ทนายความ มพบ. พร้อมผู้เสียหายจาก 2 คดี ยื่นฟ้องต่อศาลแพ่ง รัชดาฯ เหตุผิดสัญญา

AC92E5FA 7D08 466F 9031 C0662070DE39

ทนายความเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค มพบ. พร้อมผู้เสียหายจากคดีการใช้แอป Easy App ของธ.ไทยพาณิชย์ และคดีการวินิจฉัยผิดพลาดของรพ.กรุงเทพภูเก็ตจนทำให้ทุพพลภาพ ยื่นฟ้องต่อศาลแพ่ง รัชดาฯ เหตุผิดสัญญา

         วันนี้ (15 พฤศจิกายน 2561) เวลา 10.00 น. ที่ศาลแพ่ง ถนนรัชดาภิเษก เขตจตุจักร กรุงเทพฯ นางสาวธนิตา จิราพณิช ผู้เสียหายในคดีสูญเสียเงินกว่าสองล้านบาท จากการใช้บริการอินเทอร์เน็ตแบงค์กิ้งของธนาคารไทยพาณิชย์ และทนายความตัวแทนของผู้เสียหายในคดีการวินิจฉัยผิดพลาดจนทำให้ทุพพลภาพ พร้อมด้วยทนายความเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) และเจ้าหน้าที่ มพบ. เดินทางมายื่นฟ้องต่อศาลแพ่ง กรณีการผิดสัญญา จำนวน 2 คดีE556324C 2C70 4686 B5FD 451C159496DD

(เรียงจากซ้ายไปขวา) นางสาวธนิตา จิราพณิช, นายเฉลิมพงษ์ กลับดี และทนายความเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค
6EA93892 404C 4AF3 A89C 781C153DCF20

นางสาวธนิตา จิราพณิช ผู้เสียหายและนักแสดงอิสระ

          นายเฉลิมพงษ์ กลับดี หัวหน้าศูนย์ทนายความเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค มพบ. กล่าวว่า ทาง มพบ. ได้ยื่นฟ้องคดีที่เกี่ยวกับผู้บริโภคต่อศาลแพ่ง จำนวน 2 คดี โดยในคดีที่หนึ่ง เป็นการยื่นฟ้องของผู้เสียหายต่อธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด มหาชน เป็นจำเลยที่ 1 และบริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด เป็นจำเลยที่ 2 กรณีผู้เสียหายได้รับความเดือดร้อนจากการใช้บริการอินเทอร์เน็ตแบงค์กิ้ง (Internet Banking) หรือระบบ Easy App หรือ Easy Net เริ่มจากเมื่อปลายเดือนธันวาคม 2560 คนร้ายได้หลอกลวงเอาข้อมูลของผู้เสียหายรายนี้ ได้แก่ หมายเลขบัตรประชาชน เลขบัญชีธนาคาร เพื่อนำมาสมัครอินเทอร์แบงค์กิ้งในมือถือของคนร้าย จากนั้นจึงโจรกรรมเงินฝากในบัญชีเงินฝาก ประเภทออมทรัพย์ และกองทุนเปิด SCBFP, กองทุนเปิด WINR, และกองทุนตราสารหนี้ที่โจทก์เปิดบัญชีไว้กับธนาคารไทยพาณิชย์และบริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ ตามลำดับ ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 8 วัน ตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2560 ถึงวันที่ 4 มกราคม 2561 รวมเป็น 50 กว่าครั้ง รวมเป็นเงินที่สูญหายจากบัญชีเงินและจากกองทุนต่างๆ กว่า 2 ล้านบาท

          นายเฉลิมพงษ์ กล่าวอีกว่า เมื่อผู้เสียหายทราบว่าบัญชีของตัวเองมีการทำธุรกรรมที่ผิดปกติ จึงได้ติดตามทวงถามให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหาย แต่จำเลยทั้งสองยังคงเพิกเฉย ผู้เสียหายรายนี้จึงได้ร้องเรียนมาที่ มพบ. หลังจากนั้นจำเลยทั้งสองได้ส่งตัวแทนมาเจรจาไกล่เกลี่ยแต่ไม่สามารถตกลงกันได้ สุดท้ายจึงเดินทางมายื่นฟ้องที่ศาลแพ่งในวันนี้ นอกจากนี้จำเลยทั้งสองยังเป็นผู้มีวิชาชีพในการประกอบกิจการรับฝากทรัพย์และการให้บริการทางการเงินควรต้องใช้ความระมัดระวังตามที่ผู้มีวิชาชีพการธนาคารและผู้มีวิชาชีพในการประกอบกิจการรับฝากทรัพย์และการให้บริการทางการเงินควรพึงกระทำ อีกทั้งในการทำธุรกรรมผ่านระบบสารสนเทศ หรือการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น แอปพลิเคชันหรืออินเทอร์เน็ตแบงค์กิ้ง ต้องจัดให้มีระบบตรวจสอบและรักษาความปลอดภัยของระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ให้มีมาตรฐานและความน่าเชื่อถือในการรักษาความปลอดภัย เช่น การควบคุมการเข้าถึงและการพิสูจน์ตัวตนผู้ใช้ การควบคุมการเข้าถึงระบบสารสนเทศ เป็นต้น

