การจัดการความรู้เรื่องแร่ใยหิน

  1.  อันตรายของแร่ใยหินต่อสุขภาพ

อันตรายของแร่ใยหินต่อสุขภาพ ส่วนใหญ่เกิดจากการแพร่กระจายของฝุ่นแร่ใยหินในบริเวณโรงงาน สถานที่ปฏิบัติงาน  หรือบริเวณที่พักอาศัยที่มีการซ่อมแซม หากหายใจเอาฝุ่นแร่ใยหินเข้าไปในร่างกายเป็นเวลานานๆและปริมาณมากๆ ก็จะทำให้เกิดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรค ดังนี้

1)   โรคแอสเบสโตซิส (Asbestosis) เป็นโรคปอดเรื้อรัง ปอดเป็นแผล เนื่องจากแร่ใยหินทิ่มแทงปอด และสารในแร่ทำปฏิกิริยากับเนื้อเยื่อปอด ทำให้ผู้ป่วยมีอาการหายใจถี่ เจ็บหน้าอก ลำตัวบวม น้ำหนักลด ปาก ลิ้นและเล็บขึ้นเป็นเส้นสีฟ้า ไอแห้ง สมรรถภาพการทำงานของปอดเสื่อมลง ภาพจากฟิล์มเอกซเรย์จะเห็นเงาทึบไม่เป็นระเบียบ

2)   โรคเมโสธีลิโอมา (Mesothelioma) เป็นโรคเนื้องอกหรือมะเร็งชนิดหนึ่งที่เกิดบริเวณเยื่อหุ้มปอด และเยื่อบุช่องท้อง เนื้องอกชนิดนี้จะเกิดขึ้นกับผู้ที่สัมผัสกับแอสเบสตอสชนิด Crocidolite และ Amosite เนื้องอกนี้อาจคุกคามไปยังบริเวณอื่น ๆ ได้ เช่น คอหอย กระเพาะ และรังไข่ ในรายที่เป็น Mesothelioma บริเวณเยื่อหุ้มปอดจะมีอาการหายใจขัด เจ็บหน้าอก และในรายที่เป็นบริเวณเยื่อช่องท้องจะมีอาการปวดท้อง

3)   โรคมะเร็งปอด สำหรับผู้ที่สูบบุหรี่ หากได้รับแร่ใยหินเข้าสู่ร่างกายจะมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรคมะเร็งปอด โดยเฉพาะบริเวณปอดส่วนบน

4)   มะเร็งส่วนอื่นๆของร่างกาย จากการศึกษายังพบลักษณะการเกิดมะเร็งระบบทางเดินอาหารด้วย เช่น ที่หลอดอาหาร ลำไส้ และทวารหนัก

การเฝ้าระวังโรคจากแร่ใยหินสำหรับประเทศไทยนั้น ปัจจุบันมีการตรวจพบผู้ป่วยเพียง 3 ราย ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ค้นหาผู้ป่วยได้ยาก เช่น มีอัตราการย้ายงานสูง ไม่มีการจัดทำรายงานความเสี่ยงทางสุขภาพ สภาพแวดล้อมการทำงาน หรือการประเมินความเสี่ยงของผู้บริโภคจากการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีแร่ใยหิน ทั้งยังขาดแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการวินิจฉัยโรคแอสเบสโตซิสและโรคอื่นที่เกี่ยวข้อง และพัฒนาการของโรคใช้เวลานานซึ่งอาจทำให้เกิดพัฒนาเป็นโรคปอดชนิดอื่น ส่วนอันตรายจากการปนเปื้อนในน้ำใช้นั้นยังไม่พบงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนี้

จากการสังเกตจะพบว่า ลักษณะอันตรายของแร่ใยหินมีผลกระทบต่อผู้ใช้แรงงานในโรงงานที่มีการใช้แร่ใยหินมากกว่าผู้บริโภค

