เมื่อ กลางเดือนที่ผ่านมา มีคนไทยคนหนึ่งได้รับการยกย่องจากสถาบันต่างประเทศให้เป็น 1 ใน 50 บุคคลสำคัญของโลก น่าแปลกที่ข่าวคราวค่อนข้างเงียบเหงา มีเพียงข่าวแจกของหน่วยราชการ และข่าวออนไลน์อีก 1 ชิ้นเท่านั้น เทียบไม่ได้กับข่าวน้องหม่องได้รางวัลจากการแข่งเครื่องบินพับ
"คน ไทย" ที่ว่านี้ คือ นายอลงกรณ์ พลบุตร ส.ส.เพชรบุรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ของไทย ที่ได้รับการเลือกเป็น The 50 Most Influential People in IP ของโลก จากการ "คัดสรร" ของนิตยสาร Managing Intellectual Property ประจำเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2552
ซึ่ง ทางนิตยสารระบุว่า การเลือก 50 บุคคลสำคัญ ที่มีบทบาทอย่างสูงในวงการทรัพย์สินทางปัญญานั้นไม่มีการจัดอันดับ ไม่มีการลงคะแนนเสียง และไม่มีการว่าจ้างหรือรับจ้างให้ลงในบทความ
"นิตยสาร ได้แสดงความชื่นชมบทบาทของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ด้านการปราบปรามการ ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ที่ต้องเผชิญกับความท้าทายหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนา เช่น ไทย ซึ่งมีทรัพยากรจำกัด กอปรกับในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจเช่นนี้ที่รัฐบาลหลายประเทศอาจให้ความสำคัญกับ การสร้างงานโดยไม่สนใจว่าจะเป็นงานลอกเลียนแบบที่ผิดกฎหมายหรือไม่ มากกว่าการป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาอย่างจริงจัง นิตยสารยังได้กล่าวชื่นชมความพยายามของรัฐมนตรีช่วยว่าการ ในการดำเนินงานต่างๆ เพื่อมุ่งถอดประเทศไทยออกจาก PWL ด้วยการผลักดันร่างแก้ไขกฎหมายลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้า เพื่อเอาผิดผู้ซื้อ ผู้ครอบครอง และผู้ให้เช่าพื้นที่ ขายสินค้าละเมิด เป็นต้น" (คัดลอกจากข่าวประชุม ครม.)
ถ้าดูจากคำยกย่องชื่นชม ก็น่าที่คนไทยจะร่วมชื่นชม แต่เหตุใด การได้รับคัดสรรเป็น 1 ใน 50 บุคคลสำคัญของโลก จึงเงียบเช่นนี้ ไม่เพียงเท่านั้น ยังอาจเป็นความเงียบที่ซ่อนความกระอักกระอ่วนของสังคมไทยก็ได้?
จึง สมควรที่คนไทยจะร่วมแบ่งปัน "ความรู้สึก" ที่ว่า ผ่านการย้อนกลับไปดูผลงานต่างๆ ที่รัฐมนตรีช่วยฯ พาณิชย์คนนี้ทำเอาไว้จนปรากฏเป็นเครื่องเบิกทางไปสู่ตำแหน่ง 50 บุคคลสำคัญของโลก
กลางเดือนมีนาคม 2552 นายอลงกรณ์ ในฐานะรัฐมนตรีช่วยพาณิชย์ ได้เดินทางไปพบผู้แทนการค้าสหรัฐ (USTR) และตัวแทน PhRMA สมาคมอุตสาหกรรมยายักษ์ใหญ่ของสหรัฐ แม้ว่าเมื่อเดินทางกลับมาประเทศไทย จะปฏิเสธว่าไม่ได้ไปรับปากที่จะแก้ไขกฎหมายเพิ่มความคุ้มครองด้านทรัพย์สิน ทางปัญญาให้สูงไปกว่ากฎหมายไทยที่มีอยู่
แต่ต่อมาก็พบว่า ในรายงาน Special 301 Report ของ USTR ได้ระบุถึงการที่รัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไปรับปากที่จะให้ความสำคัญในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาให้สูงขึ้น [The United States is encouraged, howiver, by the positive statements made by senior Thai officials in Prime Minister Abhisit"s Administration, which has been in office since mid-December 2008, on the new Government"s intentions to make IPR protection and inforcement a higher priority and to address the longstanding deficiencies in IPR protection in Thailand]
ซึ่งสร้างความพึงพอใจแก่ผู้แทนการค้าสหรัฐอย่างมาก
