ขึ้นราคา NGV – LPG ความจริงเบื้องหลัง พลังไทย เพื่อใคร

ทุกข์มวลใหญ่กำลังมา...อีกครั้ง

คณะรัฐมนตรี รัฐบาลยิ่งลักษณ์  ชินวัตร มีมติเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ.2554 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) ให้ทยอยปรับขึ้นราคาขายปลีกก๊าซ NGV และ LPG สำหรับภาคขนส่ง เริ่ม 16 มกราคม 2555 นี้

16 ม.ค.55 ขึ้นราคา LPG และ NGVแน่
โพสต์ทูเดย์ 28 ธันวาคม 2554

 

รมว.พลังงาน ไม่สน “ขนส่ง-รถรับจ้าง” ประท้วง

ยันเดินหน้าขึ้นราคา NGV ตามแผน 16 ม.ค.นี้ เพื่อให้ต้นทุนสอดคล้องกับความจริง

ASTVผู้จัดการออนไลน์ 21 ธันวาคม 2554


ก๊าซ 

ราคาที่ปรับ

ระยะเวลา 

NGV

เดือนละ 50 สตางค์/กิโลกรัม

16 มกราคม 2555  - ธันวาคม 2555

LPG

ก่อน เดือนละ 75 สตางค์/กิโลกรัม

(41 สตางค์/ลิตร)

16 มกราคม 2555 เป็นต้นไป จนไปสู่ต้นทุนโรงกลั่นน้ำมัน

 

ข้ออ้างในการปรับราคา 

ข้อเท็จจริง 

  • เพื่อให้ราคาขายปลีกก๊าซ NGV และ LPG สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง
  • แก้ปัญหาการขาดทุนของบริษัท ปตท จำกัด(มหาชน)

นางสาวอนุตมา อมรวิวัฒน์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติรับทราบการประมาณการรายได้ของ บมจ.ปตท ในปี 2555 จะมีรายได้รวม 2,834,237 ล้านบาท หรือประมาณ2.8 ล้านล้านบาท[1]

(ก่อนหน้านั้น เคยมีข่าวว่า กลุ่ม ปตท. จะทำกำไรได้ถึง 80,000 ล้านบาท ในปี 2554)

 

ผลกระทบจากการปรับราคาถึงสิ้นปี 55

NGV ราคาจะสูงขึ้น 70%  และ LPG ราคาจะสูงขึ้น 44% จากราคาปัจจุบัน

ก๊าซ 

ราคาปัจจุบัน

ราคาที่สิ้นปี 2555

จ่ายเพิ่มขึ้น

NGV

8.50 บาท/กิโลกรัม 

14.50 บาท/กิโลกรัม 

6 บาท/กิโลกรัม (70%) 

LPG

11.14 บาท/ลิตร 

16.06 บาท/ลิตร 

4.92 บาท/ลิตร (44%) 

ผู้ใช้รถยนต์ NGV และ LPG มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น

ก๊าซ 

ปริมาณก๊าซที่ได้ 

ค่าใช้จ่ายปัจจุบัน 

ค่าใช้จ่ายที่สิ้นปี 2555

เพิ่มขึ้น 

NGV

ราว 40 กิโลกรัม

จ่าย 340 บาท

580 บาท

140 บาท

LPG

ราว 45 ลิตร

จ่าย 500 บาท

720 บาท

220 บาท

มาตรการช่วยเหลือของรัฐ

ก๊าซ 

มาตราการช่วยเหลือ 

กลุ่มที่ได้รับการช่วยเหลือ 

กลุ่มที่ไม่ได้รับการช่วยเหลือ 

NGV

กระทรวงพลังงาน มอบหมายให้ ปตท. ดำเนินโครงการบัตรเครดิตพลังงาน NGV  ร่วมกับธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน)

รถแท็กซี่   รถสามล้อ และ รถตู้ร่วม ขสมก. NGV เฉพาะในพื้นที่เขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 65,500 คัน

