แร่ใยหิน

เครือข่ายนักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์ ด้านสาธารณสุขนานาชาติ รวม 97 คนจากทั่วโลก ได้ส่งจดหมายถึงน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เรียกร้องให้ไทยยุติการใช้แร่ใยหิน และปกป้องนักวิชาการไทยที่ถูกกลุ่มอุตสาหกรรมส่งจดหมายขู่ดำเนินคดีให้ยก เลิกการเผยแพร่ข้อมูลความปลอดภัยทางสุขภาพ


แร่ใยหิน หรือแอสเบสตอส (Asbestos) เป็นแร่ชนิดหนึ่งที่ใช้ในอุตสาหกรรม เป็นวัสดุที่นำมาใช้ในผลิตภัณฑ์ที่ต้องการความทนทานและทนความร้อน เช่น ในกระเบื้องมุงหลังคา กระเบื้องแผ่นเรียบ ฝ้าเพดาน ฉนวนกันความร้อน ผ้าเบรก ท่อน้ำซีเมนต์ กระเบื้องยางไวนิลปูพื้น และอุตสาหกรรมสิ่งทอ วัสดุฉาบเคลือบด้วยการฉีดพ่น แผ่นกระดานฉนวน เป็นต้น จะปะปนอยู่กับอุตสาหกรรมต่างๆเกือบ 100 ชนิด

หลายปีที่ผ่าน มา เริ่มมีงานวิจัยจากนานาชาติที่ระบุถึงอันตรายที่จะได้รับจากแร่ใยหิน ชนิดไครโซไทล์ (Chrysotile) หรือแอสเบสตอสสีขาว ว่าจะทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของคน

โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ ต้องทำงานเกี่ยวกับอุตสาห กรรมประเภทต่างๆ ที่ต้องสัมผัสกับวัสดุที่มีแร่ใยหินผสมอยู่ ซึ่งการได้รับแร่ใยหินจะไม่ได้แสดงอาการ ในทันทีแต่สะสมในร่างกายเป็น 10 ปีกว่าที่จะเกิดโรค ซึ่งแรงงานก็ไม่สามารถเรียกร้องอะไรได้ เพราะออกนอกระบบหรือเปลี่ยนย้ายสายงานไป และกระบวน การพิสูจน์โรคที่เกิดจากการทำงานของไทยยังถือว่าอ่อนแอ

จาก การศึกษาในประเทศต่างๆ พบว่า การสัมผัสแร่ใยหินทำให้เกิดโรคอันตรายร้ายแรง เช่น โรคหรือความผิดปกติของเยื่อหุ้มปอด : มีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด เยื่อหุ้มปอดหนา หรือเป็นเนื้องอกของเยื่อหุ้มปอด โรคมะเร็งปอด โรคมะเร็งของเยื่อหุ้มปอด เป็นจุดหรือก้อนในปอด โรคมะเร็งกล่องเสียง พังผืดปอดอักเสบที่เรียกว่า แอสเบสโตซีส เป็นต้น

แอสเบสตอสถือเป็นสารก่อมะเร็งที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งจากการทำงานมากถึง 54% ของผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งจากการทำงานทั้งหมด

สำหรับ ประเทศไทย คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อปี 2554 เลิกใช้ผลิตภัณฑ์จากแร่ใยหิน ซึ่งกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม สามารถดำเนินการได้ทันที แต่กลับมีการทอดเวลาออกไปอีก 6 เดือน โดยอ้างว่าอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบจากต้นทุนทำให้ในช่วงปี 2554 ปริมาณการนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของแร่ใยหินมากขึ้น จากเดิมนำเข้าประมาณ 79,000 กว่าตันในปี 2553 เป็นนำเข้าเพิ่มขึ้นในปี 2554 พุ่งถึง 80,000 กว่าตัน

จนถึงในปัจจุบันก็ยังไม่มี การขยับจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดการยกเลิกการใช้ การนำเข้า หรือ ติดฉลากที่ผลิตภัณฑ์เพื่อเตือนผู้บริโภค ซึ่งมีเพียงผู้ผลิตกระเบื้องบางยี่ห้อเท่านั้นที่ยกเลิกด้วยตัวเอง

เครือข่ายนักวิชาการจึงเรียกร้องให้รัฐบาลไทยจำเป็นต้องตระหนักถึงความเสี่ยงต่อสุขภาพของประชาชนที่ จะได้รับ

เนื่อง จากพบว่าจากการวิจัยในโรงงานแปรรูปแร่ใยหิน 11 แห่ง โดยนักวิชาการจากสถาบันความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ พบค่าความเข้มข้นแร่ใยหินในอากาศตั้งแต่ 0.01-43.31 ไฟเบอร์ต่อซีซี ขณะที่ค่ามาตรฐานอยู่ที่ 5.45 ไฟเบอร์ต่อซีซี เท่านั้น โดย 36.45% ของตัวอย่างทั้งหมดสูงกว่าค่าความปลอดภัย หากรัฐบาลไม่มีมาตรการใดๆ ก็จะเริ่มเห็นผลกระทบต่อสุขภาพที่จะได้รับในไม่ช้า

วันที่ 04 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ปีที่ 22 ฉบับที่ 7858 ข่าวสดรายวัน

พิมพ์ อีเมล

บทความใกล้เคียงกัน