กลาง ดึกวันที่ 6 พฤษภาคม 2552 กลุ่มชายชุดดำปฏิบัติการอย่างอุกอาจยึดสินค้าของพ่อค้าแม่ขายย่านพัฒนพงศ์ โดยให้เหตุผลว่า เป็นสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งจนถึงขณะนี้ปฏิบัติการที่ว่านั้น ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ยังคงเป็นเรื่องในชั้นศาล
อย่างไรก็ตาม คณะรัฐมนตรีได้ตั้งข้อสังเกตหลังเหตุการณ์ว่า
"กระทรวง พาณิชย์ควรกำหนดมาตรการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาอย่างรัดกุมและ เป็นธรรม เพื่อป้องกันมิให้เหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นอีก และควรมุ่งเน้นการปราบปรามแหล่งผลิตเป็นหลัก"
เช่นเดียวกับความเห็น ของรัฐสภา ที่เห็นว่า "การใช้หน่วยเฉพาะกิจของกระทรวงพาณิชย์ดำเนินการปราบปรามอย่างไม่ถูกขั้นตอน เนื่องจากไม่มีตัวแทนเจ้าของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาเข้าร่วม ไม่มีการแยกแยะสินค้าที่ละเมิดและไม่ละเมิด พร้อมทั้งขอให้กระทรวงพาณิชย์ทบทวนการปฏิบัติหน้าที่"
ปลายเดือน พฤษภาคม 2552 ให้กรมทรัพย์สินทางปัญญารับจดสิทธิบัตรยีนข้าวหอมมะลิ และได้ให้นโยบายแก่กรมทรัพย์สินทางปัญญาที่จะต้องรับจดสิทธิบัตรในพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ทุกชนิดนั้น ทั้งๆ ที่กฎหมายไทยไม่อนุญาต
เดือนกรกฎาคม 2552 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการยุทธศาสตร์ทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติ และแผนเร่งรัดการป้องกันและปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ตามที่นายอลงกรณ์เสนอ
ซึ่งขณะนี้ภาคประชาสังคมทำหนังสือถึงนายก รัฐมนตรี ขอใช้สิทธิตามมาตรา 11 ในพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 เพื่อขอให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติจัดให้มีการทบทวนยุทธศาสตร์ฯ และแผนเร่งรัดการป้องกันและปราบปราม เพื่อปกป้องสิทธิประโยชน์ของผู้ป่วยและผู้บริโภคชาวไทย
สาเหตุสำคัญ ของการขอทบทวนคือ ยุทธศาสตร์ทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติ และแผนเร่งรัดให้ความสำคัญและเน้นย้ำเพียงการปราบปราม การคุ้มครองผู้ทรงสิทธิ แต่มิได้ให้ความสำคัญอย่างเพียงพอกับการเข้าถึงเทคโนโลยีของคนไทย การถ่ายเทคโนโลยีสู่ประเทศไทย และการคุ้มครองผู้บริโภคคนไทย ซึ่งเป็นอีกด้านหนึ่งของระบบทรัพย์สินทางปัญญาที่ต้องมีความสมดุลกัน และยังขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำนโยบายสาธารณะที่มีผลกระทบต่อ สุขภาพยังขัดแย้งกับมติคณะรัฐมนตรีก่อนหน้านี้
นอกจากนี้ แนวทางการปรามปราม ยังดึงหน่วยงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปราบปรามสินค้าละเมิดทรัพย์สินทาง ปัญญา โดยเฉพาะกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ ให้ต้องเพิ่มภาระหน้าที่และปันส่วนงบประมาณ ซึ่งเป็นภาษีของประชาชนเพื่อปกป้องสินทรัพย์เอกชน และยังเสี่ยงต่อการบังคับให้หน่วยงานไปทำงานเป็นตำรวจทรัพย์สินทางปัญญา ทั้งๆ ที่หน้าที่หลักคือ การแลเรื่องความปลอดภัยของยา เช่น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
ซึ่งประเด็นนี้เกินไปกว่าความ ตกลงด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่ไทยผูกพันอยู่ หรือที่เรียกว่า ทริปส์ผนวก (TRIPS+) ซึ่งจะนำไปสู่การกีดกันยาชื่อสามัญเข้าสู่ตลาด นั่นเท่ากับเปิดโอกาสให้ยาต้นแบบสามารถผูกขาดและคงราคาสูงมากต่อไป
บทบาทรัฐมนตรีช่วยฯพาณิชย์ แม้จะได้รับการ "ยกยอ" ให้เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในโลกทัศน์แบบสหรัฐอเมริกา
