ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มีมติไม่เห็นด้วยกับมติ คณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 1 ก.ย. ที่ให้โอนย้ายคู่สมรสและบุตรของผู้ประกันตนสิทธิประกันสังคมจำนวน 5.88 ล้านคน จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไปอยู่กับสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เนื่องจากไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาระบบการบริการสาธารณสุขของประเทศ
นายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ดสปสช. เห็นด้วยกับข้อเสนอจากที่ประชุมคณะทำงานของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขก่อน หน้านี้ ว่านโยบายดังกล่าวเป็นการเพิ่มภาระงบประมาณให้กับสปสช. เนื่องจากได้โอนย้ายกลุ่มประชากรที่เป็นวัยที่มีอัตราเสี่ยงต่อการป่วยน้อย ออกจากระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
“แม้สปสช.มีมติไม่เห็นด้วยกับนโยบายดังกล่าวไม่น่าเป็นปัญหา หากรัฐบาลจะดำเนินการนโยบายนี้ต่อไปก็อีกนาน เพราะต้องฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน จากนี้ สปสช.จะทำบันทึกความเห็นเสนอต่อครม.ต่อไป” นายวิทยา กล่าว
นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการสปสช. กล่าวว่า สาเหตุที่นักวิชาการและตัวแทนผู้ประกันตนไม่เห็นด้วยกับการโอนสิทธิดังกล่าว มี 3 ประเด็นคือ 1.กระทบการดูแลสุขภาพของประชาชนที่ไม่แน่ใจว่าโอนสิทธิแล้วจะได้รับบริการ ที่ดีกว่าเดิม 2.หลักการของสปส.เป็นการจ่ายสมทบ 3 ฝ่าย หากโอนคน 5.88 ล้านคน ไปอยู่สปส. และได้รับสิทธิประโยชน์เท่าเทียมกับผู้ประกันตนที่จ่ายเงินหรือไม่
ขณะที่สิทธิประโยชน์ผู้ประกันตนที่มีอยู่ก็ยังให้บริการได้ไม่เต็ม ที่ หรือมีสิทธิแต่ไม่ได้รับบริการ 3.ระบบสปส.ออกแบบให้รองรับการใช้บริการเขตเมืองไม่ครอบคลุม ในพื้นที่ชนบท จึงอาจกระทบ ต่อคุณภาพการบริการให้กับประชาชนได้
สำหรับข้อมูลการเบิกยาของ 40 โรงพยาบาลในระบบหลัก ประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือบัตรทอง ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-ก.ค. 2552 มีทั้งสิ้น 1,370 รายการ มีมูลค่า รวม 18,290,888.35 บาท หรือ คิดเป็น 7.23% ของงบประมาณ ทั้งหมด
นสพ.โพสต์ทูเดย์ 15/09/52