อย.ร่วมกับ บก.ปคบ.จัดโครงการสายสืบผักสด แจ้งเบาะแสร้านผักไม่ได้คุณภาพนำร่องตลาด อตก.แห่งแรกพบทำผิดจะตักเตือนก่อน1ม.ค.54เริ่มใช้บทลงโทษจริงจัง
อย.ร่วมกับ บก.ปคบ.จัดโครงการสายสืบผักสด แจ้งเบาะแสร้านผักไม่ได้คุณภาพนำร่องตลาด อตก.แห่งแรกพบทำผิดจะตักเตือนก่อน1ม.ค.54เริ่มใช้บทลงโทษจริงจัง
สัปดาห์นี้เราได้หยิบยกข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องราวของอาหารเสริมที่ขายกันอยู่ ตามท้องตลาดในขนาดนี้มาเตือนกันเพราะผลิตภัณฑ์อาหารเสริมบางประเภทหากผู้ ผลิตบางรายที่ไม่มีความรับผิดชอบโดยมีการลอบใส่ยาอันตรายลงไปแน่นอนจะส่งผล ร้ายต่อสุขภาพอย่างยิ่ง
เมื่อเร็วๆ นี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์พบผลิตภัณฑ์อาหารเสริม และกาแฟสำเร็จรูปบางรายลักลอบใส่ยาแผนปัจจุบันทั้งยาลดความอ้วน ยารักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ และ สเตียรอยด์ เพื่อหวังผลรวดเร็วตามที่อวดอ้าง ซึ่งทางภาครัฐเองก็ฝากเตือนผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยโรคตับ และไตก่อนซื้อควรพิจารณาให้รอบคอบถึงผลเสียที่อาจได้รับ และควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพราะอาจได้รับอันตรายจากผลิตภัณฑ์ดังกล่าว
โดยนายแพทย์จักรธรรม ธรรมศักดิ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ตามที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้เปิดเผยข้อมูลการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และผลิตภัณฑ์กาแฟสำเร็จรูปมีการอวดอ้างสรรพคุณในรูปแบบของข้อความ รูปภาพเพื่ออวดอ้างสรรพคุณว่าสามารถทำให้รูปร่างผิวพรรณดี ไม่อ้วน น้ำหนักลด หรือเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ
โดยผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอาจมีการลักลอบใส่ยาแผนปัจจุบัน ได้แก่ ยาลดน้ำหนัก ยารักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ และยาสเตียรอยด์เพื่อให้ได้ผลเร็วตรงตามที่มีการโฆษณาอวดอ้าง ซึ่งถือว่าผิดกฎหมาย และมีอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพของผู้บริโภคจากผลแทรกซ้อนทางสุขภาพต่างๆ ที่ตามมา
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์โดยสำนักคุณภาพ และความปลอดภัยอาหารจึงได้ดำเนินการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารว่า มีการลักลอบผสมยาแผนปัจจุบันจำนวน 4 กลุ่มหรือไม่ ได้แก่ กลุ่มยาลดน้ำหนัก (Sibutramine) กลุ่มยารักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (Sildenafil , Tadalafil และ Vardenafil) กลุ่มยาสเตียรอยด์ (Dexamethasone และ Prednisolone) กลุ่มวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิต และประสาท (Alprazolam , Diazepam และ Lorazepam)