อย่างไรก็ตาม ก็ได้สร้างความกังวลแก่นักสิทธิมนุยชนอย่างมาก โดย นายอนันด์ โกรเวอร์ (Anand Grover) ผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติด้านสิทธิในสุขภาพ (UN Special Rapporteur on the right to health) ได้ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมจากภาคประชาสังคมไทยที่ทำงานด้านการเข้าถึงยา เพื่อติดตาม ตรวจสอบว่า ยุทธศาสตร์ทรัพย์สินทางปัญญา และแผนเร่งรัดปราบปรามดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสิทธิทางสุขภาพของประชาชนหรือ ไม่ เพื่อจะได้ทำรายงานเสนอต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
คงจะไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า ความพยายามทั้งหมดของนายอลงกรณ์ในฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการ ก.พาณิชย์ ไม่ใช่ Plan of Action ที่ไปรับปาก USTR มาตั้งแต่เมื่อเดือนมีนาคม เพราะรายงานการประชุมของคณะกรรมการนโยบายด้านการป้องกันและปราบปรามการ ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ครั้งที่ 3/2522 ที่นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ระบุอย่างชัดเจนว่า แผนเร่งรัดการป้องกันและปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญานั้น ทำขึ้นเพื่อให้สหรัฐถอดไทยออกจากบัญชีประเทศที่ถูกจับตามองพิเศษ (PWL)
จริงอยู่ในฐานะผู้กำหนดนโยบาย มีสิทธิที่จะทำเช่นนั้น แต่การจัดทำแผนเร่งรัดฯนี้ เพื่อเอาใจอเมริกา โดยไม่สนใจว่า ผลของแผนจะส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงยา และการเข้าถึงความรู้ของประชาชนคนไทยอย่างไรบ้าง เป็นเรื่องน่าผิดหวังอย่างยิ่ง
ทั้งที่เรื่องนี้เป็นนโยบาย สาธารณะของประเทศ ควรจะมีกระบวนการจัดทำนโยบายที่ชัดเจน โปร่งใส ศึกษาถึงผลดีผลเสียของแผนเร่งรัดฯ และรับฟังความคิดเห็นอย่างกว้างขวางขวางและรอบด้าน
"คน ไทย" ที่ว่านี้ คือ นายอลงกรณ์ พลบุตร ส.ส.เพชรบุรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ของไทย ที่ได้รับการเลือกเป็น The 50 Most Influential People in IP ของโลก จากการ "คัดสรร" ของนิตยสาร Managing Intellectual Property ประจำเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2552
ซึ่ง ทางนิตยสารระบุว่า การเลือก 50 บุคคลสำคัญ ที่มีบทบาทอย่างสูงในวงการทรัพย์สินทางปัญญานั้นไม่มีการจัดอันดับ ไม่มีการลงคะแนนเสียง และไม่มีการว่าจ้างหรือรับจ้างให้ลงในบทความ
"นิตยสาร ได้แสดงความชื่นชมบทบาทของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ด้านการปราบปรามการ ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ที่ต้องเผชิญกับความท้าทายหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนา เช่น ไทย ซึ่งมีทรัพยากรจำกัด กอปรกับในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจเช่นนี้ที่รัฐบาลหลายประเทศอาจให้ความสำคัญกับ การสร้างงานโดยไม่สนใจว่าจะเป็นงานลอกเลียนแบบที่ผิดกฎหมายหรือไม่ มากกว่าการป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาอย่างจริงจัง นิตยสารยังได้กล่าวชื่นชมความพยายามของรัฐมนตรีช่วยว่าการ ในการดำเนินงานต่างๆ เพื่อมุ่งถอดประเทศไทยออกจาก PWL ด้วยการผลักดันร่างแก้ไขกฎหมายลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้า เพื่อเอาผิดผู้ซื้อ ผู้ครอบครอง และผู้ให้เช่าพื้นที่ ขายสินค้าละเมิด เป็นต้น" (คัดลอกจากข่าวประชุม ครม.)
