บริการสุขภาพ

ถึงเวลาปฏิรูปอาหารปลอดภัย

consumerthai - เมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2553 ได้มีการจัดเวทีประชุมนโยบายสาธารณะเรื่อง “ปฏิรูปประเทศไทย ปฏิรูประบบอาหารปลอดภัย” โดย แผนงานสร้างเสริมการเรียนรู้กับสถาบันอุดมศึกษาไทยเพื่อการพัฒนานโยบายสาธารณะที่ดี (นสธ.) ภายใต้การสนับสนุนของ สสส. และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ที่โรงแรงรามาการ์เดน

ในการประชุมครั้งนี้ได้มีการหยิบยกประเด็นสถานการณ์อาหารในประเทศไทยที่น่าสนใจและเป็นปัญหาหลากหลายประเด็นมานำเสนอให้กับผู้เข้าร่วมประชุมได้รับทราบกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของระบบการเฝ้าระวังอาหารไม่ปลอดภัย ทั้งในส่วนของอาหารในประเทศและอาหารนำเข้า โดยมีวิทยากรคือ รศ.ดร.นวลศรี รักอริยะธรรม ผอ.ศูนย์บริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์ ม.เชียงใหม่ และผศ.ดร.พรรัตน์ สินชัยพานิช สถาบันโภชนาการ ม.มหิดล

โดยเป็นสรุปข้อมูลจากการทำงานจริง ทั้งการลงพื้นที่เพื่อเก็บตัวอย่างอาหารที่เสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัยทั่วประเทศเพื่อส่งทดสอบทางวิทยาศาสตร์ หรือการติดตามเฝ้าระวังและเก็บข้อมูลในด่านตรวจอาหารตามชายแดน ซึ่งผลจากการทำงานยังพบว่ามีอาหารที่เสี่ยงอันตรายอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งสารเคมีปนเปื้อนในอาหารนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ว่าจะเป็น อาหารแห้ง ขนม อาหารทะเล ส่วนอาหารในประเทศก็พบปัญหาในหลายประเภท ทั้งเรื่องสารกันบูดมากเกินไปในอาหารเนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ลูกชิ้น ไส้กรอก เรื่องสารเคมีตกค้างในผัก  ซึ่งผลการทดสอบความปลอดภัยในอาหารทั้งหมดจากการทำโครงการครั้งนี้ ผู้ที่สนใจข้อมูลสามารถเข้าไปดูได้ที่ www.tumdee.org/food

นอกจากนี้ในที่ประชุมยังได้หารือถึงข้อเสนอต่อการปฏิรูประบบอาหารปลอดภัย โคยผู้แทนภาคีจากหลายภาคส่วน โดยนางดารณี หมู่ขจรพันธ์ นักวิชาการอาหารและยา ตัวแทนจาก อย. ที่กล่าวว่าขณะนี้ อย. กำลังพลักดันกฏหมายอาหารฉบับใหม่อยู่ แต่การออกตัวข้อกำหนดต่างๆ จำเป็นต้องอิงกับทุกภาคส่วน ทั้งผู้นำเข้า ผู้ส่งออก ผู้ผลิตจากต่างประเทศ และผู้บริโภค

ขณะที่ข้อเสนอของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดย ดร.พิเชษฐ อิฐกอ เห็นว่า ควรนำมาตรฐานอาหารสากลหรือ codex มาใช้ในประเทศไทย พร้อมทั้งผลักดันให้เกิดกระบวนการวิเคราะห์อาหารปลอดภัยที่เป็นระบบและเข้มแข็งขึ้น

ด้านนายไพโรจน์ สันตนิรันดร์ ผอ.กองสุขาภิบาลอาหาร สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร เสนอให้หน่วยงานที่ทำงานด้าน food safety ทั้งหมดในประเทศไทยทำงานให้เป็นหนึ่งเดียวกัน ให้ระบบและข้อกำหนดต่างๆ ในมาตรฐานเดียวกัน และเน้นให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้นโดยภาครัฐจะต้องเป็นฝ่ายช่วยเหลือและสนับสนุนให้เกิดกลไกลดังกว่าง พร้อมทั้งยังมองว่ากฏหมายอาหารที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเอื้อต่อภาคเศรษฐกิจมากกว่าเรื่องความปลอดภัยของประชาชน

