นับตั้งแต่ปี 2542 องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคได้เคลื่อนไหวให้มีการติดฉลากจีเอ็มโอ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้มีการบังคับการติดฉลากจีเอ็มโอตั้งแต่วันที่ 11 พฤษภาคม 2546 เป็นต้นไป ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 251 (พ.ศ. 2545) เรื่อง การแสดงฉลากอาหารที่ได้จากเทคนิคการดัดแปรพันธุกรรมหรือพันธุวิศวกรรม ซึ่งมีสาระสำคัญ5 ข้อ
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้มีการบังคับการติดฉลากจีเอ็มโอตั้งแต่วันที่ 11 พฤษภาคม 2546 เป็นต้นไป ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 251 (พ.ศ. 2545) เรื่อง การแสดงฉลากอาหารที่ได้จากเทคนิคการดัดแปรพันธุกรรมหรือพันธุวิศวกรรม ซึ่งมีสาระสำคัญ5 ข้อ
1. ให้ถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง ข้าวโพดและผลิตภัณฑ์จากข้าวโพด ที่ได้จากเทคนิคการดัดแปรพันธุกรรม (Genetic modification) หรือพันธุวิศวกรรม (Genetic engineering) เป็นอาหารที่ต้องมีฉลาก
2. ถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง ข้าวโพดและผลิตภัณฑ์จากข้าวโพด ตามรายชื่อในบัญชีแนบท้ายประกาศนี้ที่มีสารพันธุกรรม (ดีเอ็นเอ) 22 รายการ หรือโปรตีนที่เป็นผลจากการดัดแปรพันธุกรรมนั้นอยู่ตั้งแต่ร้อยละ 5 ของแต่ละส่วนประกอบที่เป็นส่วนประกอบหลัก 3 อันดับแรก และแต่ละส่วนประกอบดังกล่าวนั้นมีปริมาณตั้งแต่ร้อยละ 5 ของน้ำหนักผลิตภัณฑ์
3. ให้แสดงข้อความว่า “ดัดแปรพันธุกรรม” ไว้ท้ายหรือใต้ชื่อส่วนประกอบนั้น ๆ ตามแต่กรณี เช่น ”ข้าวโพดดัดแปรพันธุกรรม” “เต้าหู้แช่แข็งผลิตจากถั่วเหลืองดัดแปรพันธุกรรม” “แป้งข้าวโพดดัดแปรพันธุกรรม”
4. ยกเว้นผู้ผลิตขนาดเล็กที่จำหน่ายแก่ผู้บริโภค โดยตรงในวงแคบ และผู้ผลิตสามารถให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภคได้โดยตรงด้วยไม่ต้องแสดงฉลาก
5. ห้ามใช้ข้อความว่า “ปลอดอาหารดัดแปรพันธุกรรม” หรือ “ไม่ใช่อาหารดัดแปรพันธุกรรม” หรือ “ไม่มีส่วนประกอบของอาหารดัดแปรพันธุกรรม” หรือ “มีการคัดหรือแยกส่วนประกอบที่มีการดัดแปรพันธุกรรมออก”
กว่า 12 ปี ตั้งแต่ปี 2546 ถึง 2558 คุณเคยเห็นฉลากอาหารดัดแปรพันธุกรรมหรือไม่