ถ้าดูจากคำยกย่องชื่นชม ก็น่าที่คนไทยจะร่วมชื่นชม แต่เหตุใด การได้รับคัดสรรเป็น 1 ใน 50 บุคคลสำคัญของโลก จึงเงียบเช่นนี้ ไม่เพียงเท่านั้น ยังอาจเป็นความเงียบที่ซ่อนความกระอักกระอ่วนของสังคมไทยก็ได้?
จึง สมควรที่คนไทยจะร่วมแบ่งปัน "ความรู้สึก" ที่ว่า ผ่านการย้อนกลับไปดูผลงานต่างๆ ที่รัฐมนตรีช่วยฯ พาณิชย์คนนี้ทำเอาไว้จนปรากฏเป็นเครื่องเบิกทางไปสู่ตำแหน่ง 50 บุคคลสำคัญของโลก
กลางเดือนมีนาคม 2552 นายอลงกรณ์ ในฐานะรัฐมนตรีช่วยพาณิชย์ ได้เดินทางไปพบผู้แทนการค้าสหรัฐ (USTR) และตัวแทน PhRMA สมาคมอุตสาหกรรมยายักษ์ใหญ่ของสหรัฐ แม้ว่าเมื่อเดินทางกลับมาประเทศไทย จะปฏิเสธว่าไม่ได้ไปรับปากที่จะแก้ไขกฎหมายเพิ่มความคุ้มครองด้านทรัพย์สิน ทางปัญญาให้สูงไปกว่ากฎหมายไทยที่มีอยู่
แต่ต่อมาก็พบว่า ในรายงาน Special 301 Report ของ USTR ได้ระบุถึงการที่รัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไปรับปากที่จะให้ความสำคัญในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาให้สูงขึ้น [The United States is encouraged, howiver, by the positive statements made by senior Thai officials in Prime Minister Abhisit"s Administration, which has been in office since mid-December 2008, on the new Government"s intentions to make IPR protection and inforcement a higher priority and to address the longstanding deficiencies in IPR protection in Thailand]
ซึ่งสร้างความพึงพอใจแก่ผู้แทนการค้าสหรัฐอย่างมาก
กลาง ดึกวันที่ 6 พฤษภาคม 2552 กลุ่มชายชุดดำปฏิบัติการอย่างอุกอาจยึดสินค้าของพ่อค้าแม่ขายย่านพัฒนพงศ์ โดยให้เหตุผลว่า เป็นสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งจนถึงขณะนี้ปฏิบัติการที่ว่านั้น ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ยังคงเป็นเรื่องในชั้นศาล
อย่างไรก็ตาม คณะรัฐมนตรีได้ตั้งข้อสังเกตหลังเหตุการณ์ว่า
"กระทรวง พาณิชย์ควรกำหนดมาตรการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาอย่างรัดกุมและ เป็นธรรม เพื่อป้องกันมิให้เหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นอีก และควรมุ่งเน้นการปราบปรามแหล่งผลิตเป็นหลัก"
เช่นเดียวกับความเห็น ของรัฐสภา ที่เห็นว่า "การใช้หน่วยเฉพาะกิจของกระทรวงพาณิชย์ดำเนินการปราบปรามอย่างไม่ถูกขั้นตอน เนื่องจากไม่มีตัวแทนเจ้าของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาเข้าร่วม ไม่มีการแยกแยะสินค้าที่ละเมิดและไม่ละเมิด พร้อมทั้งขอให้กระทรวงพาณิชย์ทบทวนการปฏิบัติหน้าที่"
ปลายเดือน พฤษภาคม 2552 ให้กรมทรัพย์สินทางปัญญารับจดสิทธิบัตรยีนข้าวหอมมะลิ และได้ให้นโยบายแก่กรมทรัพย์สินทางปัญญาที่จะต้องรับจดสิทธิบัตรในพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ทุกชนิดนั้น ทั้งๆ ที่กฎหมายไทยไม่อนุญาต
เดือนกรกฎาคม 2552 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการยุทธศาสตร์ทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติ และแผนเร่งรัดการป้องกันและปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ตามที่นายอลงกรณ์เสนอ
ซึ่งขณะนี้ภาคประชาสังคมทำหนังสือถึงนายก รัฐมนตรี ขอใช้สิทธิตามมาตรา 11 ในพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 เพื่อขอให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติจัดให้มีการทบทวนยุทธศาสตร์ฯ และแผนเร่งรัดการป้องกันและปราบปราม เพื่อปกป้องสิทธิประโยชน์ของผู้ป่วยและผู้บริโภคชาวไทย