  2. อุตสาหกรรมที่มีการใช้แร่ใยหิน และการปนเปื้อนแร่ใยหินในน้ำประปา

อุตสาหกรรมที่มีการใช้แร่ใยหินเป็นวัตถุดิบ มีดังนี้

  1. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ซีเมนต์ ได้แก่ กระเบื้องมุงหลังคา กระเบื้องทนความร้อน ท่อซีเมนต์ใยหิน และท่อน้ำประปา
  2. ผลิตภัณฑ์พลาสติก ได้แก่ กระเบื้องปูพื้นไวนิล พลาสติกขึ้นรูปต่างๆ และกล่องพลาสติกบรรจุแบตเตอรี่
  3. กระดาษแร่ใยหิน และผลิตภัณฑ์เส้นใยอัดแน่น
  4. ผ้าเบรค คลัทช์
  5. สิ่งทอที่ทำด้วยแร่ใยหิน เช่น ชุดป้องกันไฟ
  6. ฉนวนกันความร้อน เช่น ท่อน้ำร้อน หม้อไอน้ำ และฉนวนหุ้มคานเหล็ก ในอาคารสูง เพื่อป้องกันการขยายตัวของเหล็ก ในกรณีเกิดเพลิงไหม้
  7. ผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น สารยึดในยางมะตอย วัตถุดิบในการทำหินเจียร และประเก็น

ประเภทของผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหิน ได้แก่

  1. กระดานฉนวน (Insulating board) ใช้เป็นฉนวนป้องกันความร้อนและเสียง เช่น กระเบื้องเพดาน แผ่นฝ้า และผนังกั้นห้อง จะมีแร่ใยหินเป็นส่วนผสม 20 – 45 %
  2. วัสดุฉนวน (Asbestos lagging) จะใช้เป็นฉนวนกันความร้อนในท่อและหม้อน้ำ มีการใช้อย่างแพร่หลายในอาคารสาธารณะ อพาร์ทเมนต์ และโรงงานที่ใช้หม้อน้ำ ซึ่งจะมีปริมาณแร่ใยหิน 55 – 100 %
  3. วัสดุฉาบเคลือบแบบฉีดพ่น (Sprayed coating) ใช้ฉีดเคลือบโครงสร้างเหล็ก และปล่องลิฟต์ เพื่อป้องกันความร้อน จะมีปริมาณแร่ใยหิน 85%
  4. ผลิตภัณฑ์ปูนซีเมนต์ เช่น ท่อซีเมนต์ใยหิน สำหรับงานประปา และงานระบายน้ำ กระเบื้องมุงหลังคา จะมีปริมาณแร่ใยหิน 10 – 15 %  บางครั้งอาจถึง 40 %

ปัจจุบันในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล ได้มีการปรับปรุงระบบท่อส่งน้ำ จากเดิมใช้ท่อซีเมนต์ใยหินเปลี่ยนเป็นท่อพีวีซีซึ่งมีความปลอดภัยมากกว่า แต่จะพบการใช้ท่อซีเมนต์ใยหินสำหรับการชลประทานในต่างจังหวัด และบางส่วนใช้เป็นท่อส่งน้ำสำหรับประปาหมู่บ้าน

ข้อสังเกต

1.   โอกาสที่ท่อซีเมนต์ใยหินจะหลุดออกมาปนเปื้อนในน้ำประปา  

2.   การรับประทานน้ำที่ปนเปื้อนแร่ใยหิน เป็นอันตรายหรือไม่

3.   ผลิตภัณฑ์ที่มีแร่ใยหินจะส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคอย่างไร

 

3.    มาตรฐานของประเทศไทยสำหรับจำกัดการใช้แร่ใยหิน และป้องกันอันตรายของของแร่ใยหินต่อสุขภาพ

ไคโซไทล์ (Chrysotile) หรือ White asbestos ประเทศไทยมีการควบคุมการนำเข้าwhite asbestos ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ตามพ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 โดยการกำกับดูแลของกรมโรงงานอุตสาหกรรม และได้มีการห้ามนำเข้าแร่ใยหินคลอซิโดไลท์ (Crocidolite) หรือ Blue asbestos

กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานของกระทรวงแรงงาน ได้กำหนดให้ตลอดระยะเวลาการทำงานปกติของลูกจ้าง ห้ามลูกจ้างทำงานที่มีปริมาณฝุ่นแร่ใยหินในบรรยากาศเกินกว่า 5 เส้นใยต่ออากาศ 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร ส่วนค่ามาตรฐานตามมาตรฐานสากล (American Conference of Industrial Hygienists: ACGIH – TLV) ปี ค.ศ. 2006 กำหนดให้ตลอดระยะเวลาการทำงานปกติของลูกจ้างห้ามมีฝุ่นแร่ใยหิน ในบรรยากาศการทำงานมีปริมาณเกินกว่า 0.1 เส้นใยต่อปริมาตรอากาศ 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร นอกจากนี้ก็มีค่ามาตรฐานอื่นๆ เช่น (Permissible Exposure Limits; PELs) ของ Occupational Safety and Health Administration  (OSHA) กำหนดไว้ที่ 0.1 เส้นใยต่อปริมาตรอากาศ 1 ลูกบาศก์เซนติเมตรและในระยะเวลา 30 นาที ควรมีไม่เกิน 1 เส้นใยต่อปริมาตรอากาศ 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร

ตามพ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ได้กำหนดกิจกรรมที่เกี่ยวกับแร่ใยหิน เป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ เช่น กิจกรรมที่ 7 (7) การอัดผ้าเบรค ผ้าคลัชท์ กิจกรรมที่ 11 (8) ผลิตภัณฑ์ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ หรือส่วนผสม เช่น ผ้าเบรค ผ้าคลัชท์ กระเบื้องมุงหลังคา กระเบื้องยาง ฝ้าเพดาน ท่อน้ำ และ กิจกรรมที่ 13 (9) การก่อสร้าง เป็นต้น

ผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะต้องถูกควบคุมฉลาก โดยคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ตามพ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522  มาตรา 30 และผู้ประกอบการจะต้องกำหนดวิธีใช้ วิธีเก็บรักษา คำเตือน หรือข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าที่ถูกต้องและชัดเจนตามสมควร หากผู้ประกอบการละเลยและผู้บริโภคเกิดความเสียหาย ผู้ประกอบการจะต้องร่วมกันรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นตาม พ.ร.บ. ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 มาตรา 5

สำหรับการวัดค่าแอสเบสตอสในน้ำประปานั้น ยังไม่มีประเทศใดกำหนดเป็นค่ามาตรฐานการปนเปื้อนแอสเบสตอสในน้ำประปา

 

4.   มาตรการควบคุมแร่ใยหินในต่างประเทศ

ในปี ค.ศ. 2005 องค์การแรงงานระหว่างประเทศ  (The International Labors Organization: ILO) ร่วมกับองค์การอนามัยโลก จัดการประชุมผู้ใช้แรงงานประจำปีขึ้น จัดขึ้นที่นครเจนีวา ประเทศแคนนาดา มีผู้เข้าร่วมประมาณ 4,000 คน ประกอบด้วยผู้ใช้แรงงาน ลูกจ้าง และผู้แทนของหน่วยงานรัฐบาล จากหลายประเทศทั่วโลก โดยมุ่งเน้นที่ประเด็นการห้ามใช้แร่ใยหินและได้มีการแบ่งกลุ่มประเทศที่มีการดำเนินการเกี่ยวกับแร่ใยหินดังนี้

กลุ่ม 1a ประเทศที่มีการห้ามใช้แร่ใยหินมานานแล้ว ได้แก่   CHILECYPRUS, FINLAND, IRELAND, KUWAIT, LATVIA, MALTA, MONACO, NEW ZEALAND, NORWAY, SLOVENIA และ SWEDEN

 