นางนิดดา หงษ์วิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการบริษัท สำนักพิมพ์แสงแดด จำกัด บรรณาธิการบริหารนิตยสารครัว ในฐานะตัวแทนผู้บริโภค มองไปถึงเรื่องปัญหาอาหารไม่ปลอดภัยในเด็ก ทั้งเรื่องการโฆษณาขนมที่ไม่มีประโยชน์ในรายการทีวีที่มากเกินไป ซึ่งเป็นผลทำให้เด็กทานหวาน แป้ง และไขมัน มากเกินไป ทำให้เด็กป่วยเป็นโรคอ้วน เบาหวาน โรคหัวใจ คุณนิดดายังห่วงเรื่องพลาสติกที่นำมาใส่อาหารที่ผลวิจัยยืนยันแล้วว่ามีสารที่เป็นอันตรายต่อเซลล์และ DNA ในร่างกาย โดยเฉพาะขวดนมพลาสติกที่ต้องโดนทั้งความร้อน ไขมัน และกรด ซึ่งล้วนเป็นสาเหตุทำให้สารเคมีที่เป็นอันตรายหลุดร่อนออกมา วอนให้ภาครัฐออกกฏหมายควบคุม

นอกจากนี้นางสาวคุณสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เสนอให้มีองค์การอิสระเพื่อผู้บริโภคซึ่งจะทำให้การทำงานของภาคประชาชนมีน้ำหนักและสามารถสร้างกระบวนทำงานได้แข็งแรงและยอมรับจากสังคมมากขึ้น และเสนอให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการออกกฏหมายควบคุมการใช้สารเคมีทางการเกษตร พร้อมปฏิรูประบบการเษตรให้เป็นมิตรกับผู้บริโภค ลดการใช้สารเคมี

