เครือข่ายผู้ติดเชื้อวอนอินเดียเห็นใจผู้ป่วยเอดส์ อย่ารับข้อเสนอเอฟทีเอยาสามัญกับอียู

“เอ็น จีโอ” กว่า 100 คน บุกสถานทูตอินเดีย วอนอย่าหลงกลข้อเสนออียู กรณีทำเอฟทีเอ “ยาชื่อสามัญ” ชี้กระทบต่อการเข้าถึงยาของผู้ป่วยเอชไอวี/เอดส์ ด้านอุปทูตอินเดียยันทำทุกทางเพื่อประโยชน์ของผู้ป่วยเสมอ

วันนี้ (6 ธ.ค.) ที่สถานทูตอินเดีย กทม. เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย พร้อมด้วยภาคีเครือข่าย อาทิ มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ คณะกรรมการองค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ กว่า 100 คน รวมตัวกันเพื่อยื่นหนังสือสนับสนุนรัฐบาลอินเดียให้เข้มแข็งในการเจรจาการ ค้าเสรีแบบทวิภาคี (เอฟทีเอ) กับสหภาพยุโรป หรืออียู ในกรณีเรื่องของการที่อียูพยายามจะนำข้อตกลงทริปส์ขององค์การการค้าโลกมาใช้ โดยการวางข้อตกลงให้อินเดียนำระบบสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์มาใช้ ซึ่งทางเครือข่ายฯกังวลว่าข้อตกลงดังกล่าวจะเป็นการผูกมัดอินเดีย ทำให้ไม่สามารถผลิตยาต้านไวรัสสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ได้อย่างมีศักยภาพ อีกทั้งอาจส่งผลให้มีการซื้อขายยาในราคาแพงขึ้น

นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า เนื่องจากประเทศอินเดียเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญในการผลิตยาต้านไวรัสเอดส์ /เอชไอวี ที่เป็นยาชื่อสามัญให้กับผู้ป่วยในประเทศที่กำลังพัฒนาหลายล้านคน แต่ภายหลังจากที่อียูเดินหน้าเพื่อเปิดการเจรจาการค้าระดับภูมิภาคและ ทวิภาคี ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การเจรจาการค้ากับประเทศอินเดียในประเด็นการเข้าถึงยาชื่อ สามัญที่จำเป็นในการช่วยชีวิตผู้คนทั่วโลก โดยพยายามใช้มาตรการสิทธิบัตรยาที่เข้มงวดขึ้น ทำให้ทางเครือข่ายฯ เป็นกังวลว่า การเจรจาที่กำลังจะเกิดขึ้นอาจจะเป็นภัยคุกคามต่อการเข้าถึงยาของผู้ป่วยเอ ชไอวี/เอดส์ในประเทศที่กำลังพัฒนาได้ในหลายๆ ด้าน เช่น ในกรณีที่ข้อตกลงนั้นมีการผูกขาดเหนือการทดลองยาที่อียูเสนอให้อินเดียแก้ไข กฎระเบียบการกำกับดูแลรับผิดชอบเรื่องยาในลักษณะที่จะไม่อนุญาตให้ยาชื่อ สามัญออกวางจำหน่ายได้ถ้าผู้ผลิตยาต้นตำรับได้ยื่นข้อมูลการทดลองทางคลินิก ที่เกี่ยวกับยาไว้กับหน่วยงานที่ควบคุมดูแลแล้ว ซึ่งหากอินเดียยอมรับเงื่อนไขดังกล่าวจะทำให้หน่วยงานที่ดูแลเรื่องยาไม่ สามารถจดทะเบียนยาชื่อสามัญได้ เพราะถือว่าผิดกฎหมาย จะต้องรอการทดลองในทางคลินิกซ้ำหลายครั้ง แต่ละครั้งต้องใช้เวลาหลายปีและใช้งบประมาณจำนวนมาก หมายความว่าผู้ป่วยต้องรอผลการทดลองประสิทธิภาพยาที่ยาวนาน สุขภาพก็จะแย่เพราะได้รับยาช้า

ด้าน น.ส.กรรณิการ์ กิจติเวชกุล กรรมการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า จากการพิจารณาถึงผลกระทบอย่างรอบด้าน พบว่า อินเดียจะเสียเปรียบอียูอย่างมากหากยอมรับเงื่อนไขต่างๆที่อียูเสนอ ดังนั้น ก่อนที่รัฐบาลอินเดียจะเข้าเจรจากับอียูในประเด็นเรื่องการทำเอฟทีเอ ในกรณีดังกล่าวที่กรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยียม ในวันที่ 10 ธ.ค.นี้ ทางเครือข่ายที่เกี่ยวข้องจึงได้รวมตัวกันเพื่อยืนหนังสือแสดงเจตจำนงค์และ ชี้แจงถึงข้อกังวลในหลายๆ ด้านให้ตัวแทนรัฐบาลอินเดียทราบ

“ทั้งนี้ ทางเครือข่ายทราบว่าในราววันที่ 15 ธันวาคมนี้ ทางกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ของไทยจะมีการนำประเด็นเรื่องการทำเอฟทีเอของอินเดียเข้าสู่การพิจารณาของ คณะอนุกรรมการเอฟทีเอด้วย อย่างไรก็ตาม ทางเครือข่ายจะมีการติดตามข่าวความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง เพื่อดูว่ารัฐบาลไทยจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ระหว่างนี้ก็ทำได้เพียงช้แจงข้อกังวลให้รัฐบาลอินเดียทราบไปก่อน ซึ่งทางเครือข่ายขอยืนหยัดเช่นเดิมว่า ไม่เป็นด้วยกับการข้อเสนอของอียู เพราะเป็นเหมือนการลิดรอนการเข้าถึงยาของผู้ป่วยในประเทศที่กำลังพัฒนา” น.ส.กรรณิการ์กล่าว

นางแนกมา เอ็ม มัลลิก อุปทูตอินเดียประจำประเทศไทย กล่าวภายหลังการเจรจากับตัวแทนเครือข่ายฯ จำนวน 8 คนว่า รัฐบาลอินเดียทราบดีว่า จะต้องดำเนินการอย่างไรเพื่อไม่ให้กระทบต่อการเข้าถึงยาที่จำเป็นของผู้ป่วย เอชไอวี/เอดส์ ในหลายๆ ประเทศ ซึ่งที่ผ่านมาอินเดียยืนเคียงข้างประชาชนมาโดยตลอด อย่างไรก็ตามจะไม่ยอมให้อียูเข้ามาลิดรอนสิทธิของผู้ป่วยในการเข้าถึงยา อย่างแน่นอน เพราะรู้ดีว่าสุขภาพของผู้ป่วยเป็นเรื่องสำคัญ

พิมพ์ อีเมล

บทความใกล้เคียงกัน