กลไกประสานงานศูนย์คุ้มครองสิทธิภาคเหนือ มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา และเครือข่ายศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมระดับจังหวัด ภาคเหนือ จำนวน 8 ศูนย์ ร่วมมือกับทนายความจากสำนักงานสภาทนายความ และสำนักงานกฎหมายเอกชนในภาคเหนือ เรียนรู้ และทำความเข้าใจงานคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค
โดยนายชมชวน บุญระหงส์ คณะกรรมการสบท. นำเสนอสถานการณ์ของผู้บริโภคในประเด็นกิจการโทรคมนาคม ทั้งปัญหาการถูกเก็บค่าเชื่อมต่อสัญญาณ การไม่มีระบบรองรับการคงสิทธิเลขหมาย การโทรข้ามเครือข่ายยากในบริการระบบCDMA ความขัดแย้งเรื่องการตั้งเสาสัญญาณวิทยุโทรคมนาคม การได้รับ SMS-ข้อความกวนใจยกเลิกยากมีขั้นตอนมาก หรือการขายสินค้าและบริการผ่านโทรศัพท์ และเรื่องการความถูกต้องของค่าบริการ การใช้โทรศัพท์ เพื่อนำเสนอให้เห็นภาพความเดือนร้อนของผู้บริโภค
ด้านนายชัยรัตน์ แสงอรุณ คณะกรรมการสบท. ได้นำเสนอแง่มุมด้านข้อบังคับและระเบียบของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่ง ชาติ ที่เป็นข้อจำกัดและทำให้ผู้บริโภคเข้าไม่ถึงสิทธิ
ทั้งนี้จากการประชุมเรียนรู้ร่วมกัน มีข้อเสนอแนะที่น่าสนใจ นั่นคือให้ความสำคัญกับการเริ่มจากการปรึกษา หารือ-จัดตั้งเครือข่ายทนายภายในจังหวัด และกำหนดรูปแบบ ข้อตกลงร่วมกันระหว่างเครือข่ายผู้บริโภคกับทนาย เช่น บทบาทภารกิจ-ข้อตกลงร่วม ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น โดยให้ศูนย์คุ้มครองผู้บริโภคจว.ช่วยเป็นกองเลขาร่วมประสานงาน และแนะนำทนายอาสาที่น่าจะร่วมมือกันได้
รวมถึงกำหนดระยะเวลาการพบกันครั้งต่อไป ประมาณ ต้น มค.54 โดยมีเวทีประชุมเพื่อมาแลกเปลี่ยนแนวทาง/แผนงานของเครือข่ายทนายระดับ จังหวัด โดยสร้างเวทีเครือข่ายทนายจว.ก่อนแล้วขยับมาระดับภาคและอาจพัฒนาไปเป็นถึง เครือข่ายระดับชาติ-ถ้าเป็นไปได้
และเมื่อมองในระยะยาว น่าจะมีการจัดตั้งเป็นเครือข่ายทนายอาสาคุ้มครองผู้บริโภค ภาคเหนือและกำหนดข้อตกลงร่วมกัน ให้ชัดเจน เช่น การรับคดี การมีช่องทางติดต่อสื่อสารร่วมกันระหว่างทนาย-เครือข่ายผู้บริโภค การผลักดันเชิงนโยบาย เป็นต้น
ควรมีการเผยแพร่กฎหมายที่เกี่ยวข้อง กับสิทธิผู้บริโภค/ช่องทางการช่วยเหลือให้ผู้บริโภคได้รับรู้เพื่อลดปัญหา การฟ้องร้องคดีความต่างๆ โดยผ่านการสนับสนุนข้อมูลและสื่อจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และมีการจัดตั้งเป็นเครือข่ายทนายอาสา คุ้มครองผู้บริโภค ภาคเหนือและกำหนดข้อตกลงร่วมกัน ให้ชัดเจน เช่น การรับคดี การมีช่องทางติดต่อสื่อสารร่วมกันระหว่างทนาย-เครือข่ายผู้บริโภค การผลักดันเชิงนโยบาย เป็นต้น
และควรมีการเผยแพร่กฎหมายที่เกี่ยวข้อง กับสิทธิผู้บริโภค/ช่องทางการช่วยเหลือให้ผู้บริโภคได้รับรู้เพื่อลดปัญหา การฟ้องร้องคดีความต่างๆ โดยผ่านการสนับสนุนข้อมูลและสื่อ