ผู้บริโภคสงขลาถูกละเมิดทุกวันร้องเรียนผ่านสมาคมผู้บริโภคสงขลากว่า 113 เรื่อง ตั้งแต่เดือน มกราคม 2555-เมษายน 2556 แม้มีหน่วยงานจัดการปัญหาเฉพาะประเด็น...แต่ปัญหาสำคัญคือการเข้าถึงช่องทางร้องเรียน
เนื่องในวันที่ 30 เมษายน 2556 วันคุ้มครองผู้บริโภคไทย สมาคมผู้บริโภคสงขลาได้รวบรวมข้อมูลการรับเรื่องร้องเรียนปัญหาผู้บริโภคที่ตั้งแต่เดือน มกราคม 2555 ถึงเดือนเมษายน 2556 เพื่อนำเสนอสถานการณ์ปัญหาการละเมิดสิทธิผู้บริโภคโดยมีผู้ใช้ช่องทางร้องเรียนผ่านสมาคมฯโดยไม่รวมกับจำนวนเรื่องร้องเรียนที่ร้องผ่านทางเว็บไซต์consumersongkhla.org และไม่รวมการโทรขอคำปรึกษาแล้วไปดำเนินการด้วยตนเอง จากกรณีเรื่องร้องเรียนทั้งหมด 113 เรื่อง แบ่งตามลำดับเรื่องร้องเรียนตามกลุ่มประเภทสินค้าบริการดังนี้
1.ด้านสื่อสารและโทรคมนาคม47 เรื่อง
2.ด้านที่อยู่อาศัย 19เรื่อง
3.ด้านบริการสาธารณะ 18 เรื่อง
4. ด้านสินค้าและบริการทั่วไป
5. ด้านอาหาร ยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ 8 เรื่อง
6.ด้านการเงินการธนาคาร
7.ด้านบริการสุขภาพ 2 เรื่อง
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 26 เมษายน ที่ผ่านมา สมาคมผู้บริโภคสงขลาได้ร่วมกับ สคบ.จังหวัดสงขลา สาธารณสุขจังหวัดสงขลา อัยการจังหวัดสงขลา การค้าภายในจังหวัดสงขลา ขนส่งจังหวัด ได้ร่วมกันจัดงานเนื่องในวันคุ้มครองผู้บริโภคไทย ที่ถนนคนเดิน เมืองสงขลา โดยความร่วมมือของเทศบาลนครสงขลา ซึ่งรองผู้ว่า ........ ร่วมทำพิธีเปิดงาน ภายในงานมีการจัดนิทรรศการให้ความรู้และรับเรื่องร้องเรียน รวมถึงการแจกเอกสาร และกิจกรรมบนเวทีให้ผู้เข้าร่วมได้ตอบปัญหาชิงรางวัลอย่างสนุกสนาน ซึ่งสมาคมผู้บริโภคสงขลาได้ร่วมกับอาสาสมัครผู้บริโภคจัดขายผลิตภัณฑ์พืชผลเกษตรปลอดสารพิษ และนิทรรศการให้ความรู้ในการเข้าถึงการร้องเรียนปัญหาผู้บริโภค ประเมินผลการจัดเวทีเห็นได้ว่าหน่วยงานพร้อมให้ข้อมูลและดำเนินการถ้าผู้บริโภคสามารถเข้าถึงช่องทางร้องเรียน แต่ปัญหาหลักขณะนี้คือผู้บริโภคไม่สามารถเข้าถึงและสับสนว่าจะไปร้องเรียนกับหน่วยงานใดในแต่ละประเด็น
โดย ภญ.ชโลม เกตุจินดา อุปนายกสมาคมผู้บริโภคสงขลา กล่าวว่า การจัดงานในวันคุ้มครองผู้บริโภคไทยชี้ให้เห็นว่าผู้บริโภคต้องการข้อมูล และยังไม่สามารถเข้าถึงช่องทางการร้องเรียนอีกมาก โดยเรื่องร้องเรียนที่สมาคมได้รับและดำเนินการส่งต่อ 113 เรื่องข้างต้น ที่มาเป็นอับดับ 1 คือ ปัญหา ด้านสื่อสารโทรคมนาคม ที่ยังคงมีปัญหาไม่สิ้นสุด ทั้งเรื่องของการกำหนดอัตราค่าโทรขั้นต่ำ ที่มีประกาศตั้งแต่ 1 มกราคม 2556 ยังไม่เป็นจริง การเรียกเก็บเงินค่าบริการล่วงหน้า(แบบเติมเงิน)ที่ยังกำหนดวันหมดอายุของการใช้งาน เรื่องของคุณภาพการให้บริการ คุณภาพสัญญาณซึ่งอาจจะเกิดจากการเปลี่ยนผ่านจากระบบ 2G สู่ระบบ 3G ทำให้ผู้บริโภคมีปัญหาในการใช้งานเป็นจำนวนมาก และอีกประเด็นปัญหาที่มีแนวโน้มว่าจะมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คือ เรื่องของการขอขึ้นเสาส่งสัญญาณ ในส่วน ด้านที่อยู่อาศัย นั้น