เครือข่ายภาคประชาสังคม จี้กรมทรัพย์สินทางปัญญา คัดค้านแผนออกคำสั่ง คสช.ตามมาตรา 44 เร่งแก้ปัญหาสิทธิบัตรล่าช้า เสนอคัดแยกสิทธิบัตรยา โดยเสนอตั้งคณะกรรมการร่วมที่มีตัวแทน จาก อย.และนักวิชาการ ร่วมพิจารณาคำขอ เพื่อความรอบคอบในการให้สิทธิบัตร
เครือข่ายภาคประชาสังคม จี้กรมทรัพย์สินทางปัญญา คัดค้านแผนออกคำสั่ง คสช.ตามมาตรา 44 เร่งแก้ปัญหาสิทธิบัตรล่าช้า เสนอคัดแยกสิทธิบัตรยา โดยเสนอตั้งคณะกรรมการร่วมที่มีตัวแทน จาก อย.และนักวิชาการ ร่วมพิจารณาคำขอ เพื่อความรอบคอบในการให้สิทธิบัตร
วันนี้ (7มี.ค.2560) น.ส.กรรณิการ์ กิจติเวชกุล รองประธานกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน หรือ เอฟทีเอ วอชท์ พร้อมเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวีเอดส์ ประเทศไทย และมูลนิธิเข้า ถึงเอดส์ เข้าพบ นายทศพล ตังสุบุตร อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อคัด ค้านแผนออกคำสั่งตามมาตรา 44 เพื่อเร่งออกสิทธิบัตรที่ค้างอยู่ 36,000 คำขอ โดยเฉพาะสิทธิบัตรยา หากไม่พิจารณาอย่างรอบคอบ อาจส่งผลให้เกิดการผูกขาดตลาดยาราคาแพง กระทบการเข้าถึงยาของประชาชน
พร้อมนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาการออกสิทธิบัตรล่าช้า โดยไม่ต้องใช้มาตรา 44 ด้วยการให้กรมทรัพย์สินทางปัญญา คัดแยกคำขอสิ่งประดิษฐ์ที่ไม่ได้รับการคุ้มครอง ตามกฎหมายสิทธิบัตรปี 2522 แก้ไขเพิ่มเติมปี 2542 ในมาตรา 9 เช่น คำขอที่เกี่ยวกับจุลชีพ หรือส่วนประ กอบใดส่วนประกอบหนึ่งของจุลชีพ ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ สัตว์ พืช หรือสารสกัดสัตว์ หรือพืช ออกจากระบบการตรวจสอบและการพิจารณา และตั้งคณะกรรมการร่วมพิจารณาสิทธิบัตรยาที่มีตัวแทนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา รวมถึงนักวิชาการ ร่วมพิจารณาตรวจสอบคัดแยกคำขอ
น.ส.กรรณิการ์ บอกอีกว่า นอกจากนี้ คำขอที่ยื่นค้างเกิน 2 ปี ให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาประกาศโฆษณาให้สาธารณชนรับทราบ โดยทำเว็บไซต์ที่สามารถค้นหาได้ทันที พร้อมทั้งปรับปรุงขั้นตอนการดำเนินการให้รวดเร็วขึ้น เช่น การรื้อระบบประกาศโฆษณา ระยะเวลาการยื่นตรวจสอบ เพิ่มระยะเวลาการคัดค้านคำขอเพื่อประโยชน์สาธารณะ
รวมถึงสนับสนุนและให้บริการแก่บริษัทยาสามัญของไทย ในการตรวจสอบว่ายาในบัญชีนวัตกรรม หรือยาที่บริษัทยาชื่อสามัญของไทยสนใจและมีศักยภาพในการผลิต ติดสิทธิบัตรหรือไม่
ขณะที่ นายทศพล กล่าวว่า จะนำข้อเสนอทั้งหมดนี้ ส่งต่อไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รวมถึงหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ถึงความเป็นไปได้ของคณะกรรมการร่วมพิจารณาสิทธิบัตรยา
ข้อมูลจาก ThaiPBS