รถโดยสารต่างจังหวัดทั้งหมด รถบรรทุกขนส่ง และรถยนต์ส่วนบุคคลทั้งหมด

LPG

รัฐบาลให้เงินสนับสนุนเปลี่ยนอุปกรณ์ไปใช้ก๊าซ NGV แทน

เฉพาะกลุ่มรถแท๊กซี่

รถยนต์ส่วนบุคคลรถบรรทุกขนส่งทั้งหมด



[1] ข่าว ปตท.ฟุ้งรายได้ปี'55แตะ2.8ล้านล้านบาทเล็งออกหุ้นกู้เดือนม.ค.นี้ : ASTVผู้จัดการออนไลน์ 27 ธันวาคม 2554

ความจริงเบื้องหลัง ขึ้นราคา NGV & LPGบทพิสูจน์...พลังงานไทย เพื่อใคร !

(ข้อมูล จากรายงานศึกษาตรวจสอบ เรื่อง “ธรรมาภิบาลในระบบพลังงานของประเทศ”  

ของคณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา)

 

1.ประเทศไทยมีแหล่งก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบขนาดใหญ่หลายแหล่ง

มีการผลิตเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ...ถึงขั้นติดอันดับโลก

ปัจจุบันประเทศไทยมีการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบทั่วประเทศแล้วกว่า 5,000 หลุม[1] โดยมีแปลงสัมปทานทั้งสิ้น 81 แปลง แท่นผลิต 225 แท่น[2] เดือนมิถุนายนปี 2553 ประเทศไทยขุดเจาะน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติเหลวได้ 40 ล้านลิตรต่อวัน และก๊าซธรรมชาติ (เทียบเท่าน้ำมันดิบ) ปริมาณ 105 ล้านลิตรต่อวัน[3]

ในปี 2552 จากฐานข้อมูลของสถาบัน Energy Information Administration (EIA) ของรัฐบาลสหรัฐฯ จัดอันดับประเทศไทยเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติอันดับ 23 และเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันดิบ1อันดับ 35 จากจำนวน 217 ประเทศของโลก2[4] จึงเป็นหลักฐานสำคัญที่ยืนยันว่า ประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่มประเทศผู้ผลิตพลังงานรายใหญ่ของโลกประเทศหนึ่ง



[1] ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

กระทรวงพลังงาน http://www2.dmf.go.th/executive/index.html

กระทรวงพลังงาน http://www2.dmf.go.th/download/production_month_thai.asp?m=3&y=2010

2. การขึ้นราคาก๊าซ NGV เป็นธรรมกับประชาชนหรือไม่ ?

โครงสร้างราคา NGV ที่ ปตท. อ้างว่าทำให้ขาดทุนหากขายที่ 8.50 บาท/ก.ก.

ต้นทุนเนื้อก๊าซ 8.39 บาท + ­­­ค่าบริหารจัดการและขนส่ง 5.56 บาท + ภาษีมูลค่าเพิ่ม,ภาษีค่าการตลาด 1.01 บาท  รวม 14.96 บาท/ก.ก. 

2.1 ต้นทุนเนื้อก๊าซ NGV 8.39 บาท เป็นราคาสูงเกินจริงถึง 4 เท่าตัว ?

จากโฆษณาของ ปตท. พบว่า “ต้นทุนเนื้อก๊าซที่ 8.39 บาท/ ก.ก.” นั้น ไม่ใช่ต้นทุนที่แท้จริง แต่เป็นราคาก๊าซที่ ปตท.ขายให้กับโรงไฟฟ้า เท่านั้น

ต้นทุนเนื้อก๊าซที่แท้จริงนั้น ต้องดูจากราคาก๊าซที่ ปตท. ซื้อจากปากหลุมก๊าซซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในอ่าวไทย  

