พ.ร.บ.เยียวยาผู้ เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข เสนอเข้าสภาโดยคณะรัฐมนตรี แต่ประชาชนจะได้ประโยชน์อะไรจากพ.ร.บ.เยียวยาผู้เสียหายจากการรับ
เขียนโดย สุพัตรา ทองทัพ วันที่ . จำนวนผู้ชม: 3424
1.เมื่อไปรับการรักษาจาก โรงพยาบาล คลินิก ร้านขายยา หรือจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพใดๆก็ตาม แล้วเชื่อว่าตนเองหรือครอบครัวได้รับความเสียหายแล้ว มีสิทธิยื่นเรื่องขอเงินจากกองทุนมาเพื่อ “เยียวยา” ความเสียหายได้
2.คณะกรรมการผู้พิจารณาจ่ายเงินเยียวยาผู้เสียหายนั้น จะใช้หลักการอะไรก็ได้ในการพิจารณาจ่ายเงิน เนื่องจากไม่มีผู้มีความรู้ทางการแพทย์และสาธารณสุขอยู่ในคณะกรรมการ และการตัดสินใช้การนับคะแนนเสียงของคณะกรรมการ โดยตัดสินตามสียงข้างมาก และคณะกรรมการเลือกมาจากผู้ไม่มีความรู้ทางการแพทย์และสาธารณสุขเป็นส่วนมาก
3.การจ่ายเงินไม่ต้องมีการพิสูจน์ว่า การบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขนั้น เป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่ โดยไม่มีการพิสูจน์ว่าถูกหรือผิด แต่ใช้อารมณ์/ความรู้สึกของคณะกรรมการสียงข้างมาก
4.หลังจากประชาชนได้รับเงินเยียวยาแล้ว ยังมีสิทธิ์ไปฟ้องศาลอาญาได้อีก และศาลก็สามารถใช้ดุลพินิจโดยไม่มีขอบเขตว่า จะลงโทษบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขอีกหรือไม่ก็ได้ และถ้าศาลตัดสินว่า บุคลากรไม่ผิด ประชาชนก็ยังมีสิทธิกลับไปขอเงินเยียวยาได้อีก
5.เมื่อเป็นเช่นนี้ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ก็คงต้องหาทางป้องกันไม่ให้เกิด “ความเสียหาย” แก่ผู้ป่วยทุกๆวิถีทางได้แก่
5.1 ส่งผู้ป่วยไปรักษาที่อื่น เพื่อว่าตนเองจะไม่ต้องรับผิดชอบ ประชาชนก็จะเสียโอกาสในการได้รับการรักษาที่ทันเวลานาทีทอง ก็อาจต้องไปตายกลางทางระหว่างเดินทางไปโรงพยาบาลอื่น โดยต้องหารถไปเอง เพราะถ้าโรงพยาบาลเอารถโรงพยาบาลไปส่ง ก็อาจต้องรับผิดชอบจ่ายค่าเยียวยา เพราะตายบนรถของโรงพยาบาล
5.2 บุคลากรสาธารณสุขก็คงต้องส่งตรวจละเอียดครบทุกอย่าง เช่นผู้ป่วยปวดหัว แพทย์อาจต้องส่ง เอ๊กซเรย์กระโหลกศีรษะ ทำ CT scan, MRI ,EEG,Pet Scan. ซึ่งจะทำให้ไม่พลาดในการวินิจฉัยโรค แต่ประชาชนคนป่วยก็จะได้รับของแถมคือรังสีเอ๊กซเรย์ ซึ่งในอนาคตอาจจะเป็นสาเหตุให้เกิดเป็นมะเร็ง ส่วนรัฐบาลผู้จ่ายเงินค่ารักษาก็คงต้องควักเงินจำนวนมาก ในการตรวจพิเศษต่างๆเหล่านี้ และอาจเสียเวลานาน กว่าจะได้ตรวจครบทุกอย่าง ก่อนจะได้รับการรักษา ซึ่งอาจจะช้าเกินไป แต่สามารถอธิบายได้ว่าตรวจรักษาอย่างละเอียดรอบคอบ ตามคติที่ว่า “slow but sure”
5.3 ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยและบุคลากรสาธารณสุขก็คงจะดีขึ้นอย่างสุดๆ แบบว่า ผู้ป่วยมั่นใจว่าหมอจะรักษาอย่างดีที่สุด เพราะถ้ารักษาไม่ดี ก็จะต้องจ่ายเงินเยียวยา เมื่อโรงพยาบาลจ่ายเงินแล้ว ก็ยังไปไล่เบี้ยเอากับหมอหรือบุคลากรที่ทำให้เกิดความเสียหาย และยังจะถูกศาลตัดสินจำคุกได้อีก
ส่วนหมอก็คงจะรู้สึกรักและห่วงใยผู้ป่วยยิ่งกว่าชีวิตของตนเอง ต้องนั่งเฝ้าดูอาการผู้ป่วยตลอดทุกเวลานาที เพราะถ้าผู้ป่วยตาย หมอก็ต้องจ่ายเงินทำขวัญ และยังต้องไปชดใช้กรรมในการปล่อยให้ผู้ป่วยตายโดยสมควรตายและไม่สมควรตาย ฉะนั้น หมอจึงต้องใช้ความระมัดระวังในการดูแลชีวิตผู้ป่วยยิ่งกว่าชีวิตตนเอง
5.4 ประชาชนไทยก็จะมีแต่การเกิดอย่างเดียว ไม่สามารถจะตายได้ เพราะหมอต้องพยายามรักษาชีวิตประชาชนทุกคนอย่างดีที่สุด ยิ่งกว่าชีวิตตนเอง เพราะถ้ามีผู้ป่วยตายไป หมอก็คงถูกลงโทษให้ตายตกไปตามกัน
5.5 รัฐบาลที่เสนอออกพ.ร.บ.ฉบับนี้ ก็จะได้รับความไว้วางใจจากประชาชน ได้เป็นรัฐบาลตลอดกาล เพราะสามารถทำให้ประชาชนมั่นใจและไว้วางใจว่าจะปลอดภัยแน่นอนจากการไปโรง พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ที่ไม่อยากทำงานในโรงพยาบาลของรัฐบาล ก็ไม่ต้องลาออกอีกต่อไป เพราะจะถูกไล่เบี้ยจนไม่มีเงินจ่ายค่าเยียวยา จึงต้องถูกจำคุกแทนการเสียเงินค่าปรับ หรือถูกประหารให้ตายตกไปตามกันจนหมดไปจากโรงพยาบาล
ฉะนั้นรัฐบาลต้องรีบเข็นพ.ร.บ.นี้ให้ออกมาเป็นกฎหมายโดยเร็วที่ สุด เพื่อความมั่นคงของรัฐบาลเองและชีวิตนิรันดร์ของประชาชน ส่วนบุคลากรทางการแพทย์นั้นเป็นพลเมืองส่วนน้อย ก็ “ชั่งหัวมัน” จะอยู่หรือตายก็ไม่ต้องให้ความสนใจ
อ้างอิง:
พิมพ์
อีเมล