ดีเดย์ ผู้บริโภคเสนอ กม.คุ้มครองผู้เสียหายฯ
เขียนโดย มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) วันที่ . จำนวนผู้ชม: 4798
เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค นำ1หมื่นรายชื่อเสนอ กฎหมายคุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข ต่อประธานสภา
Consumerthai – 5 มิ.ย. 52 ที่รัฐสภา เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค นำโดย น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค นางปรียานันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ เข้ายื่นรายชื่อ 10,441 รายชื่อ ต่อนาย มิชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนฯ เพื่อเสนอ กฎหมายคุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข
(ร่าง) พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ...
กรอบแนวคิด หลักการ กฎหมายคุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข
โดย เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ เครือข่ายศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพ ภาคประชาชน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
วัตถุประสงค์ ๑
- เพื่อชดเชยผู้ได้รับความเสียหายจากการใช้บริการสาธารณสุข
- ครอบคลุมบุคคลที่ใช้บริการจากสถานพยาบาลที่เปิดดำเนิน การอย่างถูกต้องตามกม. (รวมร้านยาและสถานพยาบาลที่ไม่มีแพทย์)
- ครอบคลุมรายการการชดเชยที่ผู้เสียหายพึงได้รับตามกม.แพ่ง แต่มีเพดานวงเงิน (และอาจจะรวมการชดเชยค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลหากความเสียหายเกิดขึ้นไม่สามารถใช้จากระบบประกันสุขภาพที่มีอยู่)
- ชดเชยทั้งการบาดเจ็บกรณีทั้งเหตุสุดวิสัย (mishap) หรือเกิดจากความผิดพลาดทางการแพทย์ (medical error) โดยไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ความผิด
วัตถุประสงค์ ๒
- เพื่อลดการฟ้องร้องของผู้ป่วยต่อแพทย์และสถานพยาบาล และความขัดแย้งในปัจจุบัน
- ไม่จำกัดสิทธิในการฟ้องร้องทางแพ่ง แต่ไม่จ่ายเงินจนกว่าคดีจะสิ้นสุด - ไม่เกี่ยวข้องกับความผิดในคดีอาญา - การมีบทเฉพาะการให้ครอบคลุมบุคคลที่ดำเนินการฟ้องร้องต่อแพทย์หรือสถานพยาบาล(ใช้สิทธิทางศาลในปัจจุบัน)ให้สามารถใช้กระบวนตามกฎหมายนี้ได้ภายใน ๑๒๐ วัน
วัตถุประสงค์ ๓
- เพื่อสนับสนุนการยกระดับมาตรฐานการรักษา และเพื่อความปลอดภัยผู้ป่วย (patient safety) ในระยะยาว
- การจัดทำ non punitive error report โดยสถานพยาบาลที่มีผู้ร้องขอค่าชดเชย - การตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมโดยคณะกรรมการ (claim panel) เพื่อสรุปความเกี่ยวข้องกับการใช้บริการ - การเผยแพร่ข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อการป้องกัน - การใช้เงินกองทุนเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ระหว่างสถานพยาบาลและประชาชน
ที่มาของเงินกองทุน
- เงินสมทบจากสถานพยาบาลเอกชน โดยเรียกเก็บเมื่อต่อทะเบียนใบอนุญาตประจำปี
- เงินสมทบจากกองทุนประกันสุขภาพแห่งชาติ ตามมาตรา ๔๑ (ถ่ายโอนภารกิจการดำเนินงานเดิมมายังกองทุนใหม่)
- งบประมาณประจำปี
- กรณีการเก็บจากสถานพยาบาลเอกชน อาจจะจัดเก็บตาม experience rate และโอกาสเสี่ยง
กลไกบริหาร
- บริหารโดยหน่วยงานรัฐที่จัดตั้งขึ้นตาม กม. มีคณะกรรมการฯ เป็นผู้กำหนดนโยบาย มีบุคคลที่ได้รับการยอมรับเป็นกรรมการ
- การจ่ายเงินค่าชดเชยจะแบ่งเป็นอย่างน้อย ๒ ขั้นตอน
- ขั้นตอนแรก: การช่วยเหลือเบื้องต้น เมื่อสามารถพิสูจน์ได้ว่าเกี่ยวข้องกับการใช้บริการและเข้าหลักเกณฑ์ - ขั้นตอนที่สอง: การชดเชยความเสียหาย จ่ายหลังการประเมินรายละเอียดความเสียหาย และอาจมีการเจรจากับผู้ป่วย/ญาติเพื่อให้เกิดความเหมาะสมในการชดเชย (จำนวนเงินที่ชดเชยอาจทยอยจ่ายเป็นงวดๆ ให้สอดคล้องกับความจำเป็นของผู้ป่วย/ญาติ)
ขั้นตอนการขอเงินชดเชยฯ
- ผู้เสียหาย/ทายาทยืนคำร้องเพื่อขอเงินชดเชยภายในระยะเวลาไม่เกิน ๓ ปี หลังทราบความเสียหาย
- คณะอนุกก. พิจารณาคำร้องรับเรื่องและพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วัน
- หากเป็นผู้เสียหายตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ให้มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นตามอัตราที่กำหนด
- คณะอนุกก. ประเมินค่าชดเชยความเสียหาย ดำเนิน การให้แล้วเสร็จภายใน ๖๐ วัน
- ก่อนจ่ายเงินให้มีการจัดทำสัญญาชดใช้เงินคืนกรณีฟ้องต่อศาล
- หากไม่พอใจผลการตัดสินสามารถอุทธรณ์ใน ๓๐ วัน
หลักเกณฑ์เบื้องต้นในการจ่ายเงินชดเชยความเสียหาย
- ความเสียหายเกิดจากการใช้บริการสาธารณสุข
- ไม่ครอบคลุมความเสียหายที่เกิดจากพยาธิสภาพของโรค - ไม่ครอบคลุมความเสียหายเล็กน้อย
- เงินชดเชยครอบคลุม
- ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล (ในส่วนที่ไม่คุ้มครองโดยระบบประกันสุขภาพ) - ค่าขาดประโยชน์ทำมาได้ - ค่าชดเชยความทุกข์ทรมานทางจิตใจที่เป็นผลโดยตรงจากความเสียหายทางร่างกาย - ค่าชดเชยกรณีพิการ ทุพพลภาพ ค่าชดเชยกรณีเสียชีวิต ค่าชดเชยกรณีการขาดไร้อุปการะ
|
พิมพ์
อีเมล