จากการเปรียบเทียบราคาก๊าซธรรมชาติในตลาดโลกกับราคาที่ ปตท. ซื้อจากอ่าวไทย พบว่า ปตท. ซื้อก๊าซจากอ่าวไทยได้ต่ำกว่าราคาตลาดโลกเกือบ 45-50%

เมื่อตุลาคม 2554 ราคาก๊าซตลาดโลก เช่น ในแหล่ง Henry Hub ประเทศสหรัฐอเมริกา ราคาอยู่ที่ 3.63 เหรียญสหรัฐ/ล้านบีทียู หรือเท่ากับ 4 บาท/ก.ก.เท่านั้น[1] ดังนั้น เมื่อ ปตท. ซื้อก๊าซได้ต่ำกว่า 45-50%  จึงมีต้นทุนซื้อก๊าซจากอ่าวไทยในราว 2 บาท/กิโลกรัมเท่านั้น

ดังนั้น ราคาเนื้อก๊าซ 8.39 บาท/ก.ก. ที่ ปตท. โฆษณาและนำไปขอปรับขึ้นราคากับรัฐบาล จึงเป็นข้อมูลที่เป็นเท็จ และสูงกว่าราคาต้นทุนที่แท้จริงถึง 4 เท่าตัว

 


[1] คิดเทียบจากค่าความร้อน NGV จาก ปตท = 35,947 บีทียู/ก.ก

 

2.2 ค่าปั๊มและขนส่ง NGV สูง 70% ประชาชนรับเละ !

 

NGV เป็นก๊าซที่มีคุณสมบัติเบากว่าอากาศมากจึงมีแรงดันมหาศาล ไม่สามารถบรรจุลงถังเหล็กขนาดใหญ่แบบรถบรรทุกก๊าซ LPG ได้ วิธีที่ดีที่สุดคือการส่งตามท่อส่งก๊าซธรรมชาติ แต่พบว่าขณะนี้ ปตท. เลือกใช้วิธีบรรจุลงในถังก๊าซขนใส่รถบรรทุกให้แล่นไปส่งตามปั๊ม NGV ที่อยู่นอกแนวท่อส่งก๊าซมากกว่า 349 แห่ง ทำให้มีต้นทุนค่าขนส่งที่สูงมาก เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการขาดทุนของก๊าซ NGV

 

ปั๊ม NGV จำนวน 453 สถานี*

ปั๊ม NGV แนวท่อส่งก๊าซฯ 

104 แห่ง

ปั๊ม NGV นอกแนวท่อส่งก๊าซฯ 

349 แห่ง

*ข้อมูลจาก ปตท ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2554

ข้อเสียของปั๊ม NGV นอกแนวท่อฯ คือ ส่วนใหญ่ตั้งอยู่บริเวณใกล้ชุมชนที่ไม่มีแนวท่อก๊าซธรรมชาติผ่าน จึงต้องพึ่งพารถบรรทุกพ่วง(Trailer) ขนส่ง NGV จากสถานีจ่ายก๊าซฯ หลัก ซึ่งการขนส่ง NGV ในแต่ละเที่ยวจะขนส่งในสถานะที่เป็นก๊าซจึงบรรจุได้ในปริมาณน้อย มีระยะเวลาที่ใช้ในการขนส่งนาน มีค่าใช้จ่ายที่สูง ทำให้ปั๊ม NGV นอกแนวท่อฯ นี้มีปริมาณ NGV สำหรับบริการแก่ผู้ใช้รถ NGV ไม่ต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงที่ความต้องการใช้สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ และผู้ใช้ NGV จะต้องรอจนกว่ารถขนส่งก๊าซ NGV รอบถัดไปจะมาถึง

 

เมื่อคิดเทียบจากราคาเนื้อก๊าซ NGV ที่ 8.39 บาท/ก.ก. รวมกับต้นทุนค่าปั๊ม ค่าขนส่งก๊าซที่ 5.56 บาท/ก.ก. พบว่าต้นทุนค่าปั๊มและค่าขนส่ง จะสูงถึง 40% ของราคาก๊าซทั้งหมด(ไม่รวมภาษี)