สาเหตุสำคัญ ของการขอทบทวนคือ ยุทธศาสตร์ทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติ และแผนเร่งรัดให้ความสำคัญและเน้นย้ำเพียงการปราบปราม การคุ้มครองผู้ทรงสิทธิ แต่มิได้ให้ความสำคัญอย่างเพียงพอกับการเข้าถึงเทคโนโลยีของคนไทย การถ่ายเทคโนโลยีสู่ประเทศไทย และการคุ้มครองผู้บริโภคคนไทย ซึ่งเป็นอีกด้านหนึ่งของระบบทรัพย์สินทางปัญญาที่ต้องมีความสมดุลกัน และยังขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำนโยบายสาธารณะที่มีผลกระทบต่อ สุขภาพยังขัดแย้งกับมติคณะรัฐมนตรีก่อนหน้านี้
นอกจากนี้ แนวทางการปรามปราม ยังดึงหน่วยงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปราบปรามสินค้าละเมิดทรัพย์สินทาง ปัญญา โดยเฉพาะกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ ให้ต้องเพิ่มภาระหน้าที่และปันส่วนงบประมาณ ซึ่งเป็นภาษีของประชาชนเพื่อปกป้องสินทรัพย์เอกชน และยังเสี่ยงต่อการบังคับให้หน่วยงานไปทำงานเป็นตำรวจทรัพย์สินทางปัญญา ทั้งๆ ที่หน้าที่หลักคือ การแลเรื่องความปลอดภัยของยา เช่น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
ซึ่งประเด็นนี้เกินไปกว่าความ ตกลงด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่ไทยผูกพันอยู่ หรือที่เรียกว่า ทริปส์ผนวก (TRIPS+) ซึ่งจะนำไปสู่การกีดกันยาชื่อสามัญเข้าสู่ตลาด นั่นเท่ากับเปิดโอกาสให้ยาต้นแบบสามารถผูกขาดและคงราคาสูงมากต่อไป
บทบาทรัฐมนตรีช่วยฯพาณิชย์ แม้จะได้รับการ "ยกยอ" ให้เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในโลกทัศน์แบบสหรัฐอเมริกา
อย่างไรก็ตาม ก็ได้สร้างความกังวลแก่นักสิทธิมนุยชนอย่างมาก โดย นายอนันด์ โกรเวอร์ (Anand Grover) ผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติด้านสิทธิในสุขภาพ (UN Special Rapporteur on the right to health) ได้ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมจากภาคประชาสังคมไทยที่ทำงานด้านการเข้าถึงยา เพื่อติดตาม ตรวจสอบว่า ยุทธศาสตร์ทรัพย์สินทางปัญญา และแผนเร่งรัดปราบปรามดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสิทธิทางสุขภาพของประชาชนหรือ ไม่ เพื่อจะได้ทำรายงานเสนอต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
คงจะไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า ความพยายามทั้งหมดของนายอลงกรณ์ในฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการ ก.พาณิชย์ ไม่ใช่ Plan of Action ที่ไปรับปาก USTR มาตั้งแต่เมื่อเดือนมีนาคม เพราะรายงานการประชุมของคณะกรรมการนโยบายด้านการป้องกันและปราบปรามการ ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ครั้งที่ 3/2522 ที่นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ระบุอย่างชัดเจนว่า แผนเร่งรัดการป้องกันและปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญานั้น ทำขึ้นเพื่อให้สหรัฐถอดไทยออกจากบัญชีประเทศที่ถูกจับตามองพิเศษ (PWL)
จริงอยู่ในฐานะผู้กำหนดนโยบาย มีสิทธิที่จะทำเช่นนั้น แต่การจัดทำแผนเร่งรัดฯนี้ เพื่อเอาใจอเมริกา โดยไม่สนใจว่า ผลของแผนจะส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงยา และการเข้าถึงความรู้ของประชาชนคนไทยอย่างไรบ้าง เป็นเรื่องน่าผิดหวังอย่างยิ่ง
ทั้งที่เรื่องนี้เป็นนโยบาย สาธารณะของประเทศ ควรจะมีกระบวนการจัดทำนโยบายที่ชัดเจน โปร่งใส ศึกษาถึงผลดีผลเสียของแผนเร่งรัดฯ และรับฟังความคิดเห็นอย่างกว้างขวางขวางและรอบด้าน