รับขึ้นทะเบียนองค์กรผู้บริโภค

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ขอเชิญองค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศ ส่งเอกสารขอขึ้นทะเบียนองค์กร เพื่อคัดเลือกเป็นกรรมการเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค



 














ประชาสัมพันธ์
การขึ้นทะเบียนองค์กรผู้บริโภค
 

เพื่อเสนอชื่อผู้เชี่ยวชาญ และผู้แทนองค์กรผู้บริโภคระดับเขต 

คัดเลือกกันเองเป็นคณะกรรมการเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค 

..................................................................................................................

     มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ให้ดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพองค์กรและเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคเพื่อองค์การอิสระคุ้มครองผู้บริโภค โดยเป้าหมายสำคัญประการหนึ่งของโครงการนี้ คือการสร้างและพัฒนาระบบบริหารจัดการของเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคในรูปแบบคณะกรรมการองค์การอิสระ ซึ่งกิจกรรมสำคัญในเป้าหมายนี้คือการคัดเลือกคณะกรรมการเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคเพื่อให้กระบวนการคัดเลือกบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติเหมาะสมในการดำรงตำแหน่ง

     คณะกรรมการเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค มีส่วนร่วมจากองค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศ เป็นไปอย่างโปร่งใส่ และมีประสิทธิภาพ โดยอ้างอิงความตามมาตรา ๓, ๑๒, ๑๓ และมาตรา ๑๖ แห่งร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. .... มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จึงได้กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการคัดเลือกคณะกรรมการเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค ดังนี้

๑. คณะกรรมการเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค 

ประกอบด้วยผู้แทนองค์กรผู้บริโภคจำนวน ๑๕ คน จากองค์ประกอบ ๒ ส่วนคือ

     ๑.๑ ผู้แทนจากผู้เชี่ยวชาญด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ๗ คน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ จำนวน ๗ ด้าน ดังนี้

          (๑) ด้านการเงินและการธนาคาร

          (๒) ด้านการบริการสาธารณะ

          (๓) ด้านที่อยู่อาศัย

          (๔) ด้านบริการสุขภาพ

          (๕) ด้านสินค้าและบริการทั่วไป

          (๖) ด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม

          (๗) ด้านอาหาร ยา หรือผลิตภัณฑ์สุขภาพ

     ๑.๒ ผู้แทนจากองค์กรผู้บริโภคระดับเขต ๘ คน โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น ๘ เขต ดังนี้

          (๑) เขต ๑  ภาคกลางประกอบด้วย จังหวัดสิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี นครนายก พระนครศรีอยุธยา นนทบุรี ปทุมธานี และสระบุรี

          (๒) เขต ๒  ภาคตะวันออกประกอบด้วย จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ปราจีนบุรี สระแก้ว และสมุทรปราการ

          (๓)  เขต ๓ ภาคอีสานตอนบน ประกอบด้วย จังหวัดอุดรธานี หนองบัวลำภู หนองคาย เลย  สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารคาม ชัยภูมิ  และบึงกาฬ

          (๔) เขต ๔  ภาคอีสานตอนล่างประกอบด้วย จังหวัดมุกดาหาร ร้อยเอ็ด นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี และยโสธร

          (๕) เขต ๕  ภาคเหนือประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน พิษณุโลก ตาก เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ อุทัยธานี กำแพงเพชร ชัยนาทและพิจิตร

          (๖) เขต ๖ ภาคตะวันตกประกอบด้วย จังหวัดนครปฐม สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์

          (๗) เขต ๗ ภาคใต้ประกอบด้วย จังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรัง พัทลุง ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลา และสตูล

          (๘) เขต ๘ กรุงเทพมหานคร

 

๒. คุณสมบัติองค์กรผู้บริโภค 

องค์กรผู้บริโภคที่ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเสนอชื่อบุคคลเพื่อคัดเลือกเป็นกรรมการเครือข่ายองค์กร