แต่หากคิดเทียบจากราคาเนื้อก๊าซที่แท้จริงที่ 2 บาท/ก.ก. จะพบข้อมูลที่น่าตกใจยิ่งกว่าว่า สัดส่วนของต้นทุนค่าปั๊ม ค่าขนส่งนั้นสูงถึง 73% ของราคาก๊าซทั้งหมด(ไม่รวมภาษี)

ต้นทุนค่าขนส่ง NGV ที่ไร้ประสิทธิภาพนี้ ได้ถูกผลักมาในราคา NGV ให้ประชาชนรับภาระแทนทั้งหมด

คำโฆษณาที่ว่า พลังงานไทย...เพื่อไทย จึงไม่เป็นความจริงเลย

2.3 คนใช้รถ NGV ขาดทุน แถมเพิ่มภาวะโลกร้อน เพราะมีการเติมคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 18%

กรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงานมีส่วนสำคัญที่ทำให้ ปตท. สามารถเติมคาร์บอนไดออกไซด์(CO2)ลงใน NGV ได้อย่างถูกกฎหมาย

ประกาศกรมธุรกิจพลังงานเรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์ พ.ศ.2552  กำหนดให้ ปตท สามารถเติม CO2 ได้ถึง 18% ด้วยเหตุผลว่า เพื่อแก้ปัญหาค่าความร้อนของก๊าซธรรมชาติที่แตกต่างกันมาก อันเนื่องมาจากก๊าซแต่ละแหล่งส่งผลต่อรถ  NGV ที่เติมก๊าซข้ามแหล่งกัน  ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ.2552 เป็นต้นมา

ผลของการเติม CO2 ทำให้ NGV ของประเทศไทย มีค่าดัชนีวอบบี้หรือค่าพลังงานความร้อนที่ต่ำ คือ อยู่ระหว่าง 37-42 เมกกะจูล/ลูกบาศก์เมตร (MJ/m3) ในขณะที่มาตรฐานสากลก๊าซธรรมชาติในต่างประเทศ จะกำหนดให้มี CO2ได้ระหว่าง 0-3% เท่านั้น ทั้งนี้เพื่อลดปัญหาภาวะโลกร้อนอันเกิดจากการปล่อยก๊าซ CO2 สู่ชั้นบรรยากาศของโลกนั่นเอง

เมื่อก๊าซธรรมชาติมี CO2 ต่ำ ทำให้ค่าดัชนีวอบบี้หรือค่าพลังงานความร้อนของก๊าซธรรมชาติในต่างประเทศสูงกว่าของประเทศไทย คืออยู่ที่ 46 – 52.9 MJ/m3 และจึงส่งผลดีต่อประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องยนต์มากกว่าของประเทศไทย

ในขณะที่ผู้บริโภคจ่ายเงิน 100 บาทแต่ได้ NGV จริงๆแค่ 82 บาทเท่านั้น รถวิ่งได้ระยะทางน้อยลง วิ่งอืดขึ้น และทำให้เกิดภาวะโลกร้อนเพิ่มขึ้นโดยไม่รู้ตัว

3. การขึ้นราคาก๊าซ LPG เป็นธรรมกับประชาชนหรือไม่ ?