ถึงเวลาปฏิรูปอาหารปลอดภัย
consumerthai - เมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2553 ได้มีการจัดเวทีประชุมนโยบายสาธารณะเรื่อง “ปฏิรูปประเทศไทย ปฏิรูประบบอาหารปลอดภัย” โดย แผนงานสร้างเสริมการเรียนรู้กับสถาบันอุดมศึกษาไทยเพื่อการพัฒนานโยบายสาธารณะที่ดี (นสธ.) ภายใต้การสนับสนุนของ สสส. และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ที่โรงแรงรามาการ์เดน
ในการประชุมครั้งนี้ได้มีการหยิบยกประเด็นสถานการณ์อาหารในประเทศไทยที่น่าสนใจและเป็นปัญหาหลากหลายประเด็นมานำเสนอให้กับผู้เข้าร่วมประชุมได้รับทราบกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของระบบการเฝ้าระวังอาหารไม่ปลอดภัย ทั้งในส่วนของอาหารในประเทศและอาหารนำเข้า โดยมีวิทยากรคือ รศ.ดร.นวลศรี รักอริยะธรรม ผอ.ศูนย์บริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์ ม.เชียงใหม่ และผศ.ดร.พรรัตน์ สินชัยพานิช สถาบันโภชนาการ ม.มหิดล
โดยเป็นสรุปข้อมูลจากการทำงานจริง ทั้งการลงพื้นที่เพื่อเก็บตัวอย่างอาหารที่เสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัยทั่วประเทศเพื่อส่งทดสอบทางวิทยาศาสตร์ หรือการติดตามเฝ้าระวังและเก็บข้อมูลในด่านตรวจอาหารตามชายแดน ซึ่งผลจากการทำงานยังพบว่ามีอาหารที่เสี่ยงอันตรายอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งสารเคมีปนเปื้อนในอาหารนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ว่าจะเป็น อาหารแห้ง ขนม อาหารทะเล ส่วนอาหารในประเทศก็พบปัญหาในหลายประเภท ทั้งเรื่องสารกันบูดมากเกินไปในอาหารเนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ลูกชิ้น ไส้กรอก เรื่องสารเคมีตกค้างในผัก  ซึ่งผลการทดสอบความปลอดภัยในอาหารทั้งหมดจากการทำโครงการครั้งนี้ ผู้ที่สนใจข้อมูลสามารถเข้าไปดูได้ที่ www.tumdee.org/food
นอกจากนี้ในที่ประชุมยังได้หารือถึงข้อเสนอต่อการปฏิรูประบบอาหารปลอดภัย โคยผู้แทนภาคีจากหลายภาคส่วน โดยนางดารณี หมู่ขจรพันธ์ นักวิชาการอาหารและยา ตัวแทนจาก อย. ที่กล่าวว่าขณะนี้ อย. กำลังพลักดันกฏหมายอาหารฉบับใหม่อยู่ แต่การออกตัวข้อกำหนดต่างๆ จำเป็นต้องอิงกับทุกภาคส่วน ทั้งผู้นำเข้า ผู้ส่งออก ผู้ผลิตจากต่างประเทศ และผู้บริโภค
ขณะที่ข้อเสนอของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดย ดร.พิเชษฐ อิฐกอ เห็นว่า ควรนำมาตรฐานอาหารสากลหรือ codex มาใช้ในประเทศไทย พร้อมทั้งผลักดันให้เกิดกระบวนการวิเคราะห์อาหารปลอดภัยที่เป็นระบบและเข้มแข็งขึ้น
ด้านนายไพโรจน์ สันตนิรันดร์ ผอ.กองสุขาภิบาลอาหาร สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร เสนอให้หน่วยงานที่ทำงานด้าน food safety ทั้งหมดในประเทศไทยทำงานให้เป็นหนึ่งเดียวกัน ให้ระบบและข้อกำหนดต่างๆ ในมาตรฐานเดียวกัน และเน้นให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้นโดยภาครัฐจะต้องเป็นฝ่ายช่วยเหลือและสนับสนุนให้เกิดกลไกลดังกว่าง พร้อมทั้งยังมองว่ากฏหมายอาหารที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเอื้อต่อภาคเศรษฐกิจมากกว่าเรื่องความปลอดภัยของประชาชน
นางนิดดา หงษ์วิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการบริษัท สำนักพิมพ์แสงแดด จำกัด บรรณาธิการบริหารนิตยสารครัว ในฐานะตัวแทนผู้บริโภค มองไปถึงเรื่องปัญหาอาหารไม่ปลอดภัยในเด็ก ทั้งเรื่องการโฆษณาขนมที่ไม่มีประโยชน์ในรายการทีวีที่มากเกินไป ซึ่งเป็นผลทำให้เด็กทานหวาน แป้ง และไขมัน มากเกินไป ทำให้เด็กป่วยเป็นโรคอ้วน เบาหวาน โรคหัวใจ คุณนิดดายังห่วงเรื่องพลาสติกที่นำมาใส่อาหารที่ผลวิจัยยืนยันแล้วว่ามีสารที่เป็นอันตรายต่อเซลล์และ DNA ในร่างกาย โดยเฉพาะขวดนมพลาสติกที่ต้องโดนทั้งความร้อน ไขมัน และกรด ซึ่งล้วนเป็นสาเหตุทำให้สารเคมีที่เป็นอันตรายหลุดร่อนออกมา วอนให้ภาครัฐออกกฏหมายควบคุม
นอกจากนี้นางสาวคุณสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เสนอให้มีองค์การอิสระเพื่อผู้บริโภคซึ่งจะทำให้การทำงานของภาคประชาชนมีน้ำหนักและสามารถสร้างกระบวนทำงานได้แข็งแรงและยอมรับจากสังคมมากขึ้น และเสนอให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการออกกฏหมายควบคุมการใช้สารเคมีทางการเกษตร พร้อมปฏิรูประบบการเษตรให้เป็นมิตรกับผู้บริโภค ลดการใช้สารเคมี

พิมพ์ อีเมล

บทความใกล้เคียงกัน