ผู้บริโภคภาคอีสานจับมือผู้ประกอบการยกระดับนมโรงเรียน


วันที่ ๖ พ.ค.  เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๒.๐๐ น. สมาคมผู้บริโภคจังหวัดขอนแก่นได้จัดเวทีความร่วมมือเพื่อยกระดับคุณภาพ มาตรฐานนมโรงเรียนที่ปลอดภัย

ระหว่าง ผู้ประกอบการ หน่วยงานภาครัฐ และภาคประชาชน ในระดับท้องถิ่น ณ ห้องประชุมภูเวียง โรงแรมขอนแก่นโฮเต็ล ในการจัดประชุมครั้งนี้ได้มีข้อตกลงมาตรฐานนมโรงเรียน (MOU) ร่วมกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นหลักฐานและหลักประกันในการรักษามาตรฐานนม โรงเรียนของผู้ประกอบการ ได้แก่ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อสค.) , สหกรณ์โคนม ขอนแก่น , บริษัท ขอนแก่นแดรี่ส์ จำกัด ,สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 ,สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น ,เครือข่ายผู้บริโภค

 

และ สมาคมผู้บริโภคจังหวัดขอนแก่น ทั้งนี้ เพื่อรักษาผลประโยชน์และให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคและผู้ประกอบการ ผลิตภัณฑ์นมโรงเรียน รวมทั้งเป็นการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตนมโรงเรียนให้มีคุณภาพ มาตรฐานมากยิ่งขึ้น และสามารถ เป็นต้นแบบในการจัดทำความร่วมมือในครั้งนี้ โดยมีรายละเอียด ดังนี

แนวทางความร่วมมือในการจัดการนมโรงเรียนให้มีคุณภาพมาตรฐาน

๑. มีกลไกเฝ้าระวังนมโรงเรียน จากเครือข่ายผู้บริโภค และสถานศึกษา

๒. สถานศึกษามีมาตรฐานการจัดเก็บนมที่ปลอดภัย

๓. ผู้ผลิตและสถานศึกษา มีมาตรการในการควบคุมรถขนส่งนมโรงเรียน เพื่อให้ได้มาตรฐาน

๔. หากมีกรณีร้องเรียนเมื่อพบปัญหาของนมโรงเรียน ทุกภาคส่วนยินดีที่จะร่วมมือในการหาสาเหตุและดำเนินการแก้ไขปัญหา

 

ผู้ แทนจาก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น รายงานว่าจากการดำเนินงานที่ผ่านมา พบว่าจังหวัดขอนแก่นมีการควบคุณคุณภาพมาตรฐานนมโรงเรียนได้ดียิ่งขึ้น ส่วนหนึ่งเนื่องจากการมีโครงการนมฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุในประเทศไทย โดยได้รับความร่วมมือ จาก ศูนย์รวมนม ในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา และ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้เด็กนักเรียนได้ดื่มนมที่ปลอดภัยและมีฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ

ด้าน ผู้แทนจาก อสค. กล่าวว่า ในการจัดการปัญหานมโรงแบบบูรณาการ เกิดขึ้นได้เนื่องจาก จังหวัดขอนแก่น มีจุดแข็งที่มีโครงการนมฟลูออไรด์ ในพื้นที่ และทำให้กระบวนการ หรือ กลไกในการตรวจสอบมีมากขึ้น และเป็นกระกระตุ้นผู้ผลิตให้มีการยกระดับคุณภาพในการผลิตนมโรงเรียนอย่างต่อ เนื่อง จากปัญหาที่ผ่านพบว่า นมโรงเรียนจะมีปัญหาที่กระบวนการขนส่งของรถส่งนม ซึ่งทาง อสค. เอง

ก็ ได้แก้ไขปัญหาโดยการ จัดอบรมตัวแทนจำหน่าย เพื่อให้มีความเข้าใจในมาตารฐานการขนส่งนมที่ดีและปลอดภัย และมีกลไกของผู้ผลิตเพื่อช่วยควบคุมการขนส่งอีกด้วย

สมาคมผู้บริโภค โดย นางสาวจินตนา ศรีนุดช กล่าวว่า สมาคมฯ เล็งเห็นความสำคัญในการร่วมมือ การควบคุมคุณภาพมาตรฐานนมโรงเรียน และการจัดการแบบบูรณาการ โดยการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ซึ่งเป็นผลดีทั้งต่อบริโภค และผู้ประกอบการ ทำให้ผู้บริโภคเกิดความเชื่อถือในคุณภาพมาตรฐานนมโรงเรียนมากขึ้น และเป็นต้นแบบในการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานนมโรงเรียน ต่อไป

พิมพ์ อีเมล

บทความใกล้เคียงกัน