บริการสุขภาพ

นักวิชาการจวก มติ สปส.กรณีค่า RW ทำลายระบบหลักประกันสุขภาพไทย

ชี้ มติ สปส.ที่ติดค่า RW ที่ 15,000 บาท สูงกว่าสวัสดิการข้าราชการเป็นภาพลวงตา ผู้ประกันตนตกเป็นเหยื่อ ไม่ได้ประโยชน์จริง ทำให้ระยะยาวต้องใช้เงินมากขึ้น แจงแม้จ่ายมากกว่าข้าราชการ แต่ไม่มีการการันตีว่าได้รับบริการทีดีกว่า

ดร.นพ.พงศธร พอกเพิ่มดี นักวิชาการเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข กล่าวว่า มติของ สปส.เกี่ยวกับการจ่ายค่าน้ำหนักตามแต่ละกลุ่มโรค หรือค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ (RW) ว่า มติดังกล่าว ที่ระบุว่า จะจ่ายให้ 15,000 บาท ขณะที่ข้าราชการ (ขรก.) อยู่ที่ประมาณ 12,000 บาทนั้น เป็นข้อมูลที่น่ากังขา เพราะเป็นที่รับรู้กันอยู่แล้วว่าข้าราชการได้รับบริการที่ดีกว่า ได้ยานอกบัญชียาหลักด้วย และยังเป็นกลุ่มที่ป่วยมากกว่า เพราะมีข้าราชการบำนาญ และบิดามารดาของข้าราชการ ขณะที่ประกันสังคมเป็นคนวัยทำงาน แข็งแรง เป็นไปได้อย่างไรว่ารักษาคนแข็งแรงกว่า ใช้ยาถูกว่า แต่ต้องใช้เงินมากกว่า เท่ากับผู้ประกันตนถูกทำให้เป็นเหยื่อของระบบ

ดร.นพ.พงศธร กล่าวต่อว่า จากการพิจารณาครั้งนี้่ พบว่า มีจุดอ่อนหลายประการ ข้อมูลที่ใช้ในส่วนของโรงพยาบาลเอกชนก็ไม่ใช่ข้อมูลของประกันสังคม แต่กลับใช้ข้อมูลของข้าราชการที่ใช้บริการในโรงพยาบาลเอกชนแล้วบวกอัตราเงิน เฟ้อเข้าไป และยังใช้ข้อมูลจากโรงเรียนแพทย์ ทั้งๆ ที่โรงพยาบาลเอกชนที่อยู่ในระบบประกันสังคมส่วนใหญ่เป็นขนาดกลาง มีเตียงเฉลี่ยที่ 137 เตียงเท่านั้น ดังนั้น ทางออกที่ดีที่สุดของเรื่องนี้ คือ การเอาข้อมูลมากางกัน ว่า มีความถูกต้องแค่ไหน อยากให้บอร์ดประกันสังคม ฟังเสียงท้วงติง เพราะสามารถประหยัดเงินได้อย่างมหาศาลต่อปี นำไปเพิ่มสิทธิประโยชน์อื่นๆ ได้อีก ถ้าจ่ายมากสุดก็เท่ากับข้าราชการ คือ 12,000 บาทแล้วยังเหลือเงิน 3,000 บาท ให้ผู้ประกันตนเป็นค่าห้องพิเศษอีกด้วย แค่นี้ก็ดีแล้ว

“การ ที่ รพ.เอกชน บอกว่า หากจะคุ้มทุนจริงๆอยู่ที่ RW ละ 25,000 บาทนั้น ก็เป็นที่ทราบกันดีว่า รพ.เอกชนมีเป้าหมายเพื่อการทำกำไรสูงสุด ถ้าเช่นก็เอาข้อมูลมาเปิดเผยกันเลยว่าท่านมีต้นทุนเท่าไหร่ กำไรเท่าไหร่ ผมพร้อมยินดีไปดูข้อมูล ศึกษาต้นทุนในโรงพยาบาลเอกชนกันจริงๆ ถ้าหากเป็นจริงผมก็จะน้อมรับ ที่ผ่านมาไม่มีรพ.เอกชนใดที่พร้อมจะเปิดเผยข้อมูลที่แท้จริงเลยว่าต้นทุน จริงๆ เท่าไหร่” ดร.นพ.พงศธร กล่าว

ASTVผู้จัดการออนไลน์ 18 ธันวาคม 2554 13:09 น.

พิมพ์ อีเมล

บทความใกล้เคียงกัน