ก๊าซ LPG เป็นก๊าซที่ผลิตได้จากโรงแยกก๊าซธรรมชาติและโรงกลั่นน้ำมัน โดยการนำเอาก๊าซโพรเพนกับก๊าซบิวเทนซึ่งเป็นส่วนประกอบของก๊าซธรรมชาติมาผสมกัน อัดใส่ถังก็จะเป็นก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas - LPG) หรือที่เรียกว่า ก๊าซหุงต้ม สามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในครัวเรือน เชื้อเพลิงของรถยนต์ และนำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมบางประเภทได้อีกด้วย

ความจริงที่ควรรู้คือ  

รถยนต์ LPG ไม่ใช่ต้นเหตุที่ทำให้ก๊าซ LPG ขาด และต้องเสียเงินนำเข้า จึงไม่ใช่เหตุผลที่รัฐบาลจะใช้เพื่อการปรับขึ้นราคา LPG

ในปี 2553 ประเทศไทยสามารถผลิตก๊าซ LPG ได้ 4.4 ล้านตัน พบว่าภาคครัวเรือนใช้อยู่ที่ 2.4 ล้านตัน และรถยนต์ใช้ 6.8 แสนตัน รวมแล้วเท่ากับ 3.1 ล้านตันเท่านั้น ยังเหลือให้ภาคอุตสาหกรรมได้ใช้ถึง 1.3 ล้านตันโดยไม่ต้องนำเข้า

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ก๊าซ LPG ไม่พอเพียง เป็นเพราะกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นกลุ่มบริษัทในเครือของ ปตท. มีการใช้ LPG ในปริมาณที่สูงมากขึ้นอย่างต่อเนื่องจนทำให้ LPG ที่ผลิตได้ในประเทศไม่เพียงพอ

ในปี 2551-2553 การใช้ก๊าซ LPG ของกลุ่ม อุตสาหกรรมปิโตรเคมีอยู่ที่ 9 แสนตัน , 1.28 ล้านตัน และ 1.59  ล้านตัน เรียงตามลำดับ เป็นปริมาณการใช้ที่เพิ่มสูงขึ้นโดยตลอด แม้แต่ข้อมูลที่กระทรวงพลังงานเสนอต่อที่ประชุม กพช. เพื่อขอปรับราคา LPG ที่ผ่านมา ยังแสดงให้เห็นว่า ภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีมีสัดส่วนการใช้ LPG สูงเพิ่มขึ้นถึงเกือบ 68% ของปริมาณที่ประชาชนทั้งประเทศใช้

นี่จึงเป็นสาเหตุแท้จริงที่ทำให้ก๊าซ LPG ไม่เพียงพอ และเกิดภาระ การชดเชยจากการนำเข้าจาก ต่างประเทศ ตั้งแต่เดือนเมษายน 2551 – กันยายน 2554 คิดเป็นเงินประมาณ 57,339 ล้านบาท

แทนที่รัฐบาลจะไปจัดเก็บเงินค่าก๊าซกับกลุ่มปิโตรเคมีเพิ่มขึ้น กลับกำหนดให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่ใช้ก๊าซเป็นวัตถุดิบ ส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพียงกิโลกรัมละ 1 บาทเท่านั้น ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ใช้ก๊าซ LPG ต้องจ่ายเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมัน ในอัตรากิโลกรัมละ 8 - 11 บาท (ในช่วงปี 2555 เป็นต้นไป) และยังผลักภาระมาให้ประชาชนด้วยการขึ้นราคา LPG อีก

จากข้อมูลที่กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นว่า การให้ข้อมูลของรัฐบาลในการปรับขึ้นราคา NGV และ LPG  เป็นการให้ข้อมูลที่โกหก บิดเบือน ทำให้การประกาศปรับขึ้นราคา NGV และ LPG อยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่เป็นเท็จและไม่เป็นธรรมกับประชาชนเป็นอย่างยิ่ง

วิธีต่อสู้ต่อความไม่เป็นธรรมที่ท่านทำได้ โดยช่วยกันใช้ช่องทางการสื่อสารทุกรูปแบบ ร่วมกันเผยแพร่ข้อมูล ข้อเท็จจริงนี้ออกไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

“ร่วมสู้ 1 ครั้ง ดีกว่าบ่น 1,000 ครั้ง”

สนับสนุนการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน

โทร.02-248-3734-7 โทรสาร 02-248-3733

พิมพ์ อีเมล