแล้ว โดยในอังกฤษเป็นการเริ่มทำแบบที่เรียกว่าฉลากสมัครใจ ต่อมาจึงเป็นฉลากแบบบังคับ จนถึงตอนนี้ซุปเปอร์มาร์เก็ตในทุกห้างทั่วประเทศอังกฤษมีการบังคับให้มีการติดฉลากแบบนี้ทั้งหมดแล้ว ฉลากดังกล่าวเป็นการแสดงปริมาณสารอาหาร 4 ช่อง แบ่งเป็น พลังงาน(กิโลแคลอรี) น้ำตาล(กรัม) ไขมัน(กรัม) และโซเดียม(มิลลิกรัม) ต่อหนึ่งหน่วยบรรจุภัณฑ์ (ถุง ซอง กล่อง) โดยจะแสดงฉลากด้านหน้าบรรจุภัณฑ์ เพื่อให้ผู้บริโภคเห็นได้ชัดเจนและอ่านได้ง่ายขึ้น เพื่อให้เห็นว่าหากทานหมดถุงแล้วจะเป็นอย่างไร แต่อย่างไรก็ตามจะเห็นว่าฉลากบนนี้ไม่ได้บอกให้ทราบว่าควรกินมากน้อยแค่ไหน เพียงแต่บอกปริมาณที่ทานว่ามีปริมาณเท่าไรเท่านั้น ตัวอย่างเช่น บอกว่าพลังงาน 900 กิโลแคลอรี น้ำตาล 30 กรัม ไขมัน 50 กรัม และโซเดียม 1,000 มิลลิกรัม คำถาม คือ ตัวเลขเหล่านี้เยอะหรือน้อย ซึ่งแต่ละคนให้ค่าตัวเลขเหล่านี้ไม่เท่ากัน เช่น 1,000 สำหรับบางคนอาจจะเยอะมากหรือสำหรับบางคนอาจจะเล็กน้อยก็ได้ ดังนั้น หากนำปริมาณสารอาหารเหล่านี้มาใส่เกณฑ์อาจจะเป็นเรื่องที่เข้าใจง่ายยิ่งขึ้นกว่าหรือไม่ กล่าวคือ นำสิ่งที่นักโภชนาการแนะนำว่าควรทานเท่าไรมาทำเกณฑ์สี ได้แก่ สีแดงจะอยู่ในปริมาณที่สูงเกินเกณฑ์ ควรหลีกเลี่ยงในการทานครั้งต่อไป สีเหลืองอยู่ระดับสูงแต่พอดีเกณฑ์ ควรระมัดระวังในการทานครั้งต่อไป หากเลี่ยงได้ก็ควรจะเลี่ยง และสีเขียวอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถรับประทานได้แต่ไม่ควรทานเกินสองครั้งต่อหนึ่งวัน มองว่าการทำฉลากสัญญาณไฟจราจรจะทำให้ฉลากสัญญาณไฟจราจรจะทำให้ผู้บริโภคทุกๆ คน ทราบถึงปริมาณของสารอาหารในผลิตภัณฑ์นั้นๆ ได้ และยังทำให้สามารถเลือกทานอาหารที่เหมาะกับตัวเองได้ง่ายยิ่งขึ้นอีกด้วย
ด้านทันตแพทย์หญิงมัณฑนา ฉวรรณกุล รองผู้จัดการโครงการฯ เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน กล่าวว่า ด้านปริมาณน้ำตาล องค์การอนามัยโลกแนะนำว่า ไม่ควรบริโภคน้ำตาลเกินวันละ 6 ช้อนชา (24 กรัม) โดยผลทดสอบชานมไข่มุก ยี่ห้อที่มีน้ำตาลน้อยสุด คือ 16 กรัม (4 ช้อนชา) และมากสุด คือ 74 กรัม (18.5 ช้อนชา) ซึ่งเกินกว่าปริมาณที่ควรได้รับถึง 3 เท่า และแม้เครื่องดื่มจะมีน้ำตาลน้อยกว่า 24 กรัม แต่ก็พบว่า ในหนึ่งแก้วมีปริมาณน้ำตาลต่อวันไปแล้ว 2 ใน 3 ซึ่งคาดได้ว่า ปริมาณการบริโภคจะเกินข้อแนะนำ
“เครื่องดื่มเหล่านี้เป็นเครื่องดื่มที่ควรงดการดื่ม เพราะเป็นแหล่งอุดมน้ำตาล ซึ่งปริมาณน้ำตาลที่สูงหากได้รับในคราวเดียว จะรบกวนระบบการ Metabolite ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นกลุ่มโรคเรื้อรังไม่ติดต่อ ซึ่งมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต (NCDs) ได้” ทันตแพทย์หญิงมัณฑนากล่าว
ทั้งนี้ หากผู้บริโภคสนใจอ่านผลทดสอบสินค้าและบริการอื่น ๆ สามารถสมัครสมาชิกนิตยสารฉลาดซื้อออนไลน์ได้ เพียงปีละ 300 บาท เท่านั้น โดยสามารถสมัครด้วยตนเองผ่านเว็บไซต์ www.chaladsue.com หรือสอบถามฟรีผ่านไลน์แอทได้ที่ @chaladsue.online
อ่านผลทดสอบฉบับเต็มได้ที่ www.chaladsue.com/article/3171