กลุ่ม 1b ประเทศที่พึ่งจะมีการห้ามใช้แร่ใยหิน ได้แก่ ARGENTINA, AUSTRALIA , AUSTRIA, BELGIUM, CROATIA, CZECH REPUBLIC, DENMARK, ESTONIA, FRANCE, GERMANY, GREECE, HUNGARY, ICELAND, ITALY, JAPAN, LITHUANIA , LUXEMBOURG, POLAND, PORTUGAL, SAUDI, ARABIA, SLOVAKIA, SOUTH AFRICA , SPAIN, SWITZERLAND, THE NETHERLANDS และ UNITED KINGDOM

กลุ่ม 2 ประเทศที่มีการใช้แร่ใยหินและไม่มีการบันทึกข้อมูลการนำเข้าหรือส่งออก ได้แก่ CAMEROON, COOK ISLANDS, COSTA RICA, CURACAO, DJIBOUTI, DOMINICA,  EQUATORIAL GUINEA, ERITREA, ETHIOPIA, FALKLAND ISLANDS, FRENCH POLYNESIA, GABON, GAMBIA, GHANA, GRENADA, GUINEA-BISSAU, GUYANA,  HAITI, HOLY SEE, HONDURAS, IRAQ, ISRAEL, IVORY COAST, JAMAICA, JORDAN,  KIRIBATI, KOSOVO, LAOS (P.D.R.), LEBANON, LESOTHO, LIBERIA, LIBYAN ARAB JAMAHIRIYA, LIECHTENSTEIN, MADAGASCAR, MALI, MARSHALL ISLANDS,  MAURITANIA, MICRONESIA, NAURU, NEPAL, NEW CALEDONIA, NIGER, PALAU,  PALESTINE, PAPUA NEW, GUINEA, PARAGUAY, QATAR, RWANDA, SAINT KITTS&NEVIS, SAINT LUCIA, SAMOA, SAN MARINO, SAO TOME & PRINCIPE,  SERBIA & MONTENEGRO, SEYCHELLES, SIERRA LEONE, SOLOMON ISLANDS,  SOMALIA, SURINAME, TAIWAN, TANZANIA (REPUBLIC),  TIMOR LESTE (D. R.),  TOGO, TONGA, TRINIDAD & TOBAGO, TUVALU, VANUATU และ YEMEN

กลุ่ม 3a และ 3b ประเทศที่มีการใช้แร่ใยหินและมีการนำเข้าและส่งออกเป็นจำนวนมาก ได้แก่ ALGERIA, ANGOLA, AZERBAIJAN, BANGLADESH, BELARUS, BELIZE, BOLIVIA, BOTSWANA, BRAZIL, BULGARIA, CANADA, CHINA, COLOMBIA, CUBA, DOMINICAN REPUBLIC, ECUADOR, EL SALVADOR, GUATEMALA, INDIA, INDONESIA, IRAN, KAZAKHSTAN, KOREA (D.P.R.-NORTH), KOREA (SOUTH–REP.), KYRGYZSTAN, MACEDONIA(F.D.R.), MALAWI, MALAYSIA, MEXICO, MOLDOVA (REPUBLIC), MONGOLIA, MOZAMBIQUE, NIGERIA, OMAN, PAKISTAN, PANAMA, PERU, ROMANIA, RUSSIAN FEDERATION, SENEGAL, SINGAPORE, SRI LANKA, SWAZILAND, SYRIAN ARAB REP., THAILAND, TUNISIA, TURKEY, TURKMENISTAN, UKRAINE, UNITED ARAB MIRATES, UNITED STATES, UZBEKISTAN, VENEZUELA, VIET NAM, ZIMBABWE, ALBANIA, BAHRAIN,BOSNIA & HERZEGOVINA, EGYPT, FIJI, GEORGIA, GUINEA, HONG KONG, KENYA, MALDIVES, MAURITIUS, MOROCCO, MYANMAR, NAMIBIA, NICARAGUA, PHILIPPINES, ST. VINCENT&GRENADINES, SUDAN, TAJIKISTAN, UGANDA และ ZAMBIA

พิมพ์ อีเมล

บทความใกล้เคียงกัน