โดยจากการตรวจวิเคราะห์พบว่า มีการลักลอบผสมยาแผนปัจจุบันทั้งยาลดน้ำหนัก ยารักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ และยาสเตียรอยด์แต่ไม่พบกลุ่มวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า เนื่องจากยาแผนปัจจุบันนั้นมีผลข้างเคียงต่อผู้บริโภคหากรับประทานไม่ถูก ต้องหรือไม่ได้อยู่ในความดูแลของแพทย์ เช่น สาร Sibutramine เป็นยาตัวหนึ่งที่ใช้ในการลดน้ำหนักโดยจะออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทในสมองทำให้ ความอยากอาหารลดลงแต่มีผลข้างเคียงที่พบบ่อย คือ ปากแห้ง เบื่ออาหาร ท้องผูก นอนไม่หลับเมื่อรับประทานเข้าไปแล้วจะเกิดอาการใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว สามารถลดน้ำหนักได้เร็ว แต่ไม่มีแรง เหนื่อยง่าย ดังนั้นผู้ที่มีประวัติอาการความดันโลหิตสูง ผู้ที่มีประวัติอาการชัก ผู้ที่ตับและไตไม่ดีไม่ควรใช้ยานี้
ส่วนสาร Sildenafil และ Tadalafil เป็นยาใช้สำหรับรักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ช่วยส่งเสริมกลไกการแข็งตัวตามธรรมชาติของอวัยวะเพศชายเมื่อถูกกระตุ้นทาง เพศแต่มีผลข้างเคียงที่พบบ่อย คือ อ่อนเพลีย ปวดท้อง ปวดหลัง มึนงง กล้ามเนื้อตึงนอนไม่หลับ
ส่วนกลุ่มยาสเตียรอยด์นั้นเมื่อรับประทานเป็นเวลานานจะทำให้กระดูกพรุนความ ดันสูง ดังนั้นก่อนตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมาบริโภคควรพิจารณาให้รอบคอบถึง ผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้นหากผู้บริโภคมีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์เภสัชกร เนื่องจากอาจได้รับอันตรายอย่างคาดไม่ถึง
นายมงคล เจนจิตติกุล ผู้อำนวยการสำนักคุณภาพ และความปลอดภัยอาหาร กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการที่ อย.ได้ส่งตัวอย่างผลิตภัณฑ์เสริมอาหารตั้งแต่เดือนตุลาคม 2552 - พฤษภาคม 2553 เพื่อทำการตรวจวิเคราะห์ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จำนวน 176 ตัวอย่าง ได้แก่ กาแฟปรุงสำเร็จรูปชนิดผง 96 ตัวอย่าง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดแคปซูล ชนิดเม็ด และชนิดน้ำ 63 ตัวอย่าง เครื่องดื่มสมุนไพร 7 ตัวอย่าง ลูกอม 4 ตัวอย่าง โกโก้ 3 ตัวอย่าง ชาผงสำเร็จรูป 1 ตัวอย่างยาลูกลอน 1 ตัวอย่าง และเครื่องดื่มธัญพืช 1 ตัวอย่าง
จากผลการตรวจวิเคราะห์กาแฟปรุงสำเร็จชนิดผงพบยาลดน้ำหนัก 3 ตัวอย่าง และยากลุ่มรักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ 1 ตัวอย่าง ส่วนผลิตภัณฑ์เสริมอาหารพบยาลดน้ำหนัก 5 ตัวอย่างยากลุ่มรักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ 2 ตัวอย่าง และกลุ่มยาสเตียรอยด์ 1 ตัวอย่าง
ส่วนกลุ่มวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิต และประสาทตรวจไม่พบว่ามีการลักลอบผสมในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารดังกล่าวทั้งนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ส่งข้อมูลดังกล่าวให้กับ อย.เพื่อดำเนินการต่อไปแล้ว
และในสัปดาห์นี้เราเองจึงอยากฝากเตือนท่านผู้อ่านหลายๆ ท่านก่อนซื้อควรพิจารณาให้รอบคอบถึงผลเสียที่อาจจะได้รับ และควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนนั่นเอง.....
......................................................................................................
ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า 9 ส.ค. 2553
อย.-บก.ปคบ. บุกจับโรงงานน้ำปลา-น้ำส้มสายชูปลอม แสดงฉลากไม่ถูกต้อง ที่ จ.สมุทรสงคราม และนครสวรรค์ มูลค่ารวม 2.5 ล้านบาท