ก็จะเป็นปัญหาในเรื่องการซื้อบ้านที่ไม่ได้คุณภาพ ไม่ตรงตามแบบแปลนที่เสนอก่อนขาย ด้านบริการสาธารณะ ปัญหา ไฟฟ้าตก ไฟไม่เพียงพอ การคิดค่าบริการน้ำประปาผิดพลาดและเรื่องคุณภาพการให้บริการรถโดยสารสาธารณะที่มีการพูดจาไม่สุภาพและไม่ส่งผู้โดยยังที่หมาย นอกจากนี้มีเรื่องการบรรทุกผู้โดยสารเกินจำนวนที่นั่งตามที่กฎหมายกำหนด ด้านสินค้าและบริการทั่วไป ส่วนมากก็จะเป็นเรื่องของคุณสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน สินคาราแพงเกินจริง ด้านอาหาร ยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ พบปัญหาการมีสิ่งแปลกปลอมปนเปื้อนอยู่ในอาหาร การโฆษณาอวดอ้างสรรคุณเกินจริงของผลิตภัณฑ์สุขภาพที่อวดอ้างเป็นยารักษาโรค ผ่านทางวิทยุชุมชน โทรทัศน์ดาวเทียม เคเบิ้ลทีวี ซึ่งจากการเฝ้าระวังของทางสมาคมฯเองก็เห็นถึงความรุนแรงรูปแบบที่เปลี่ยนไปของการโฆษณา ซึ่งไม่มีการกำกับดูแลอย่างจริงจังและทั่วถึง แม้จะมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการกำกับดูแลแล้วก็ตาม ด้านการเงินการธนาคาร ปัญหาส่วนใหญ่เป็นเรื่องของหนี้บัตรเครดิตที่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมที่สูงเกินจริง การใช้ใบแจ้งหนี้เป็นภาษาอังกฤษ และภาษาที่ผู้บริโภคเข้าใจยาก ด้านบริการสุขภาพ เป็นด้านที่ได้รับการร้องเรียนเข้ามาน้อยที่สุดอาจเนื่องจากการมีหน่วยรับเรื่องร้องเรียนของระบบหลักประกันสุขภาพด้วย ในส่วนของทางสมาคมฯเรื่องร้องเรียนด้านสุขภาพที่เข้ามาก็คือเรื่องของการใช้สิทธิบริการฉุกเฉินโดยไม่ต้องถามสิทธิใกล้โรงพยาบาลไหนไปโรงพยาบาลนั้น แต่ในความเป็นจริงยังมีการเรียกเก็บค่าบริการ และเรื่องของคุณภาพการให้บริการ
และ ในปี 2556 ทางสมาคมผู้บริโภคสงขลาก็ มีการคาดการณ์ถึงสถานการณ์ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในช่วง 1-2 ปีข้างหน้านี้ปัญหาหนักของสงขลาจะเป็นเรื่อง ของอสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่อาศัย และเรื่องของการเงินการธนาคาร ซึ่งคาดการณ์จาก จ.สงขลาได้มีโครงการทางด้านที่อยู่อาศัยเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากซึ่งอาจจะมีปัญหาเรื่องของสัญญาการซื้อขาย คุณภาพของมาตรฐานของการปลูกสร้างที่อยู่อาศัย และวัสดุก่อสร้าง
จากสถานการณ์ปัญหาข้างบนซึ่งเป็นปัญหาที่ไม่แตกต่างกับสถานการณ์ระดับประเทศ และหลายเรื่องสามารถดำเนินการนอกจากนี้ทางสมาคมฯ และเครือข่ายผู้บริโภคทั่วประเทศยังคงเดินหน้าต่อในการร่วมกันผลักดันกฎหมาย “องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค” ตามมาตรา 61 ในรัฐธรรมนูญ ปี 2550 เพื่อเป็นองค์กรอิสระในการทำหน้าที่ ตรวจสอบการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นปากเป็นเสียงให้แก่ผู้บริโภค เปิดเผยรายชื่อสินค้าที่เอาเปรียบผู้บริโภค เป็นศูนย์รวมในการรับเรื่องร้องเรียนและดำเนินการแก้ไขปัญหา และที่สำคัญคือการมีหน้าที่ในการเสนอและผลักดันให้เกิดกฎหมายที่เป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภค
{gallery}law/560430_consumersday_songkla{/gallery}