banner debttrain

การบังคับคดีนอกเขตศาล

ผู้เข้าชม >>{hits}1908{/hits}
เรื่องเด่นในสัปดาห์นี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับ   การบังคับคดีนอกเขตศาล ซึ่งในเรื่องนี้เคยมีผู้โทรศัพท์เข้ามาสอบถามถึงแม้จะไม่มากแต่เห็นว่าเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยมีใครกล่าวถึงจึงขอนำเรื่องมาเล่าสู่กันฟัง

ในปัจจุบันธุรกิจซื้อขายที่ดินกำลังเป็นที่เฟื่องฟู การซื้อขายที่ดินจึงมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง ไม่ว่าจะเป็นเชิงเขาใกล้ทะเลหรือแม้แต่ป่าสงวนที่กำลังเป็นข่าวในปัจจุบันก็ยังนำมาขายกัน คนซื้อก็ซื้อกันเป็นว่าเล่นผลสุดท้ายก็ต้องมานั่งน้ำตาตกเมื่อที่ดินโดนยึดคืน  เมื่อมีการซื้อขายที่ดินกันเช่นนี้เจ้าของที่ดินอาจอยู่คนละแห่งกับที่ดินก็ได้ เช่นเจ้าของที่ดินมีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดขอนแก่นแต่กลับมีที่ดินอยู่จังหวัดเลยหรือจังหวัดอื่น

เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้จำเลยและออกคำบังคับ 30 วันแล้ว แต่ยังไม่มาชำระศาลก็จะออกหมายบังคับคดีและตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีและนำมาขายทอดตลาดต่อไป

ในกรณีที่ทรัพย์สินของจำเลยอยู่ในเขตศาลจังหวัดที่พิพากษาคดีการออกหมายบังคับย่อมไม่มีปัญหาสามารถที่จะดำเนินการได้โดยศาลนั้น  แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันก็คือ ทรัพย์สินของจำเลยกับตั้งอยู่ที่จังหวัดอื่น ดังนี้ในการยึดที่ดินนำมาขายทอดตลาดทำได้หรือไม่

ในกรณีดังกล่าวทางฝ่ายโจทก์จะสืบว่าจำเลยมีทรัพย์สินที่ไหนเมื่อทราบว่ามีที่ดินอยู่จังหวัดอื่นก็ต้องแจ้งให้ทางเจ้าพนักงานบังคับคดีทราบ ซึ่งจะต้องมีหลักฐานเช่นโฉนดที่ดินที่มีชื่อของจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ นอกจากนั้นก็ต้องแถลงให้ทางศาลทราบด้วย เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีทราบก็จะต้องทำเป็นหนังสือรายงานว่าทรัพย์สินของจำเลยตั้งอยู่ที่จังหวัดไหนขอให้ศาลนั้นบังคับคดีแทน ศาลก็จะสั่งในหนังสือแจ้งต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีว่า จัดการให้ ซึ่งถือเป็นการสั่งตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง  ต่อมาศาลก็จะต้องมีหนังสือไปยังศาลที่ทรัพย์สินของจำเลยตั้งอยู่ขอให้ทางศาลนั้นบังคับคดีแทนพร้อมกับส่งหมายบังคับคดีไปด้วย แต่เมื่อขายทอดตลาดแล้วจะเพียงพอต่อการชำระหนี้หรือไม่ก็อยู่ที่ราคาทรัพย์สินว่าเมื่อขายแล้วจะได้มากน้อยเพียงใด

เพราะฉะนั้นคำตอบในเรื่องนี้ก็คือ  สามารถที่จะบังคับคดีได้ ซึ่งการดำเนินการก็เป็นไปตามขั้นตอนที่กล่าวมาแล้วในตอนต้น



พิมพ์ อีเมล