ผู้บริโภค จะต้องเป็นองค์กรนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค หรือเป็นคณะบุคคลตั้งแต่สิบคนขึ้นไปที่มีวัตถุประสงค์และมีการดำเนินงานเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคโดยไม่แสวงหากำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน เป็นอิสระ ไม่ถูกจัดตั้งหรือหรือตกอยู่ภายใต้อาณัติไม่ว่าทางตรงหรือโดยอ้อมของหน่วยงานของรัฐหรือผู้ประกอบการ และมีผลการดำเนินงานเป็นที่ประจักษ์ต่อเนื่องมาแล้วไม่น้อยกว่า ๓ ปี นับถึงวันขึ้นทะเบียน

 

๓. การเสนอชื่อบุคคล 

     องค์กรผู้บริโภคที่ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเพื่อเสนอชื่อบุคคล สามารถเสนอชื่อบุคคลได้องค์กรละไม่เกิน ๒ คน โดยแบ่งเป็น ๒ กลุ่มๆ ละ ๑ คน คือ

     ๒.๑ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน ๑ คน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านใดด้านหนึ่ง ข้างต้น

     ๒.๒ ผู้แทนระดับเขตจำนวน ๑ คน ซึ่งเป็นผู้แทนขององค์กรผู้บริโภคที่ขอขึ้นทะเบียน

 

๔. วิธีการขึ้นทะเบียน  

     องค์กรผู้บริโภคที่ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเพื่อเสนอชื่อบุคคล ให้ส่งแบบคำขอขึ้นทะเบียน และแบบแสดงความสมัครใจของผู้ได้รับการเสนอชื่อ พร้อมเอกสารหลักฐานที่กำหนด ส่งเอกสารด้วยตนเอง หรือส่งทางไปรษณีย์ ไปยังสำนักงานเครือข่ายภาคต่างๆ ดังนี้

     กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค  ๔/๒ ซ.วัฒนโยธิน แขวงถนนพญไท เขตราชเทวี ๑๐๔๐๐

     ภาคเหนือ:  เครือข่ายผู้บริโภคภาคเหนือ   91 ม.2 บ้านทุ่งต้นศรี ต.สันป่าม่วง อ.เมือง จ.พะเยา ๕๖๐๐๐

     ภาคอีสาน:  เครือข่ายผู้บริโภคภาคอีสาน ๖๘๖/๕ ซ.วุฒาราม ถ.หน้าเมือง  ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น ๔๐๐๐๐

     ภาคใต้:   เครือข่ายผู้บริโภคภาคใต้ ๒ หมู่บ้านไทยสมุทร ต.หาดใหญ่  อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ๙๐๑๐๐

     ภาคตะวันตก:  เครือข่ายผู้บริโภคภาคตะวันตก ๒๘/๒ ม. ๘ ต.บางแก้ว อ.เมือง จ. สมุทรสงคราม ๗๕๐๐๐

     ภาคกลาง:   เครือข่ายผู้บริโภคภาคกลาง ๗๓  ม. ๓  ต.ไก่เส่า อ.หนองแซง จ. สระบุรี ๑๘๑๗๐

     ภาคตะวันออก: เครือข่ายผู้บริโภคภาคตะวันออก ๗๐/๔  ม. ๔  ต. ชากบก อ. บ้านค่าย จ. ระยอง ๒๑๑๒๐

 

๕. วิธีการคัดเลือก 

     ๕.๑ เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคต่าง ๆ ตรวจสอบคุณสมบัติองค์กรผู้บริโภค และจัดทำบัญชีรายชื่อผู้แทนองค์กรผู้บริโภคเขต และบัญชีรายชื่อผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ

     ๕.๒ จัดประชุมผู้แทนองค์กรผู้บริโภคที่ได้รับการขึ้นทะเบียน เพื่อคัดเลือกกันเองให้ได้คณะกรรมการ

เครือข่ายองค์กรผู้บริโภค ๑๕ คน โดยคำนึงถึงสัดส่วนหญิงชายที่ใกล้เคียงกัน

               (๑) ผู้แทนจากผู้เชี่ยวชาญ

          ก. ให้ผู้แทนองค์กรผู้บริโภคที่มาประชุม ลงคะแนนคัดเลือกจากบัญรายชื่อผู้เชี่ยวชาญทั้ง ๗ ด้านโดยองค์กรผู้บริโภค มีสิทธิลงคะแนนเลือกผู้เชี่ยวชาญด้านละ ๑ คนเท่านั้น

