บริการสุขภาพ

หมอนัดรวมพลหน้ารัฐสภา หากพิจารณาพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ

หมอ นัดรวมพลหน้ารัฐสภา 20 ต.ค. ร้องสภาฯหากพิจารณาพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข อ้างเพราะ ประธานสภาผู้แทนราษฎรประกาศไม่ชะลอร่างฯดังกล่าว...

เมื่อ เวลา16.30 น.  วันที่ 19 ต.ค. นพ.ฐาปนวงศ์ ตั้งอุไรวรรณ รองประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย(สผพท.) เปิดเผยกรณีที่นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประกาศชัดว่า ไม่ชะลอร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ..เนื่องจากร่างกฎหมายดังกล่าวได้บรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระการพิจารณานาน แล้ว และเตรียมเข้าสู่การพิจารณาในวันที่ 20 ตุลาคม ว่า ท่าทีดังกล่าวแสดงชัดเจนถึงการสนับสนุนร่างกฎหมายฉบับนี้ ทั้งๆ ที่ยังมีปัญหาอยู่ ดังนั้น ในวันที่ 20 ตุลาคม สผพท. จะดำเนินมาตรการรวมพลังบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขจากพื้นที่กทม. และปริมณฑล ทั้งโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) สังกัดกทม. โรงเรียนแพทย์ โรงพยาบาลเอกชนและคลินิกเอกชน รวมตัวกันมาประมาณ 400-500 คนมาชุมนุมหน้ารัฐสภา ตั้งแต่เวลา 09.00 น. เพื่อทวงถามความเป็นธรรม และขอให้รัฐบาลชะลอร่างกฎหมายดังกล่าว พร้อมทั้งรอการทำประชาพิจารณ์ เพื่อให้ได้ความคิดเห็นอย่างครบถ

“ขณะนี้ไม่สามารถมั่นใจใครได้ เกี่ยวกับการชะลอร่างกฎหมายฉบับนี้ เพราะดูเหมือสภาฯ ก็พยายามสนับสนุนร่างดังกล่าว ตอนนี้อยากฟังจากปากของนายกรัฐมนตรีเพียงคนเดียวว่า ตกลงจะผลักดันร่างพ.ร.บ.ฯ นี้โดยที่ไม่รอการทำประชาพิจารณ์จริงๆหรือไม่ พวกเราคงทำได้เพียงการแสดงพลังให้รับรู้ว่า ยังมีกลุ่มแพทย์บุคลากรสาธารณสุขจำนวนมากที่ได้รับผลกระทบจากเรื่องนี้” นพ.ฐาปนวงศ์ กล่าว และว่า ในส่วนของมาตรการให้ทุกโรงพยาบาลทั่วประเทศยืนถือป้ายประท้วงหน้าโรงพยาบาล ด้วยนั้น คงไม่ดำเนินการในส่วนนี้ เนื่องจากขณะนี้พื้นที่ต่างจังหวัดประสบปัญหาน้ำท่วมกันมาก จึงจะขอความร่วมมือในส่วนของพื้นที่กทม.ทางเดียวก่อน

ด้าน นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ กล่าวว่า รู้สึกอุ่นใจที่จะมีการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ฯ ตามวาระของสภาฯ แต่ขณะเดียวกันก็กังวลถึงท่าทีของวิปรัฐบาลที่ยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับ เรื่องนี้ เพราะไม่รู้ว่าสุดท้ายจะออกมาในรูปแบบใด ซึ่งหวังว่าสภาฯ และรัฐบาลจะเห็นใจและต้องการช่วยเหลือประชาชนจริงๆ

ส่วน นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า ชมรมฯไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียกับเรื่องนี้ แต่ที่ต้องออกมาแสดงความคิดเห็น เนื่องจากเห็นว่ากฎหมายฉบับนี้มีประโยชน์ต่อประชาชนทุกคน เพราะไม่มีใครทราบว่าจะตกเป็นผู้เสียหายฯ เมื่อไร แต่เมื่อมีความเห็นไม่ตรงกันก็ควรแก้ไข ซึ่งควรไปแก้ไขในสภาฯ ดังนั้น เห็นด้วยกับการที่นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาฯ ประกาศชัดเกี่ยวกับเรื่องนี้ให้ร่างกฎหมายฉบับนี้เป็นไปตามวาระการพิจารณา ของสภาฯ ส่วนที่มีบางฝ่ายออกมาคัดค้านก็เป็นเพียงกลุ่มเดียวเท่านั้น ไม่ใช่ทั้งประเทศ ส่วนการชุมนุมเรียกร้องหน้ารัฐสภา ถือเป็นสิทธิที่สามารถกระทำได้

 

อ้างอิง: www.thairath.co.th/content/pol/120096

 


พิมพ์ อีเมล

บทความใกล้เคียงกัน