องค์กรผู้บริโภค เป็นห่วงร่างกฎหมายองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคเดินหน้าลำบากส่อแววรื้อทั้งฉบับ โดยอ้างหากไม่แก้ไขตามความเห็น..กฎหมายอาจไม่ผ่าน
ชมคลิปวีดีโอ การผลักดันกฎหมายองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค
องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคกับ 7 เรื่องที่เกี่ยวกับผู้บริโภค
หลังจากที่เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศได้ร่วมกันผลักดันร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. .... แบบมาราธอนมากว่า ๑๔ ปี จนขณะนี้เข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณาของกรรมาธิการร่วม ๒ สภา ส่อแววว่าจะเดินหน้าลำบาก เพราะกรรมาธิการร่วมบางส่วนต้องการรื้อกฎหมายทั้งฉบับและอ้างว่า หากไม่แก้ไขตามความเห็นกฎหมายอาจไม่ผ่านความเห็นชอบของสภา
การประชุมกรรมาธิการร่วมเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. .... ครั้งที่ ๒ เมื่อวันพุธที่ผ่านมา โดยมีนายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นประธานคณะกรรมาธิการฯ
ที่ประชุมได้อภิปรายเพื่อหาข้อตกลงร่วมกัน เรื่องกรอบการพิจารณาของคณะกรรมาธิการร่วม ที่ควรพิจารณาเฉพาะประเด็นที่มีความเห็นแตกต่างในการแก้ไขกฎหมายที่ผ่านวุฒิสภา เช่น มาตรา ๘ ประเด็นเรื่องงบประมาณในการดำเนินการขององค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่สภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบ ๓ บาท ขณะที่วุฒิสภาได้แก้ไขและเห็นชอบ ๕ บาทต่อหัวประชากร ซึ่งทั้งสองสภาต่างเห็นด้วยในการกำหนดงบประมาณต่อหัวประชากร แต่กลับมีกรรมาธิการบางท่านที่ไม่เห็นด้วยกับการลงมติผ่านความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรดังกล่าวมาเสนอให้คณะกรรมาธิการร่วมพิจารณาไม่ให้กำหนดงบประมาณต่อหัวไว้ในกฎหมาย โดยอ้างเหตุผลให้เป็นอำนาจหน้าที่ของฝ่ายบริหารในการสนับสนุนงบประมาณ เช่นเดียวกับที่เคยอภิปรายและแพ้มติในสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว
นอกจากนี้ การอภิปรายของคณะกรรมาธิการร่วมบางท่านที่ต้องการลดบทบาทของคณะกรรมการองค์การอิสระ ทั้งที่มาตรา 19 เรื่องอำนาจหน้าที่คณะกรรมการไม่มีการแก้ไขใดๆ และทั้งสองสภาต่างเห็นชอบแบบเดียวกัน แต่การประชุมวันนี้กลับอ้างอาจเกินรัฐธรรมนูญทั้งที่ประเด็นเหล่านี้ต่างถกเถียงอย่างมากมายกว้างขวางในการพิจารณากฎหมายฉบับนี้ เกือบสองปี หากนับจากการได้รับพิจารณาจากสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2553 หรือการอภิปรายของคณะกรรมาธิการที่ต้องการตัดบทบาทกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคในมาตรา 19(3) ในการดำเนินการและสนับสนุนการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นความจริง หรือแจ้งหรือโฆษณาข่าวสารที่เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย หรือเสื่อมเสียแก่สิทธิผู้บริโภค ในการนี้จะระบุชื่อสินค้าหรือชื่อบริการ หรือชื่อของผู้ประกอบการด้วยก็ได้ เพราะเห็นว่าเป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) จนทำให้ที่ประชุมยังไม่ได้มีการลงมติใด ๆ เพราะมีความพยายามที่จะเสนอให้กรรมาธิการร่วมพิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้ให้เกินเลยจากที่มติวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างที่สภาผู้แทนราษฎรมีมติให้ความเห็นชอบ และจะมีการนัดประชุมเพื่อพิจารณากฎหมายฉบับนี้ทุกวันพุธเวลา ๙ โมงเช้า ห้อง ๓๗๐๑
นางสาวสารี อ๋องสมหวัง หนึ่งในกรรมาธิการที่เป็นผู้แทนผู้เสนอกฎหมาย ชี้แจงว่า กฎหมายฉบับนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้บริโภคมาก ไม่ว่าจะช่วยคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในการได้รับข้อมูลที่เป็นความจริง ให้ผู้บริโภคได้รู้เท่าทันปัญหาผู้บริโภคในด้านต่างๆ เป็นปากเป็นเสียงแทนผู้บริโภค เสนอความเห็นให้มีมาตรการ กติกาต่าง ๆ เป็นประโยชน์กับผู้บริโภคเพิ่มขึ้น และตรวจสอบการทำงานของรัฐให้บังคับใช้กฎหมายได้อย่างเต็มที่ในการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญและมีความแตกต่างจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค องค์กรคุ้มครองผู้บริโภค หรือเอ็นจีโอ
นอกจากนี้ สารี ยังให้ความเห็นต่อเรื่องนี้ว่า คณะกรรมาธิการร่วม ควรพิจารณาเฉพาะประเด็นที่มีความแตกต่างของสองสภา เนื่องจากกฎหมายได้มีการอภิปรายอย่างกว้างขวางและผ่านกระบวนการพิจารณาของทั้งสองสภาแล้ว พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลแสดงความจริงใจในการออกกฎหมายที่เสนอโดยภาคประชาชน เพื่อประโยชน์ต่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่รอคอยมาอย่างยาวนาน พร้อมกันนี้ เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศ จะเฝ้าติดตามผลการประชุมกรรมาธิการอย่างใกล้ชิด และขณะนี้ได้ร่วมกันลงลายมือชื่อเพื่อสนับสนุนให้รัฐบาลเร่งพิจารณากฎหมายดังกล่าว ให้ออกมาบังคับใช้โดยเร็ว
รายชื่อกรรมาธิการร่วมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคพ.ศ. ....
ชื่อ-นามสกุล |
ตำแหน่ง |
|
ประธานคณะกรรมาธิการ |
|
รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่หนึ่ง |
|
รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่สอง |
|
รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่สาม |
|
เลขานุการคณะกรรมาธิการ |
|
ผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมาธิการ |
|
โฆษกคณะกรรมาธิการ |
|
โฆษกคณะกรรมาธิการ |
|
โฆษกคณะกรรมาธิการ |
10. นางสาวรสนา โตสิตระกูล |
โฆษกคณะกรรมาธิการ |
11. นายนิยม เวชกามา |
กรรมาธิการ |
12. นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ |
กรรมาธิการ |
13. นายขจิตร ชัยนิคม |
กรรมาธิการ |
14. นายวัชระ เพชรทอง |
กรรมาธิการ |
15. ศาสตราจารย์วิรัตน์ พาณิชย์พงษ์ |
กรรมาธิการ |
16. พลอากาศเอก วีรวิท คงศักดิ์ |
กรรมาธิการ |
17. นายวิเชียร คันฉ่อง |
กรรมาธิการ |
18. นายเจริญ ภักดีวานิช |
กรรมาธิการ |
19. นายมหรรณพ เดชวิทักษ์ |
กรรมาธิการ |
20. นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง |
กรรมาธิการ |
21. นายไพโรจน์ พลเพชร |
กรรมาธิการ |
22. นางสาวสารี อ๋องสมหวัง |
กรรมาธิการ |