          “จำเลยทั้งสองนั้นไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปอย่างครบถ้วนและถูกต้องตามที่กฎหมายและประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ทั้งการตรวจสอบสิทธิในการเข้าถึงระบบสารสนเทศ การติดตามการแจ้งเตือน การแจ้งข้อมูลการทำธุรกรรมไม่มีมาตรฐาน ไม่เป็นปัจจุบันและต่ำกว่าสถาบันการเงินชั้นนำอื่น จนทำให้คนร้ายสามารถทำการโจรกรรมเงินในบัญชีและกองทุนของผู้เสียหายรายนี้ได้” นายเฉลิมพงษ์กล่าว670CA850 6E3D 4AE9 894E 8BDAB031681A

นายเฉลิมพงษ์ กลับดี และทนายความเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค

          นายเฉลิมพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ส่วนในคดีที่สอง เป็นการยื่นฟ้องของผู้เสียหายต่อบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) เป็นจำเลยที่ 1 และพวกรวมอีก 3 คน กรณีการวินิจฉัยที่ผิดพลาดจนทำให้ทุพลภาพและกลายเป็นบุคคลไร้ความสามารถ โดยเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2559 ผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์ที่ 2 ตัดสินใจเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต ตามคำโฆษณาบนเว็บไซต์ที่บอกว่า ‘มั่นใจในคุณภาพการดูแลรักษาด้วยมาตรฐานระดับโลก’ เพื่อเข้ารับการรักษาก้อนเนื้องอกในมดลูก และแพทย์มีการซักประวัติและตรวจร่างกายภายนอกทั่วไป ซึ่งทราบว่าผู้เสียหายรายนี้เป็นโรคเบาหวาน โรคโลหิตจาง และโรคไทรอยด์ ในการผ่าตัดเพื่อรับการรักษาดังกล่าวนั้นอาจเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะเส้นเลือดอุดตันในสมองได้ และเพื่อให้มีความเสี่ยงน้อยที่สุดนั้นควรจะพักรักษาให้ร่างกายอยู่ในสภาพพร้อมที่จะทำการผ่าตัดก่อน แพทย์จึงให้ผู้เสียหายนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล จากนั้นในวันที่ 12 สิงหาคม 2559 จึงทำการผ่าตัดมดลูก ต่อมาเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2561 ขณะพักรักษาตัวหลังผ่าตัด ผู้เสียหายรายนี้มีอาการปวดศีรษะ เวียนหัว ลืมตาไม่ขึ้น ขาแขนซ้ายอ่อนแรงกว่าข้างขวา แพทย์วินิจฉัยว่าเกิดภาวะ อุดตันของเส้นเลือดไปเลี้ยงสมองอย่างเฉียบพลัน (Acute Stroke) ที่ต้องรีบรักษาให้ทันท่วงที แต่กลับได้รับการรักษาที่ล่าช้าจนเป็นเหตุให้เนื้อสมองตายจากภาวะขาดเลือดไปเลี้ยงสมองเป็นเวลานาน ทำให้ต้องทุพลภาพพิการตลอดชีวิต จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจตลอดเวลา รวมถึงไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้และกลายเป็นคนไร้ความสามารถ

          “การกระทำนี้เป็นการผิดสัญญา โดยไม่ได้ปฏิบัติหรือดูแลรักษาอาการเจ็บป่วยของผู้เสียหายให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานตามที่โฆษณาเอาไว้ จนเป็นสาเหตุให้ผู้เสียหายต้องกลายเป็นบุคคลไร้ความสามารถ ดังนั้น จึงเข้ามายื่นฟ้องต่อศาลแพ่งเพื่อให้โรงพยาบาลและพวกอีก 3 คนนั้น ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เสียหาย ได้แก่ ค่าทุกข์ทรมานแก่ร่างกายที่ต้องกลายเป็นคนไร้ความสามารถ, ค่าอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อใช้ในการรักษาพยาบาลและช่วยเหลือ, ค่ารักษาพยาบาลอาการเจ็บป่วย, ค่าเสียหายที่จำเลยทั้งสี่ทำผิดสัญญารับจ้างรักษาพยาบาล, และค่าการผิดสัญญารับจ้างรักษาพยาบาลและการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อความรับผิดชอบในฐานะผู้มีวิชาชีพ รวมเป็นเงินทั้งหมด 19,620,000 บาท”นายเฉลิมพงษ์กล่าว

Tags: ธนาคารไทยพาณิชย์, รพ.กรุงเทพภูเก็ต, ศาลแพ่ง, ยื่นฟ้อง

พิมพ์ อีเมล

บทความใกล้เคียงกัน