          ข. นับคะแนน และจัดทำบัญชีรายชื่อผู้เชี่ยวชาญที่คะแนนสูงสุดพร้อมบัญชีสำรองด้านละ ๕ คน

          ค. ผู้ได้รับคะแนนสูงสุด เป็นผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นกรรมการผู้เชี่ยชาญด้านนั้นๆ

               (๒) ผู้แทนจากองค์กรผู้บริโภคระดับเขต

          ก. แบ่งกลุ่มผู้แทนองค์กรผู้บริโภคที่มาประชุม ๘ กลุ่ม ตามเขตพื้นที่

          ข. ให้ที่ประชุมแต่ละกลุ่มคัดเลือกกันเองให้ได้ผู้แทนองค์กรผู้บริโภคในเขตนั้นๆ จำนวน ๑ คน และขึ้นบัญชีสำรองไว้ ๕ คน

          ค. วิธีการคัดเลือก ให้เป็นไปตามที่ประชุมในแต่ละเขตพื้นที่กำหนด

 

๖. กำหนดการขึ้นทะเบียนและคัดเลือกกันเอง 

     ๑๖- ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕ รับขึ้นทะเบียนองค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศ

     ๑-๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๕   ตรวจสอบเอกสารและคุณสมบัติองค์กรผู้บริโภคและผู้แทนองค์กรผู้บริโภค

     ๑๒-๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๕ จัดประชุมผู้แทนองค์กรผู้บริโภคเพื่อคัดเลือกคณะกรรมการเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค

     การดำเนินงานในครั้งนี้ เป็นกิจกรรมภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพองค์กรและเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคเพื่อองค์การอิสระคุ้มครองผู้บริโภค โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้าง

     เสริมสุขภาพ (สสส.) กรณีมีเหตุอื่นใดนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในประกาศฉบับนี้ หรือมีข้อโต้แย้งอันเนื่องมาจากการตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามประกาศนี้ ให้จัดประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการเพื่อวินิจฉัย และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการบริหารโครงการถือเป็นที่สุด

 

 

ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๕


องค์กรผู้บริโภคที่สนใจ สามารถดาวน์โหลดแบบขอขึ้นทะเบียนตามลิงค์







องค์กรในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ส่งเอกสารได้ที่...

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค  4/2 ซ.วัฒนโยธิน แขวงถนนพญไท เขตราชเทวี 10400  โทร. 02-248-3737


องค์กรในส่วนภูมิภาค สามารถส่งเอกสารไปตามภูมิภาคต่างๆ ดังนี้

ภาคเหนือ    : เครือข่ายผู้บริโภคภาคเหนือ   91 ม.2 บ้านทุ่งต้นศรี ต.สันป่าม่วง  อ.เมือง จ.พะเยา 56000 โทร. 054-458757

ภาคอีสาน   : เครือข่ายผู้บริโภคภาคอีสาน 686/5 ซ.วุฒาราม ถ.หน้าเมือง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000 โทร.043-225969

ภาคใต้       : เครือข่ายผู้บริโภคภาคใต้ 2 หมู่บ้านไทยสมุทร ต.หาดใหญ่  อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110 โทร.074-254542

ภาคตะวันตก : เครือข่ายผู้บริโภคภาคตะวันตก 28/2 ม.8 ต.บางแก้ว อ.เมือง  จ. สมุทรสงคราม 75000 โทร.085-7000714

ภาคกลาง    : เครือข่ายผู้บริโภคภาคกลาง 73  ม.3 ต.ไก่เส่า อ.หนองแซง  จ. สระบุรี 18170 โทร.036-3995444

ภาคตะวันออก : เครือข่ายผู้บริโภคภาคตะวันออก 70/4 ม.4 ต.ชากบก อ.บ้านค่าย จ.ระยอง 21120 โทร.086-110-8167

ตั้งแต่วันนี้ – 31 พฤษภาคม 2555  ไม่เว้นวันหยุดราชการ

 

กิจกรรมนี้ ดำเนินการภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพองค์กรและเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคเพื่อองค์การอิสระคุ้มครองผู้บริโภค สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

พิมพ์ อีเมล

บทความใกล้เคียงกัน